วันจันทร์, พฤษภาคม 12, 2025
“ทำอย่างไรจะทำให้ความฝันเป็นจริง?” ความฝันในที่นี้หมายถึงการมีสุขภาพที่ดีขึ้น มีระบบบริการสุขภาพที่ดีขึ้น mindset เป็นสิ่งสำคัญในการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เกิด Better healthcare system คือ มีระบบบริการสุขภาพที่ดีขึ้น สุขภาพของแต่ละคนดีขึ้นได้ ระบบสุขภาพที่ดี ทำให้สุขภาพดีขึ้น ทั้ง 2 ส่วน มีผลกระทบซึ่งกันและกัน การใช้ทฤษฎีสามเหลี่ยมเหล็กแห่งระบบบริการสุขภาพมาเป็นแนวคิดในการทำให้บริการสุขภาพดีขึ้น คือ การเข้าถึงของประชาชน (access) คุณภาพการให้บริการ และค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพ  หากประชาชนเข้าถึงบริการสุขภาพ ได้รับการให้บริการสุขภาพที่ดี จะทำให้ค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพลดลง สามเหลี่ยมนี้มีความสัมพันธ์กัน “ระบบสุขภาพที่ฝัน ต้องเริ่มต้นที่แต่ละคน ทำอย่างไรให้แต่ละคนมีสุขภาพดี” เรื่อง growth mindset เพื่อให้เข้าใจง่าย ลองนึกเปรียบเทียบกับการเปลี่ยนแปลงของมนุษย์ที่เริ่มขึ้นตั้งแต่เกิดเริ่มจากนอน เราเห็นคนข้างหน้านั่ง เราก็อยากนั่ง เราเริ่มนั่งได้ เราเห็นคนยืน เดิน วิ่ง เราเกิดการเปลี่ยนแปลง จากการเห็นสิ่งที่อยู่ข้างหน้าเราแล้วเราทำ การเปลี่ยนแปลงตอนเริ่มต้นเราอาจจะยังไม่รู้วิธีการ ในแต่ละครั้งของการลุก เดิน วิ่ง มีการล้ม มีการพลาด มาไม่รู้กี่ครั้ง แต่ทุกครั้งเรากลับมาสู้ต่อ กลับมาเรียนรู้ต่อด้วยตัวเองว่าทำอย่างไรถึงจะไม่ล้ม ทั้งหมดมันเกิดขึ้นได้เพราะคำว่า learning เป็นสัญชาตญาณของการมีชีวิต ในการเปลี่ยนแปลง อาจเริ่มต้นจากการไม่รู้ว่าต้องทำอย่างไร ต้องมีการเรียนรู้ (learning) ไปสู่การแก้ไขปัญหา (solution) ปัจจัยที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ คือ...
     การบริหารทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งอยู่ในมาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ หมวด I-5 เชื่อว่าหลายท่านมองว่าเป็นสิ่งที่ท้าทายเป็นอย่างยิ่งโดยเฉพาะผู้บริหารโรงพยาบาลที่ปัจจุบันต้องเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนบุคลากร การแข่งขันด้านค่าตอบแทน การประเมินและพัฒนาบุคลากร  องค์กรควรพิจารณาความท้าทายด้านทรัพยากรมนุษย์ดังนี้ 1. ความท้าทายในการจัดการอัตรากำลัง      1.1 ลดอัตราการลาออกของบุคลากรกลุ่มสำคัญ      1.2 เพิ่มความสามารถของบุคลากรที่มีอยู่ในปัจจุบัน 2. ความท้าทายในการสรรหาคัดเลือก      2.1 สรรหา คนเก่ง มาร่วมงานกับองค์กร       2.2 รักษา คนเก่ง ให้คงอยู่กับองค์กร 3. ความท้าทายในการพัฒนาบุคลากร      3.1 พัฒนาสมรรถนะบุคลากรให้เท่ากันการเปลี่ยนแปลง       3.2 พัฒนาความอยู่ดีมีสุข (Well-Being) ของบุคลากร 4. ความท้าทายในการประเมินผลงาน      4.1 ประเมินผลงานเพื่อจ่ายผลตอบแทนอย่างยุติธรรม      4.2 ประเมินผลงานเพื่อโค้ชหรือพัฒนาให้บุคลากรขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง 5. ความท้าทายในการพัฒนาองค์กร      5.1 เพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการทำงาน      5.2 จัดทำนวัตกรรมในงานเพื่อเพิ่มคุณค่าแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย กลยุทธ์ในการลดอัตราการลาออกของบุคลากรกลุ่มสำคัญ ควรดำเนินการดังนี้ ให้ความสำคัญกับการหาตัวขับเคลื่อนความผูกพันช่วงขณะที่บุคลากรยังอยู่กับองค์กรมากกว่าการทำ Exit Interview หาสาเหตุการลาออกตอนที่บุคลากรยื่นใบลาออกเนื่องจากขาดความเที่ยงตรงและน่าเชื่อถือ จำแนกผู้ที่มีผลงานสูงและต่ำให้ได้ เมื่อจำแนกได้แล้วให้จัดการดูแลตามกลุ่ม หลายองค์กรจะพบว่าบุคลากรที่มีผลงานระดับ Star...
”Evidence-based practice for improving patient outcomes.”    ทางคณาจารย์ได้กล่าวถึง Evidence-based medicine (EBM) ซึ่งเป็นแนวทางการดูแลสุขภาพที่เน้นการใช้ผลงานวิจัยคุณภาพสูงมาเป็นหลักฐานในการตัดสินใจทางคลินิก1 ประกอบไปด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่  Clinical expertise ทีมสหสาขาวิชาชีพ Best evidence งานวิจัยที่มีคุณภาพ Patient values ผู้ป่วยและครอบครัว ใน 3 องค์ประกอบนี้ ถือเป็น “the best evidence” ที่มักเป็นองค์ประกอบที่ถูกลืมในกระบวนการดูแลคนไข้      โดยอาจารย์ได้มีการยกตัวอย่างของงานวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อเป็นแนวคิดในการทำงานวิจัยด้านคุณภาพ หากเรายังนึกไม่ออกว่าจะทำอย่างไร เราสามารถลองดูงานวิจัยที่ตีพิมพ์ทำมาแล้ว เราอาจจะได้แนวคิดการเขียน Driver Diagram, Root cause analysis, PDSA/PDCA, Control chart เพื่อกลับมาทำในบริบทรพ.เราเอง      นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยด้าน cost-effectiveness เพื่อประเมินความคุ้มค่าของการลงทุนในเทคโนโลยีหรือยาเพื่อการรักษา โดยยกตัวอย่างของการใช้  Computerized Provider Order Entry ว่าคุ้มค่ากว่าเมื่อเทียบกับการใช้กระดาษ2      แต่อย่างไรก็ตาม...
     ปัจจุบันการให้บริการปฐมภูมิมีบทบาทสำคัญในระบบสาธารณสุขของประเทศไทย หากต้องการให้บริการปฐมภูมิเติบโตและพัฒนาต่อไปอย่างยั่งยืน เราจำเป็นต้องมองภาพรวมของการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมในทุกสาขาวิชาชีพ รวมทั้งเครือข่ายด้านประชาชนในทุกภาคส่วน ทั้งยังต้องเชื่อมโยงไปถึงบ้านของผู้ป่วย ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุในชุมชน และสถานที่ดูแลประชาชนกลุ่มต่างๆ       หากเรามองว่าบริการปฐมภูมิจะเป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศน์ของบริหารสุขภาพ (Ecology of health)  โดยให้ประชาชนเป็นจุดศูนย์กลาง จะทำให้เกิดการบริหารระบบสุขภาพแบบบูรณาการ ที่ไม่เพียงแค่การดูแลเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมถึง การส่งเสริม ฟื้นฟูและป้องกันสุขภาพของตนเอง จึงจะถือว่าเป็นองค์รวมเบ็ดเสร็จผสมผสาน นอกจากนี้การให้บริการปฐมภูมิจำเป็นต้องมีความเข้าใจ ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง และใช้ข้อมูลเป็นตัวนำในการกำหนดแนวทางการให้บริการ ทั้งในรูปแบบออฟไลน์ และออนไลน์ ให้สอดคล้องไปกับเทคโนโลยีใหม่ที่เข้ามา ตามแนวคิด "รู้จัก รู้ใจ เข้าถึง พึ่งได้"      แต่ประเด็นท้าทายของการให้บริการปฐมภูมิปัจจุบัน คือ การเชื่อมโยง และส่งเสริมความต่อเนื่องของบริการ ยกตัวอย่างเช่น การถ่ายโอนภารกิจ รพ.สต. ไปสู่ อบจ. ซึ่งมีทั้งมุมมองในแง่ “โอกาส” และ “วิกฤต” หากเรามองเป็นวิกฤต เราคงมองว่าเต็มไปด้วยอุปสรรค ปัญหาที่เข้ามามากมายเต็มไปหมด แต่หากเรามองว่าเป็นโอกาส จะช่วยให้เราสามารถเข้าถึง และจัดการดูแลประชาชนได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งไม่ใช่เพียงแค่การคัดลอกงานจากสังกัดเดิม แต่เป็นการปรับเปลี่ยน (transform) และยกระดับการบูรณาการ (integrate) ของการให้บริการปฐมภูมิให้สูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มจุดการเข้าถึงบริการ (access...
  บทบรรณาธิการ Quality Care: HA National Forum ครั้งที่ 24  "Growth Mindset for Better Healthcare System" ระบบบริการสุขภาพที่ก้าวหน้า ด้วยกรอบความคิดที่กว้างไกล      ในยามที่โลกเผชิญความท้าทายและการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี และการแพร่ระบาดใหญ่ของโรคโควิด-19 การปรับตัวและเปลี่ยนแปลงเพื่อความอยู่รอด และความเป็นสุขของมนุษยชาติจึงเป็นสิ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้ หัวใจสำคัญของการก้าวข้ามผ่านความท้าทายเหล่านี้ คือ "Growth Mindset" หรือ กรอบความคิดแบบเติบโต ที่เชื่อว่าความสามารถต่าง ๆ สามารถพัฒนาได้ด้วยความพยายาม มองความล้มเหลวเป็นบทเรียน พร้อมเปิดใจเรียนรู้และรับมือกับความท้าทาย      การพัฒนาระบบบริการสุขภาพให้ก้าวหน้าท่ามกลางข้อจำกัดมากมายในปัจจุบัน จำเป็นต้องอาศัย Growth Mindset เพื่อคิดเชิงระบบ คิดนอกกรอบ คิดสร้างสรรค์นวัตกรรม และทำงานร่วมกันแบบบูรณาการ ทั้งในมิติของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ให้ และผู้รับบริการ การสร้างกระบวนการทำงานอย่างมีส่วนร่วม และการใช้เทคโนโลยีเป็นกลไกขับเคลื่อนอย่างชาญฉลาด เพื่อมุ่งสู่เป้าหมาย "The Quintuple Aim" ได้แก่ 1) ประสบการณ์ที่ดีของผู้ป่วย 2) ผลลัพธ์สุขภาพที่ดีขึ้น 3) ต้นทุนที่ลดลง 4) ความเป็นอยู่ที่ดีของบุคลากร...
การจัดการสิ่งแวดล้อมในการดูแลผู้ป่วยเพื่อการเยียวยา (Healing Environment) “Making healing As important As curing – ให้ความสำคัญกับการเยียวยามากเท่ากับการรักษา” นพ.ธีระวัฒน์ ศรีนัครินทร์  “ธรรมชาติ เป็นพลังพิเศษในการเยียวยา ให้ผลลัพธ์ที่ดีเสมอต่อร่างกายและจิตใจ” คุณนันทพงศ์ เลิศมณีทวีทรัพย์ “ออกแบบ Healing ENV ไม่ใช่เรื่องยาก แค่ทำในสิ่งที่เราเป็น สิ่งที่เรามี สิ่งที่ธรรมดาและเรียบง่าย” คุณชัชนิล ซัง สิ่งแวดล้อมเพื่อการเยียวยา (Healing Environment) เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการการดูแลผู้ป่วยด้วยมิติจิตวิญญาณ (Spiritual care) และได้รับความสนใจเริ่มมีการพัฒนาในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ผนวกกับมีงานวิจัยจำนวนมากที่ช่วยยืนยันแนวคิดนี้ว่าสามารถช่วยลดจำนวนวันนอน ลดความทุกข์ทรมาน หรือ แม้กระทั้งการเพิ่มคุณภาพชีวิต (Quality of life) ที่ดีขึ้นของผู้ป่วยรวมถึงญาติ จนในปัจจุบันได้ถูกนำเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของมาตรฐานทั้งของไทยและต่างประเทศ การจะพัฒนาสิ่งแวดล้อมเพื่อการเยียวยา (Healing Environment) นั้น ต้องรับรู้และนำความต้องการของผู้ป่วยและ ผู้รับผลงาน (รวมทั้งญาติและ staff) มาบูรณการร่วมกับองค์ความรู้ด้านสถาปัตยกรรม เพื่อนำมาสู่การออกแบบที่ตอบสนองต่อความต้องการดังกล่าว session นี้จะเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับ บทบาทของผู้นำ บทบาทของผู้ออกแบบ รวมทั้งการค้นหาความต้องการด้านมิติจิตวิญญาณ ที่จะนำมาสู่การออกแบบด้านกายภาพที่จะช่วยให้เกิดความรู้สึกผ่อนคลาย สะดวกสบาย ปลอดภัยและมีบรรยากาศที่อบอุ่น โดยใช้องค์ความรู้ด้านสถาปัตยกรรมมาช่วยทำให้เกิดสิ่งแวดล้อมบรรยากาศดังกล่าว นพ.ธีระวัฒน์ ศรีนัครินทร์...
Integration of Hospital Care and Primary Care
Integration of Hospital Care and Primary Care “ในระบบบริการปฐมภูมิ แม่ข่ายจะทำงานต่อไม่ได้ ถ้าลูกข่ายทำงานไม่เข้มแข็ง และลูกข่ายจะเข้มแข็งได้ แม่ข่ายจะต้องสนับสนุน” นพ.กิตตินันท์ อนรรฆมณี การขับเคลื่อนระบบบริการสุขภาพต้องมีการเชื่อมต่อระหว่างบริการปฐมภูมิ ทุติยภูมิ และตติยภูมิ ดังนั้น HA จะเป็นองค์กรที่นำแนวคิดการพัฒนาคุณภาพเข้าเป็นกลไกช่วยขับเคลื่อนระบบบริการสุขภาพของหน่วยบริการปฐมภูมิในปัจจุบัน การอภิปรายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนจากหลายมุมมองในประเด็น (1) ความท้าทายของการบูรณาการความร่วมมือในการพัฒนาคุณภาพบริการสุขภาพปฐมภูมิ ในบทบาทของสถานพยาบาลแม่ข่ายระดับทุติยภูมิ/ตติยภูมิ ที่จะเชื่อมโยงให้เกิดระบบคุณภาพ (2) บทเรียนการพัฒนารูปแบบบริการสุขภาพปฐมภูมิยุคใหม่ที่มีความหลากหลาย และโอกาสในการสร้าง new modern management ในการจัดบริการโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นพ.สุวัฒน์ วิริยพงษ์สุกิจ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนระบบสุขภาพปฐมภูมิ (สสป.) กระทรวงสาธารณสุข ระบบสุขภาพของประเทศไทย (Thailand’s health system) แบ่งเป็น 4 ระดับ คือ Primary care มี 3 ส่วน 1) ปัจจัยตัวกำหนดสุขภาพ (Determination of health) 2) การส่งเสริม/ป้องกันโรค 3) การรักษา/ฟื้นฟู อาจเป็นหน่วยบริการ หรือเครือข่ายบริการปฐมภูมิก็ได้ และ 4) Hospital...
ระบบบำบัดน้ำเสีย ควบคุมกำกับด้วยกฎหมาย/ ระเบียบด้านสิ่งแวดล้อม  ผู้บริหารต้องให้ความสำคัญ ผู้ปฏิบัติต้องมีความรู้ ตรวจสอบระบบเป็น รายงานและแก้ไขปัญหาได้ ชยาวีร์ หวังเจริญรุ่ง (กรมควบคุมมลพิษ) ปัญหาด้านมลพิษมีหลายด้าน แต่ปัญหาน้ำเสียก็เป็นปัญหาหลักด้วยเช่นกัน แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในช่วง 10 ปี ที่ผ่านมา ปัญหาน้ำเสียเกิดจากชุมชนมากกว่าภาคอุตสาหกรรม สถานการณ์และแนวทางการจัดการน้ำเสียชุมชนของประเทศไทย ในปี 2564 พบว่าคุณภาพน้ำทะเลชายฝั่งอยู่ในเกณฑ์ดีมากเพียงร้อยละ 3, เกณฑ์ดีร้อยละ 47 พอใช้ร้อยละ 40 เสื่อมโทรมร้อยละ 7 และเสื่อมโทรมมากร้อยละ 3 โดยคุณภาพน้ำทะเลส่วนใหญ่อยู่ในระดับพอใช้ถึงดี  และตั้งแต่ ปี 2559 – 2564 มีแนวโน้มคงที่อย่างต่อเนื่อง สารปนเปื้อนในน้ำเสียชุมชนที่ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม ตัวชี้วัดที่ใช้สำหรับบ่งชี้การปนเปื้อนที่สำคัญ คือ ค่าของแข็งแขวนลอย(TSS), ค่าสารอินทรีย์ที่ย่อยสลายได้ (BOD) สารอาหารไนโตรเจนและฟอสฟอรัส(TKN,NO3 และ TP) และเชื้อโรค (Fecal coliform) กฎหมายและมาตรฐาน ที่เกี่ยวข้องกับการระบายน้ำทิ้งจากโรงพยาบาลภายใต้พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 ประกอบด้วย 1.ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่องมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากอาคารบางประเภทและบางขนาด ประกาศเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2548 2.ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดประเภทของอาคารเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษที่จะต้องถูกควบคุมการปล่อยน้ำเสียลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะหรือออกสู่สิ่งแวดล้อม ประกาศเมื่อวันที่...
ไม่ว่ายิ่งใหญ่แค่ไหน สิ่งที่มนุษย์ไม่สามารถเอาชนะได้คือพระเจ้า คือ ธรรมชาติเจ้า เพราะฉะนั้นในห้วงสุดท้ายของชีวิต เราไม่อยากได้อะไรเลย อยากได้เพียงดูแลคนที่เรารัก Engagement หมายถึง การสร้างการมีส่วนร่วมเพื่อความผูกพัน ซึ่งก็คือสภาวะทางจิตใจ อารมณ์ ความรู้สึกนึกคิด ที่มีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งเป็นแรงจูงใจภายในที่สำคัญของมนุษย์ เป็นกลยุทธ์ที่องค์กรต่างๆ ให้ความสำคัญ อย่างมากทั้งกับลูกค้าภายนอก และลูกค้าภายใน โดยเฉพาะภาคธุรกิจที่ตื่นตัวกับการสร้าง Engagement เพื่อให้ลูกค้า ภักดีกับผลิตภัณฑ์ผลอย่างยั่งยืน แนวคิด People-centered Care & SHA เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของผู้ป่วยในการดูแลรักษา สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพสถานพยาบาล ขับเคลื่อนมาอย่างยาวนาน ภายใต้การรับรองมาตรฐาน HA 5 แฉก ซึ่งประกอบด้วย และยึดหลักการพัฒนาอย่างสมดุลของ Heart Hand Head และให้ความหมายของ Patient and Family Engagement ในเชิงของการให้ผู้ป่วย และครอบครัวเป็นศูนย์กลาง ในการดูแลสุขภาพของตน ให้เป็นหนึ่งในสมาชิกทีมสุขภาพ ด้วยความเชื่อว่าผู้ป่วยมีศักยภาพที่จะทำให้ผลลัพธ์คุณภาพและความปลอดภัยในการดูรักษาดีขึ้น มี well – being ที่ดี และนั่นหมายถึง well – being ของเจ้าหน้าที่ก็ย่อมดีขึ้นด้วยเช่นกัน เพียงแค่ผู้ป่วย ญาติ และเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการสุขภาพ...
Modernize Healthcare Accreditation
สรพ. ได้พัฒนากระบวนการรับรองคุณภาพที่หลากหลายเพื่อสร้างและส่งต่อองค์ความรู้ โดยมีข้อกำหนดตามมาตรฐานเป็นความรู้สำคัญเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของสถานพยาบาลที่รับการเยี่ยมสำรวจให้มุ่งเน้นความปลอดภัย และส่งผลให้สถานพยาบาลในประเทศไทยมีผลลัพธ์การดำเนินงานที่ดีขึ้น ปรับปรุงประสบการณ์ของผู้ป่วย ดำเนินงานด้วยต้นทุนที่คุ้มค่า คนทำงานมีประสบการณ์ที่ดี และยกระดับความเท่าเทียมด้าน สมกับวิสัยทัศน์ของสรพ. "สถานพยาบาลมีระบบคุณภาพระดับสากล ประชาชนปลอดภัยด้วยมาตรฐาน HA" กระบวนการ Hospital Accreditation ในประเทศไทย เป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาระบบบริการสุขภาพมาอย่างต่อเนื่องกว่า 20 ปีด้วยหลักคิด Accreditation as the Education Process และในปัจจุบันได้ในเวทีสากลเริ่มมีการทบทวนผลที่ได้จากกระบวนการ Hospital Accreditation เพื่อนำไปสู่การเป็น Modernize Accreditation 2030 ทิศทางการขับเคลื่อน Hospital Accreditation ในประเทศไทย คณะกรรมการสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) (สรพ.) ในฐานะกำลังหลักของการขับเคลื่อนกระบวนการ Hospital Accreditation ของประเทศไทย ได้มีการทบทวนและกำหนดทิศทางการพัฒนาระบบและกระบวนการรับรองในประเด็นต่างๆ การยกระดับคุณค่าของกระบวนการพัฒนาและรับรองคุณภาพต่อสถานพยาบาลและสังคม กระบวนการ Hospital Accreditation ให้ความสำคัญกับผลลัพธ์ (Outcomes) มากขึ้น โดยเฉพาะผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยมากขึ้นทั้งในด้านความปลอดภัย (Safety Outcomes) สุขภาพ (Health Outcomes) และประสบการณ์ที่ดีจากการเข้ารับบริการของผู้ป่วย (Patient Experience) รวมถึงการส่งเสริมการยกระดับคุณภาพด้วยการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด จากการพัฒนารูปแบบการเยี่ยมสำรวจโดยใช้เทคโนโลยีเข้าช่วย ประการสำคัญกระบวนการ...
- Advertisement -

MOST POPULAR

HOT NEWS