แนวทางการทำความสะอาดสิ่งแวดล้อมในสถานการณ์ COVID-19

0
7096
แนวทางการทำความสะอาดสิ่งแวดล้อมในสถานการณ์ COVID-19
แนวทางการทำความสะอาดสิ่งแวดล้อมในสถานการณ์ COVID-19

เชื้อ COVID 19 สามารถคงอยู่ในแวดล้อมต่างๆ ได้นานหากไม่มีการทำความสะอาด จึงจำเป็นต้องรู้จักวิธีลดการปนเปื้อนเชื้อและการใช้สารทำความสะอาดหรือน้ำยาฆ่าเชื้อให้เหมาะสมและ contact timeตามชนิดของน้ำยาฆ่าเชื้อเพื่อประสิทธิภาพสูงสุด ดังนี้

แนวทางการทำความสะอาดสิ่งแวดล้อมในสถานการณ์
แนวทางการทำความสะอาดสิ่งแวดล้อมในสถานการณ์

สารทำความสะอาดและน้ำยาฆ่าเชื้อ

1.ใช้แอลกอฮอล์70-90% (ประมาณ 30 วินาที) สำหรับพื้นผิวของวัตถุต่างๆ ที่เป็นโลหะ
2.ใช้ Hydrogen peroxide ในความเข้มข้นต่างๆ ใช้สำหรับทำความสะอาดพื้นผิวได้ ดังนี้ ใช้น้ำยา Hydrogen peroxide 0.05% (ประมาณ 1 นาที) สำหรับพื้นผิวทั่วไป และ ใช้น้ำยา Hydrogen peroxide ความเข้มข้น 0.5% สำหรับทำความสะอาดพื้นที่ปนเปื้อนน้ำมูก/น้ำลาย/เสมหะ/อุจจาระ/ห้องน้ำ โถส้วม ราดทิ้งไว้อย่างน้อย 15-30 นาที
3. สารละลายโซเดียมไฮโปคลอไรต์ (NA Hypochlorilt) ความเข้มข้น 0.01% ฆ่าเชื้อได้ในเวลาประมาณ 1 นาทีและในความเข้มข้นต่างๆ สามารถใช้สำหรับทำความสะอาดพื้นผิวได้ ดังนี้
– สารละลายโซเดียมไฮโปคลอไรต์ (0.05%) สำหรับถูพื้นห้อง
– สารละลายโซเดียมไฮโปคลอไรต์ (0.5%) สำหรับทำความสะอาดพื้นที่ปนเปื้อนสารคัดหลั่งหรือในห้องน้ำ โดยราดทิ้งไว้อย่างน้อย 15-30 นาที
4. น้ำยา Providine ความเข้มข้น 0.23 – 0.47% สามารถฆ่าเชื้อได้ในเวลาประมาณ15 วินาที -1 นาที
5. การใข้ความร้อน > 56 องศา อย่างน้อย 20 นาที หรือ 65 องศา นาน 5 นาที
6. การฆ่าเชื้อด้วยแสง UV-C จากหลอดแสงจันทร์หรือหลอดไฟไอปรอท ในระยะ 3 cm นาน 15 วินาที
7. การใช้ กรด< 5 หรือ เบส > 9 (สบู่)

การทำความสะอาด มีขั้นตอนดังนี้
ขั้นเตรียมตัวบุคลากรทำความสะอาด
1. ควรอบรมผู้ปฏิบัติงานเช่น แม่บ้าน เจ้าหน้าที่เก็บขยะ คนขับรถ หรือผู้ที่เกี่ยวข้องเป็นต้น ให้มีความรู้ว่ากิจกรรมแต่ละอย่างเสี่ยงต่อการติดเชื้อหรือไม่ เพื่อให้เกิดความมั่นใจและสามารถเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันตัวเองได้ถูกต้องเหมาะสม และควรมีการกํากับติดตามตรวจสอบการสวมใส่และถอดชุด PPE อย่างถูกต้องเป็นระยะตามความเหมาะสม
2. มีการให้ความรู้หน้างานต่าง ๆ ดังนี้
– เน้นย้ำการทําความสะอาดมือและการปฏิบัติตามสุขอนามัยส่วนบุคคล
– ปฏิบัติตามมาตรฐานโดยเคร่งครัด โดยเฉพาะ Droplet และ Contact Precautions
– จัดหาอุปกรณ์ป้องกันร่างกายให้เพียงพอและเหมาะสมต่อการปฏิบัติงาน
3. มีการตรวจติดตามการปฏิบัติงานเป็นระยะได้แก่ IC round , IC performance check list
4. ใช้ระบบ Buddy System คือการจับคู่ในการปฏิบัติงาน/การใส่เครื่องป้องกันร่างกาย
5. มีการจัดทําโปสเตอร์/รูปขั้นตอนการใส่/ถอด ชุด PPE ที่ถูกต้องในห้องแต่งตัว

การทำความสะอาดพื้นที่ทั่วไป มีขั้นตอนดังนี้

กำหนดทำความสะอาดในพื้นที่ที่มีคนจำนวนมาก เช่น เพิ่มรอบการทำความสะอาดจุดสัมผัสต่างๆ เช่น ราวบันได/บันไดเลื่อน มือจับประตู ปุ่มกดลิฟต์ ทุก 1-2 ชม. หรือ ทุก 30 นาที ด้วยการใช้ 70 % แอลกอฮอล์เช็ดทำความสะอาด และ/หรือจัดให้มี เจลแอลกอฮอล์วางไว้หน้าลิฟต์ บันไดเลื่อนหรือจุดต่างๆ เพื่อให้คนที่ผ่านไปมา ทำความสะอาดมือก่อนสัมผัสของใช้พื้นผิวต่างๆ กรณีที่มีสารคัดหลั่งเปื้อนจำนวนมากหรืออาเจียน ควรมี Protocol การทำความสะอาดให้เร็วขึ้น
วิธีการทำความสะอาดที่ดีที่สุดคือการเช็ดถูอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นพื้นหรือผิวสัมผัสแนวราบหรือแนวตั้งก็ตาม ไม่แนะนำการฉีดหรือพ่นน้ำยา เนื่องจากการฉีดหรือพ่นน้ำยาจะทำให้เกิดละอองน้ำกระจายขึ้นมา ซึ่งถ้ามีเชื้อค้างอยู่บนพื้นผิวนั้นก็จะทำให้เชื้อฟุ้งลอยมาเปื้อนตัวผู้ทำความสะอาดและอุปกรณ์เครื่องใช้ในบริเวณนั้นได้

การทำความสะอาดห้องคัดกรอง/ห้องผู้ป่วย/หอผู้ป่วย
– ทําความสะอาดห้องเป็นประจําอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง หรือเพิ่มรอบตามความ จำเป็น โดยเน้นพื้นผิวแนวระนาบ (horizontal Surface) โดยเฉพาะพื้นผิว/อุปกรณ์ที่ผู้ป่วยจับต้องบ่อย ๆ ด้วย 70 % Alcohol เช็ดทำความสะอาด
– หากมีสารคัดหลั่งเปรอะเปื้อนจำนวนมากให้เช็ดออกด้วยกระดาษชําระแล้ว ใช้ 0.5% โซเดียมไฮโปคลอไรต์ราดทิ้งไว้ 15 นาทีแล้วจึงเช็ดถูทําความสะอาดตามปกติ หลังจากแห้งแล้วใช้ 70 % Alcohol สเปรย์บริเวณที่เปื้อนซ้ำอีกครั้ง
– การทําความสะอาดเมื่อจําหน่ายผู้ป่วย (Terminal cleaning) ในกรณีห้อง AIIR ซึ่งมีการถ่ายเทอากาศมากกว่าหรือเท่ากับ 12 ACH ให้เริ่มทําความสะอาดหลังจําหน่ายผู้ป่วยประมาณ 35 นาที โดยขณะที่ทําความสะอาดยังคงเปิดระบบการทำงานของห้องไว้ตลอดเวลา และหลังทําความอย่างน้อยอีก 35 นาที จึงจะรับผู้ป่วยรายต่อไปได้ กรณีที่เป็นห้องแยกไม่มีเครื่องปรับอาการให้เปิดระบายอากาศก่อน 35 นาทีแล้วค่อยทำความสะอาดตามหลักวิธีต่อไป
– การทำความสะอาดห้องน้ำผู้ป่วย เตรียมอุปกรณ์ให้พร้อมก่อนเข้าห้องผู้ป่วย ควรเข้าปฏิบัติไปในคราวเดียวกัน โดยให้ราด 1-0.5% โซเดียมไฮโปคลอไรท์ทิ้งไว้อย่างน้อย 30 นาที แล้วค่อยไปทำความสะอาดห้องผู้ป่วย เก็บมูลฝอย เก็บเครื่องผ้าต่างๆ เป็นต้น เสร็จแล้วกลับมาทำความสะอาดห้องน้ำด้วยน้ำยาล้างห้องน้ำตามปกติ

Photo by Tedward Quinn on Unsplash

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here