ประสบการณ์การดูแลผู้ป่วย COVID-19 และการบริหารจัดการในระดับโรงพยาบาลชุมชน

0
3838
ประสบการณ์การดูแลผู้ป่วย COVID-19

สถานการณ์สร้างการเปลี่ยนแปลง การใช้วิกฤตเป็นโอกาส
เคล็ดลับคุณภาพ วันนี้ เสนอ ประเด็น “ประสบการณ์การดูแลผู้ป่วย COVID-19 และการบริหารจัดการในระดับ รพช.”

ประสบการณ์การดูแลผู้ป่วย COVID-19 และการบริหารจัดการในระดับโรงพยาบาลชุมชน
ประสบการณ์การดูแลผู้ป่วย COVID-19 และการบริหารจัดการในระดับโรงพยาบาลชุมชน

เป็นประสบการณ์จากท่าน ผอ.รพ.ชุมชน ที่ผจญสถานการณ์ COVID-19 คนละรูปแบบ โรงพยาบาลสันกำแพง รพ.ที่ถูกเลือกให้เป็นโรงพยาบาลโควิดของจังหวัดเชียงใหม่ และ โรงพยาบาลจะนะ จ.สงขลา รพ.ที่ต้องดูแลผู้ป่วยโควิด 6 รายแบบกะทันหันในขณะที่ต้องดูแลคนไข้โรคอื่นด้วย

ประสบการณ์ของรพ.สันกำแพง นพ.ณรงค์เดช พิพัฒน์ธนวงศ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสันกำแพง ที่เริ่มจาก คำถามที่ว่า ทำไม่ต้องเป็นเรา? ทำไม รพ.สันกำแพงต้องเป็น Cohort hospital เป็นคำถามที่เกิดขึ้นในใจของทุกคนในรพ. ตั้งแต่ผู้อำนวยการ รพ. บุคลากรไปจนถึงชุมชน แต่พอคำตอบที่ได้รับ จากจังหวัด ด้วยเหตุผลที่ทุกคน ยอมรับว่า สันกำแพงมีความเหมาะสมจาก 1) ชัยภูมิที่ตั้งเหมาะสม ไม่ไกลจากรพ. นครพิงพ์และมหาราชนครเชียงใหม่ ที่จะส่งต่อผู้ป่วยมาดูแล 2.) เป็นรพ.ที่พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง เพราะจากบทพิสูจน์ในอดีต รพ.เคยถูกมอบหมายให้ดูแลรักษาคนไข้มะเร็งเป็นที่ให้ยาเคมีบำบัดสามารถปรับกระบวนงานและบริหารบุคลากรจนสำเร็จ และ 3. ผู้บริหารมีเหตุผลในการคัดเลือกที่มาจากนโยบายของประเทศ ทั้ง 3 ข้อนี้ทำให้ รพ.สันกำแพงพร้อมใจร่วมด้วยช่วยกัน ประเด็นสำคัญที่ผอ.รพ.สันกำแพง ดำเนินการ ในการตั้ง Cohort Hospital ได้แก่

1. การสร้างความเข้าใจและความร่วมมือกับชุมชน เลือกทำความเข้าใจกับผู้นำ ท่านนายอำเภอ ผู้นำชุมชน และท้องถิ่น เพราะถ้าผู้นำเข้าใจเขาจะกระจายการสร้างความเข้าใจต่อไปในวงกว้างได้มากขึ้น
2. การทำความเข้าใจกับคนในองค์กร ในการที่สันกำแพงต้องเป็น โรงพยาบาลโควิดและปิดบริการอย่างอื่นทั้งหมด
3. ให้ความสำคัญกับประเด็นหลักๆ คือ การสร้างขวัญและกำลังใจให้จนท. เช่น มีการประชุมชี้แจง มีพิธีก่อนดำเนินการและ ยิดหยุ่นให้กับบุคลากรที่ยังไม่พร้อมด้วยความเข้าใจ การกำหนดอัตรากำลังในการทำงาน ติดอาวุธทั้งความรู้และอุปกรณ์ป้องกันตัว ทั้งแพทย์ พยาบาล และผู้ช่วย ในการดูแลคนไข้ COVID-19 และการกำหนดหน้าที่สนับสนุน ที่จะมีกลุ่มบุคลากรมาช่วยกันทำเรื่องของบริจาค เงินบริจาค และอาหาร
4. การเตรียมสถานที่และรูปแบบก็ตามมา อาศัยหลักการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ ในการดำเนินการเพื่อความปลอดภัยทั้งผู้ป่วยและบุคลากร ดัดแปลง อุปกรณ์ และสถานที่ให้เหมาะสม มีนวัตกรรมต่างๆเกิดขึ้น คู่กับนวัตกรของรพ.ที่ฉายแสงขึ้นมาเพราะใจอยากช่วยองค์กรและประชาชน
หลักการของการพัฒนาคุณภาพ HA ทำให้เกิดประโยชน์อย่างไร

ยึดหลัก 3 P ของการพัฒนาคุณภาพ คือ P: Purpose ตั้งเป้าหมาย P: Process กระบวนการดำเนินการ และ P: Performance ทำให้มีระบบการประเมินผล เช่น ประเมินความพึงพอใจ ที่สูงขึ้นเรื่อยๆจนถึง 93.48% รวมถึงปรับแก้ไขตามความต้องการของผู้ป่วย เช่น เรื่องการจัดอาหารเดิมที่ไม่หลากหลายจากโรงครัว เปลี่ยนเป็นอาหารที่ได้มาจากการบริจาคให้กับคนไข้ และปรับปรุงการบริการ เช่นเพิ่มการเช่าเครื่อง Portable X-ray เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยและบุคลากรให้มากยิ่งขึ้น

หลักการบริหารตำราพิชัยสงคราม โดยยึดหลักเอาชนะโดยไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้ง บรรลุคามสำเร็จแบบบัวไม่ให้ช้ำ น้ำไม่ให้ขุ่น และใช้คนทั้งกองทัพเหมือนใช้คนคนเดียว หลังจากนั้นก็ดำเนินการ เมื่อคนเข้าใจ และมีความพร้อมร่วมมือร่วมใจ

ประสบการณ์ของรพ.จะนะ สงขลา โดย นพ. นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ ผู้อำนวยการ รพ.จะนะ จ.สงขลาเป็นรพ.ที่เริ่มต้นรับคนไข้ COVID-19 แบบไม่ทันตั้งตัว   แต่ด้วยความเป็นผู้นำและความร่วมมือของทุกภาคส่วนทำให้สถานการณ์ผ่านไปได้ด้วยดี และมีการพัฒนาต่อเนื่อง รพ.จะนะเริ่มจากได้รับแจ้งว่าประชาชนที่เข้าไปร่วมพิธีทางศาสนาที่มาเลเซียมีชาวอำเภอ จะนะ จำนวน 12 คน และผลการตรวจคัดกรองพบว่า ผลเป็น COVID-19 จำนวน 6 คน ท่านผอ.รพ. เห็นว่า “ทุกโรงพยาบาลไม่ว่าเล็กใหญ่ คงต้องเตรียมความพร้อมในการเปิดหอผู้ป่วย COVID-19” เมื่อต้องรับผู้ป่วยพร้อมกันทีเดียว 6 คนแบบกระทันหัน จึงเลือกห้องพิเศษที่มีอยู่ 6 ห้องเป็นห้องสำหรับผู้ป่วย COVID-19 มีห้องความดันลบหนึ่งห้องให้เป็นห้องสำหรับคนไข้ที่มีอาการมาก และกันไว้หนึ่งห้องสำหรับเจ้าหน้าที่ที่ดูแลผู้ติดเชื้อ COVID-19 ที่ต้องสวมชุด PPE และเป็นห้องพักที่แยกไม่ต้องดูแลคนไข้อื่นเพื่อป้องกัการแพร่กระจายเชื้อ ตึกพิเศษนี้แยกออกจากตึกผู้ป่วยทั่วไป เพื่อให้มั่นใจว่าป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายเชื้อได้ แต่คนไข้โรคทั่วไปมีความกังวล รวมถึงเกิดกระแสข่าวลือในชุมชน ดังนั้นสิ่งที่ผอ.จะนะให้ความสำคัญอย่างมาก คือ

1. การสื่อสารกับชุมชนและสังคม ในระยะแรก ที่มีข่าวกระแสข่าวเรื่องเจ้าหน้าที่ติดเชื้อและอีกหลายๆ เรื่องท่าน ผอ.ใช้ความสงบสยบความเคลื่อนไหว และเลือกที่จะให้ข้อมูลเมื่อมีความชัดเจน โดยใช้ข้อความที่กระชับ และส่งเข้าสู่ทีมผู้บริหารของชุมชนที่ทำงานร่วมกันมานาน เป็นผู้ยืนยันและสื่อข่าวต่อ
2. กระบวนการที่สำคัญในรพ.เพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อ แนวคิด Self Healthcare คนไข้ต้องสามารถดูแลตัวเองได้ ตั้งแต่การวัดอุณหภูมิด้วยตนเอง รวมถึงการช่วยเหลือตัวเองในเรื่องต่างๆ
3. กระบวนการคุณภาพที่สำคัญเป็นรูปธรรม คือ Discharge planning ที่ต้องทำจนมั่นใจว่าผู้ป่วยจะกลับไปดูแลตัวเองที่บ้านได้ ไปอยู่ในสังคมได้ ชุมชน สังคม สามารถเตรียมความพร้อมในการดูแลผู้ป่วยต่อในชุมชน
4. สร้าง COVID ward โดยเลือกหอพักแพทย์ที่ยังไม่ได้เปิดดำเนินการมาเตรียมความพร้อมไว้ แล้วเชิญผู้นำชุมชนและอำเภอมาดูเพื่อสร้างความมั่นใจ เพื่อเตรียมความพร้อม เพื่อรอรับ WAVE 2 ที่อาจจะเกิดขึ้นหลังจากนี้
5. เตรียมทีมผู้ให้บริการเป็นทีม A ทีม B เมื่อเกิดการต้องรับคนไข้อีกครั้ง แบ่งหน้าที่กันชัดเจนและมีความพร้อมในการดูแลคนไข้ตามหลักวิชาการ ที่ผ่านการฝึกซ้อมการทำจริง และเป็นสิ่งที่ปฏิบัติด้วยความมั่นใจ
6. ทบทวนระบบการป้องกันและควบคุมการติดเชื่อในโรงพยาบาล สถานการณ์ COVID-19 กระตุ้นระบบ IC ในรพ.และสามารถผลักดันให้เกิด Standard Precaution ที่เป็นรูปธรรม

เป็นตัวอย่างของโรงพยาบาลที่ผ่านการรับรอง HA โดยมาตรฐาน HA นั้นครอบคลุมไปตั้งแต่การนำองค์กร การพัฒนาระบบต่างๆ ทั้งระบบ IC และระบบบริหารความเสี่ยง รวมถึงกระบวนการดูแลผู้ป่วย ซึ่งล้วนเป็นงานประจำ โดยคุณภาพถูกขับเคลื่อนเป็นประจำจนอยู่ในสายเลือดโดยไม่รู้ตัว และกระบวนการคุณภาพที่สำคัญคือการบริหารความเสี่ยงหรือ risk management ของ HA ซึ่ง ทุกรพ.สามารถเคลื่อนงานทุกอย่างผ่านไปได้ เพราะท่านมีผู้นำที่เข้มแข็ง มีทีมงานที่สามัคคี และยึดหลัก People centered ในหัวใจ และการทำหน้าที่โดยยึดประโยชน์ของผู้อื่นก่อนเสมอ

ขอขอบคุณและเป็นกำลังใจให้กับ รพ.จะนะ และ รพ.สันกำแพง #โรงพยาบาล HA โรงพยาบาลคุณภาพ

Thank you. Image created by Vanessa Santos. Submitted for United Nations Global Call Out To Creatives – help stop the spread of COVID-19.

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here