HIV Collaboration Key of Change

0
2496

HIV Collaboration Key of Change

ความสำเร็จในการรับรองรายโรค HIV เกิดจากความเชื่อมั่น (Belief) ในการทำความดี เชื่อมั่นในแนวคิด DSC (Disease Specific Certification) ทำดีต้องมีคนเห็น เราจึงทำต่อไปและทำได้เหนือความคาดหมายสร้างความภูมิใจจากการทำความดีนั้น (พญ.สุพรรณี จิรจริยาเวช)

Disease Specific Certification เป็นการประเมินเฉพาะโรคหรือระบบการดูแลผู้ป่วยซึ่งได้ผลดีโดยปฏิบัติตามมาตรฐานมีการวิเคราะห์องค์กรอย่างครอบคลุมนำไปออกแบบกระบวนการตามข้อกำหนดให้สอดคล้องกับผู้เกี่ยวข้องมีการสื่อสารองค์กร นำสู่การปฏิบัติ กำกับติดตามผลลัพธ์เพื่อปรับกระบวนการอย่างต่อเนื่อง ซึ่งผู้แทนจากโรงพยาบาลทั้ง 4 แห่งได้นำกรอบแนวคิด DSC ไปใช้พัฒนากระบวนการดูแลผู้ป่วย HIV จนประสบความสำเร็จ    จะมาแบ่งปันวิธีการ Change & Collaboration อย่างไรให้เกิด Sustainability

พญ.วันทนีย์ มามูล (โรงพยาบาลปราสาท)                                                                             บทเรียนที่ได้รับจาการทำงาน DSC คือ                                                                             1. เมื่อมีการประชาสัมพันธ์อย่างเข้มแข้ง ควรคาดการณ์และวางแผนรองรับผู้สนใจที่มีจำนวนมาก โดยการเตรียมความพร้อมของสถานที่และบุคลากร                                                                                             2. ก่อนเปลี่ยนแปลงหรือนำสิ่งใหม่มาใช้ควรพิจารณาข้อดีข้อเสียให้รอบด้านและปรับใช้ให้เหมาะสม ได้แก่ เดิมใช้ RPR ในการ Syphilis screening ได้เปลี่ยนเป็น TPHA เพื่อให้ได้ตามมาตรฐาน แต่มีปัญหาค่าใช้จ่ายและความยุ่งยากสับสน จึงกลับมาใช้ RPR ตามเดิม

พญ.พรพิศ ตรีบุพชาติสกุล (โรงพยาบาลพุทธชินราช)                                                                ปัจจัยความสำเร็จ คือ การสะท้อน (Feedback) ข้อมูลอย่างสม่ำเสมอโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ด้วยการตามรอยเวชระเบียน เช่น กรณี delay ARV มีการเจาะเลือดแต่ไม่มีการแจ้งผลเลือดแก่ผู้ป่วย ตามรอยพบว่าผู้ป่วยมา  รพ. บ่อยทั้งที่ ER และ OPD แต่ไม่ได้รับการส่งมารับยาต้านไวรัส ทีมได้วิเคราะห์สาเหตุเกิดจากปัญหา stigma คนไข้ไม่กล้าถามผลเลือดเมื่อไม่มีการแจ้งทำให้เขาคิดว่าผลเลือดเขาปกติ ทีมร่วมกันทำ RCA วิเคราะห์โอกาสหายจากระบบของคนไข้ได้ flow การดำเนินงานแต่ยังปฏิบัติไม่ครบถ้วนจึงพูดคุยสะท้อนข้อมูลขอความร่วมมือในครั้งต่อไปโดยไม่กล่าวโทษกัน เช่น ผู้ป่วยเป็นหนองในมาตรวจที่ OPD ศัลยกรรม แล้วจึงให้ไปห้องปรึกษาสุขภาพเพื่อเจาะเลือดตรวจ HIV คนไข้ก็จะหายไปเพราะเขาตรวจและได้รับยาที่ต้องการแล้ว ได้ปรับขั้นตอนให้ผู้ป่วยไปเจาะเลือดที่ห้องปรึกษาสุขภาพก่อนพบแพทย์

พญ.รัชนี ศักดิ์สวัสดิ์ (โรงพยาบาลหาดใหญ่)                                                                          ปัจจัยความสำเร็จ การพัฒนาไม่จำเป็นต้องเริ่มต้นใหม่ทั้งหมด ให้ค้นหาจุดเล็กๆ ที่มีอยู่นำมาเชื่อมโยงและเสริมเพิ่มเติมเฉพาะส่วนที่ขาด ปรับเปลี่ยนตามบริบทของโรงพยาบาลสร้างกระบวนการทำงานและความร่วมมือจึงจะเกิดความสำเร็จอย่างยั่งยืนในระบบงานยุติปัญหาเอดส์

พญ.สุพรรณี จิรจริยาเวช (โรงพยาบาลตากสิน)                                                                        ปัจจัยความสำเร็จ คือ การปรับ Mind set ทั้งองค์กรไม่ทำตามลำพัง ต้องเป็น commitment ร่วมกัน, ผู้นำให้การสนับสนุนตามความพร้อม มี process owner ทำให้เขารู้สึกว่าเป็นงานของเขา ในการประชุมต้องนำ process owner มาร่วมออกความเห็นด้วย เพื่อร่วมกำหนดแนวทางและนำไปปฏิบัติได้จริง การ coach ให้เห็นคุณค่าในงาน ที่ทำ การสะท้อนข้อมูลให้ทีมรู้ปัญหาเพื่อแก้ไข เช่น ผู้ป่วยซิฟิลิสได้รับการตรวจ HIV ไม่ถึง 50% ความท้าทายคือการทำให้ยั่งยืนต้องเปลี่ยนจาก must do เป็น want to do ให้หน่วยงานอยากทำด้วยตนเอง เช่น ER รู้ว่ากลุ่มเป้าหมายของเขาคือใคร เขาไป create งานต่อได้

แต่ละโรงพยาบาลมีจุดเริ่มต้นและแรงบันดาลใจที่ต่างกันบ้าง แต่สิ่งที่เหมือนๆ กันคือการใช้แนวทาง DSC เป็นกรอบดำเนินงานด้วยความตั้งใจที่จะช่วยชีวิตคนไข้ การทำคนเดียวย่อมประสบความสำเร็จได้ยากจึงต้องแสวงหาความร่วมมือ (Collaboration) ด้วยวิธีต่างๆ เพื่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลง (Change) เปลี่ยน Mind set ของคนที่มีต่อผู้ป่วย HIV ให้คนเห็นประโยชน์และคุณค่าในสิ่งที่ทำ นำสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainability)

ดาวน์โหลดที่นี่…ฟรี HIV Collaboration Key of Change

ผู้ถอดบทเรียน วิภาวรรณ สุพิเพชร

ตำแหน่ง พยาบาล (ศูนย์คุณภาพ) โรงพยาบาลอานันทมหิดล

Image by Arek Socha from Pixabay

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here