วันศุกร์, พฤษภาคม 16, 2025
อาจารย์เริ่มกล่าวนำเรื่องด้วยการตั้งคำถามเกี่ยวมนุษย์ว่า ‘จุดเริ่มต้นของอารยธรรมมนุษย์เริ่มเมื่อไหร่ ?’ Margaret Mead ชี้ให้เห็นถึงหลักฐานทางโบราณคดีกระดูกต้นขาโบราณที่ขุดค้นว่ามีรอยหักและสมานได้ บ่งบอกถึงมนุษย์คนนี้ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของมนุษย์อีกคน และนั่นคือจุดเริ่มต้นของสัญญาณอารยธรรมของมนุษย์ นั่นหมายถึง โดยแท้แล้วมนุษย์เรามีจิตวิญญาณของการดูแลใส่ใจกันและกัน งานสาธารณสุขเราเป็นงานที่ได้มีโอกาสใช้จิตวิญญาณนั้น คือการที่เราได้เห็นคนไข้มาตั้งแต่ เกิด แก่ เจ็บ จนตาย โดยเราได้มีโอกาสดูแลใส่ใจเพื่อนมนุษย์ในแต่ละช่วง เกิด (การเริ่มต้นของชีวิต) - ช่วงเวลาของความรักที่ไม่มีเงื่อนไข ความฝัน ความหวัง และการเริ่มต้นของชีวิตใหม่ การทำคลอดมิใช่เพียงแค่การทำคลอดเด็กทารกคนหนึ่ง แต่เป็นการทำคลอดความฝันของแม่คนหนึ่งอีกด้วย ไม่เพียงแค่นั้นสถานที่เช่นห้องคลอด ควรเป็นสถานที่เทิดทูนจิตวิญญาณของผู้หญิงคนหนึ่งให้มีจิตวิญญาณของความเป็นแม่ แก่ (ช่วงวัยชรา) - เป็นช่วงที่สะท้อนภูมิปัญญา และการแสวงหาคุณค่าทางจิตวิญญาณ เพราะภูมิหลังของคนไข้แต่ละคนมีเรื่องราว สิ่งที่ยังมีห่วง สิ่งที่ยังอยากทำ แตกต่างกัน ดังนั้นคลินิกผู้สูงวัยควรมี life review มีการซักถามถึงช่วงที่ผ่านมาว่ายังมีอะไรค้างคาใจไหมหรือไม่ เพื่อนำไปสู่ช่วงสุดท้าย คือ การตายจากไปอย่างมีความสุข เจ็บ (ความเจ็บป่วย) - การที่บุคคลากรทางการแพทย์ ยืนอยู่ตรงกลางของกระบวนการรักษา เราอาจจะเคยชินกับการมองแต่เรื่องโรค(diseases) แต่ลืมมองในแง่ของความเจ็บป่วย (illness/suffering) เราจึงควรมีการฟังให้มากขึ้นจากเดิม จึงอาจเป็นทักษะที่เราควรพัฒนาให้มากขึ้นในการมีจิตวิญญาณนี้ ตาย (วาระสุดท้ายของชีวิต) - อาจารย์ได้ให้นิยามของการตายที่ดี คือการตายอย่างสันติกับความอ่อนโยนต่อชีวิต หากเราวางแผนพูดคุยถึงเรื่องวาระสุดท้ายกันมาตลอดทาง ผู้ป่วยก็จะเกิดความเข้าใจถึงโรคและอาการ...
     การแพทย์แม่นยำสามารถเติมเต็มช่องว่างในการรักษาปัจจุบัน ที่มุ่งเน้นการรักษาแบบตั้งรับ คือรักษาหลังเกิดความเจ็บป่วยแล้ว โดยช่วยให้การรักษาโรคบางชนิดได้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ลดอาการข้างเคียงจากการใช้ยา ชะลอการดำเนินของโรคในผู้ป่วยระยะต้น ป้องกันการเกิดโรคสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงสูง และทำนายความเสี่ยงการเกิดโรคในคนปกติ      มนุษย์มี DNA 99.9% เหมือนกัน แต่ 0.1% ที่ไม่เหมือนกันนั้นส่งผลให้เราแตกต่างกันอย่างมหาศาล หากเราเข้าใจบริบทที่ทำให้เรามีความเสี่ยงในการเกิดโรคต่างกัน จะสามารถนำมาปรับเปลี่ยนวิธีการใช้ชีวิต เพื่อป้องกัน ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคในกลุ่มเสี่ยงสูง และกำหนดความถี่ในการตรวจติดตามโรคได้ ซึ่งนั่นคือสิ่งสำคัญของการแพทย์แม่นยํา      แม้ปัจจุบันราคา และระยะเวลาที่ใช้ในการตรวจวิเคราะห์ทางการแพทย์แม่นยำนั้นลดลง แต่ไม่ได้ส่งผลให้เกิดเปลี่ยนแนวการให้บริการสุขภาพ อย่างไรก็ตามการแพทย์แม่นยำก็ยังเป็นส่วนหนึ่งในอาวุธสำคัญของบุคคลากรทางการแพทย์ในไทย ตั้งแต่ ตรวจหาโรคทางพันธุกรรมก่อนมีบุตร ตรวจหาความผิดปกติของทารกในครรภ์ การป้องกันโรค ชะลอการพัฒนาของโรค ยามุ่งเป้าที่เฉพาะกับโรค ทำนายความเสี่ยงแพ้ยา ไปจนถึงชันสูตรการเสียชีวิตที่อาจมีสาเหตุจากโรคทางพันธุกรรม เพื่อลดความเสี่ยงการเสียชีวิตในญาติสายตรง แต่สิ่งเหล่านี้ยังจำกัดอยู่ในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย โรงพยาบาลรัฐขนาดใหญ่ และโรงพยาบาลเอกชน ซึ่งแนวทางการพัฒนาในประเทศไทย คือขยายการเข้าถึงการตรวจให้ทั่วถึง ไม่จำเป็นต้องมีห้องตรวจปฏิบัติการทางการแพทย์แม่นยำในโรงพยาบาล แต่ต้องมีศูนย์ตรวจฯ ของทั้งภาครัฐ และเอกชนทั่วประเทศที่มีมาตรฐานเชื่อถือได้ และให้ผู้ปฏิบัติงานในระบบสุขภาพเข้าใจ และสามารถให้บริการการแพทย์แม่นยำได้เหมาะสม       การปรับใช้การแพทย์แม่นยำในภาครัฐมีเป้าหมายเพื่อค้นหาความเสี่ยงในการเกิดโรค มุ่งให้ประชาชนมีที่อายุยืนยาวและสุขภาพดี โดยมุ่งเป้าในผู้ป่วย และญาติสายตรง ตามข้อบ่งชี้ที่ สปสช. กำหนดจากข้อมูลที่ได้จากฝั่งวิชาการ โดยให้กำหนดแนวทางปฏิบัติให้มีความเสมอภาค คุ้มค่า...
      ทำอย่างไรจะไม่ให้เกิดอันตรายจากยาความเสี่ยงสูง (High alert drug) และ จากการใช้ยาจำนวนมาก (Polypharmacy) เริ่มจากกรณีศึกษาของคุณหมอหัวใจจากโรงพยาบาลปัตตานี ก็ทำให้เราเห็นได้ว่า คนไข้ที่รักษากับเราอาจไม่ได้รักษากับเราที่เดียว บางคนรักษาที่โรงพยาบาลชุมชน แล้วก็มาโรงพยาบาลทั่วไป บางคนก็รักษาโรคหนึ่งที่โรงพยาบาลหนึ่ง และรักษาอีกโรคกับอีกโรงพยาบาล หรือแม้กระทั่งโรงพยาบาลเดียวกันแต่ไปหลายคลินิก สิ่งที่เราพบจากกรณีศึกษามีทั้ง คนไข้ไม่ได้รับยาที่ควรได้รับ ได้รับยาซ้ำซ้อน ได้รับยาเพิ่มไปโดยไม่จำเป็น ได้รับยาที่เกิด Drug interaction มีการปรับขนาดยา หรือได้รับยาที่ไม่สอดคล้องต่อเนื่อง เมื่อเปลี่ยนโรงพยาบาล ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีข้อมูลทางวิชาการสนับสนุนว่ายิ่งผู้ป่วยอายุมากขึ้น ก็จะมีโรคเยอะตามมา ทำให้ได้รับยาเยอะไปด้วย ข้อมูลการใช้ยาจำนวนมากในคนไข้โรคไตทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา และยาตีกันแล้วทำให้เกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ หลุมพรางที่มักเข้าใจกันคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับเรื่องการจัดการยาความเสี่ยงสูง ได้แก่  การจัดทำข้อมูลวิชาการแบบเป็นคัมภีร์ (ที่อ่านแล้วไม่รู้เรื่อง และไม่สะดวกในการนำไปใช้ในการปฏิบัติงานจริง) โดยเน้นให้มีเพียงการเฝ้าระวังโดยพยาบาล ดังนั้นทุกครั้งที่มีการเพิ่มรายการยาความเสี่ยงสูง จะเป็นการเพิ่มภาระงานให้กับพยาบาล ส่งผลให้เกิดความไม่ครอบคลุมในการจัดการความเสี่ยงด้านยาได้   โรงพยาบาลไม่ได้วิเคราะห์ปัจจัยที่จะทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนทางยาเพื่อนำไปจัดการเชิงระบบ  ขาดการเข้าถึงข้อมูลทีสำคัญ อาจารย์มังกร ประพันธ์วัฒนะ (หลายคนคงจำกันได้) เคยพูดถึง Safeguarding principles ไว้ 3 ข้อ  1) การลดหรือขจัดโอกาสการเกิดความผิดพลาด เช่น ต้องกำหนดคนที่จะเข้าถึงยาความเสี่ยง (สร้างเงื่อนไข) การไม่สำรองยาที่หอผู้ป่วย (ก็จะไม่มียาให้ใช้ ก็ไม่ผิด)...
HR 5.0 เป็นการมุ่งเน้นการใช้ข้อมูลและเทคโนโลยีเพื่อการบริหารและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ “Focus on Data & Technology” และเป็นการสร้างคุณค่าคนจากการวิเคราะห์ข้อมูล และการใช้เทคโนโลยี “Create Value of Human Resources from Data & Technology Usage” การรู้จักบุคลากรของเราเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งเรื่องของ Generation ก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ปัจจุบันถูกนำมาใช้เพื่อทำความเข้าใจลักษณะนิสัย และรูปแบบการทำงาน ซึ่งในแต่ละ Generation นั้นจะมีจุดเด่นที่ไม่เหมือนกัน ดังนั้นการทำงานร่วมกัน จึงควรเคารพในความแตกต่าง และนำจุดเด่นของแต่ละรุ่นมาส่งเสริมช่วยเหลือกัน  ในส่วนของผู้บริหารนั้น คุณลักษณะสำคัญของผู้บริหาร ที่พึงตระหนัก ได้แก่ 4C ซึ่งประกอบด้วย Clear Vision นโยบายผู้บริหารต้องชัดเจน เข้าใจตรงกันในกลุ่มผู้บริหารในลำดับแรก Commitment มีความมุ่งมั่น ที่จะเรียนรู้ไปกับเทคโนโลยี Culture มีแนวคิดในการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมขององค์กรให้ทันสมัย มีแนวคิดเปิดรับสิ่งใหม่ๆ และพร้อมที่จะเรียนรู้จากสิ่งนั้น Capability มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีให้ทันต่อโลก “Culture eats strategy for breakfast”  เราต้องให้ความสำคัญต่อวัฒนธรรมองค์กรมากกว่ากลยุทธ ส่วนรูปแบบการบริหารบุคลากร ที่ควรจะเป็น ประกอบด้วย 4S คือ Segmentation จัดแบ่งกลุ่มเพื่อวิเคราะห์ปัญหา...
หากจะเปรียบองค์กร สรพ. เหมือนร่างกายมนุษย์ ซึ่งอวัยวะสำคัญ 3 อย่าง ได้แก่ head, hand and heart เราจะสามารถสะท้อนภาพผู้นำที่เป็นเสาหลัก อันแสดงถึงความสำคัญของแต่ละอวัยวะได้ดังนี้ Head  - ศ.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา ผู้นำด้านแนวคิดชาว HA ได้กล่าวถึงระบบการดูแลสุขภาพ ประกอบไปด้วย 3 ส่วน คือ ผู้กำหนดนโยบาย ผู้นำไปปฏิบัติ และผู้ได้รับผล โดยมีเป้าหมายของการมี “สุขภาวะ” ที่ดี (well-being) ที่ไม่ใช่เพียง “สุขภาพ” ที่ดีเท่านั้น แต่ต้องประกอบไปด้วย 8 องค์ประกอบ คือ  Emotional,  Spiritual, Intellectual, Physical, Environmental, Financial, Occupational and Social ในมุมมองที่ใหญ่ขึ้นของประเทศไทย การมีสุขภาวะที่ดีนั้น ไม่ได้เกิดจากด้านสาธารณสุขอย่างเดียว แต่เกิดจากหลากหลายด้าน อาจจะแบ่งได้เป็น 9 ส สุขภาพ เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม การศึกษา สัตว์ สัมมาชีพ...
ก่อนที่จะไปถึง 3P safety in the Next Chapter  คงจะต้องย้อนไปถึง 2P safety  ที่เน้นเรื่องความปลอดภัยของ patient และ personnel (แบบแยกส่วนกัน) คำถามคือ “2P  จะมีปฏิสัมพันธ์กันอย่างไร?” ในเรื่องของความปลอดภัย จะทำให้ความปลอดภัยของผู้ป่วย และบุคลากรมีความเชื่อมโยงกันได้อย่างไร? 3P safety จะเพิ่มการคำนึงถึงความปลอดภัยของประชาชน หรือสังคมร่วมด้วย จากสถานการณ์ COVID-19 ที่มีรายงานการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสในกลุ่มคนไข้ มายังญาติ และบุคลากรทางการแพทย์ หรือจากบุคลากรทางการแพทย์ไปยังญาติของตนเอง และญาติของผู้ป่วย หรือจากญาติของผู้ป่วยมายังบุคลากรทางการแพทย์  เรื่องความปลอดภัยจึงมีความเกี่ยวข้องกับ 3 วง คือ patient, personnel และ people โดยแต่ละวงยังขาดความเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน 3P Safety the Next Chapter เป็นการมอง 3P ให้มีความเชื่อมโยง และมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน โดยแต่ละ P ต้องมีผลบวกต่อความปลอดภัยของอีก 2P  เช่น patient ต้องมีส่วนในการส่งเสริมให้ personnel และ people...
ในช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมาปฏิเสธไม่ได้เลยว่าเทคโนโลยี หรือดิจิตอลเข้ามามีส่วนสำคัญในงานโรงพยาบาลเป็นอย่างมาก แต่หากเราลองมองกลับมาทบทวนใคร่ครวญอีกทีเราจะรู้ว่าที่จริงแล้วเทคโนโลยีนั้นอยู่กับเรามาเป็นเวลานาน กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเราโดยไม่รู้ตัว เช่น โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ แท็ปเล็ต เพียงแต่วิกฤตที่ผ่านมาเป็นตัวกระตุ้นทำให้มนุษย์เราอาศัยเทคโนโลยีมากยิ่งขึ้น ประกอบกับเทคโนโลยีนั้นมีความก้าวหน้ามากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นหุ่นยนต์ ระบบปัญญาประดิษฐ์ การเข้าถึงเทคโนโลยีที่ง่ายมากขึ้น ฯลฯ  ส่งผลให้เราจำเป็นต้องมีการปรับตัวเพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต อย่างไรก็ตามจะพบว่ามีทั้งคนที่เปลี่ยนแปลงได้ และเปลี่ยนแปลงไม่ได้ ซึ่งล้วนส่งผลต่อความสุขและผลลัพธ์ของการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ทุกคน ในการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้ปรับตัวได้เท่าทันกับเทคโนโลยีนั้น โดยเริ่มต้นได้ที่การปรับ “กรอบความคิด (Mindset)” ของเราเอง หากจะถามว่า Mindset คืออะไร Mindset คือกรอบแนวคิด ทัศนคติ ค่านิยม ความเชื่อ วัฒธรรม ที่แสดงออกมาเป็นพฤติกรรมและการตัดสินใจของเราต่อสิ่งต่างๆ สิ่งสำคัญในการพัฒนา Mindset ของตัวเรา คือ การเปลี่ยนความคิดและทัศนคติที่ตัวเรา หากเราสามารถเปลี่ยนแปลง Mindset เราได้ไว เราจะเป็นคนที่สามารถทำสิ่งใหม่ๆ และมีทักษะในการเรียนเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ “Mindset เปรียบเสมือนกลไกหรือเครื่องจักร ที่มักเปลี่ยนแปลงได้ยาก แต่หากทำให้กรอบแนวคิดเปลี่ยนแปลงได้ ทัศนคติจะต้องเปลี่ยน แล้วจะส่งผลให้เราประสบความสำเร็จในการทำงาน”   ปัจจัยสำคัญในการเปลี่ยนแปลง Mindset เพื่อการปรับตัวในการทำงานยุคดิจิตอล การเรียนรู้จากประสบการณ์โดยตรง (Experience) การตรึกตรองและคิดใคร่ครวญ จากประสบการณ์ที่เราได้รับ (Reflection) มุมมองที่เกิดจากประสบการณ์ที่เราพบเจอ อาจจะไม่ต้องเหมือนกัน (Perspective) ฟังอย่างตั้งใจ โดยฟังให้เข้าใจอย่างถ่องแท้...
ทีมงาน Quality Care ได้กลับมารวมตัวกันอีกครั้ง เพื่อเก็บประเด็น และสรุปสาระความรู้ที่น่าสนใจในการประชุม HA National Forum ซึ่งครั้งนี้ได้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 23 ในหัวข้อ Synergy for Safety and Well-being “ผนึกกำลังเพื่อความปลอดภัย และสุขภาวะ”   อย่างที่ทุกท่านทราบกันดีว่า ความปลอดภัย และสุขภาวะ เป็นเป้าหมายที่สำคัญยิ่งในกระบวนการดูแลผู้ป่วยอย่างมีคุณภาพทั้งต่อผู้ป่วยเอง และบุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งการจะทำให้เป้าหมายนี้สำเร็จได้นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย และไม่สามารถทำเองเพียงคนเดียว แต่ต้องอาศัยการผนึกกำลัง อันหมายถึงการร่วมแรงร่วมใจกันของบุคลากรทางการแพทย์ และผู้ป่วย เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีเกินกว่าที่ใครคนใดคนหนึ่งจะสำเร็จเองได้ ในงานประชุม HA National Forum ครั้งนี้ จะทำให้ท่านให้เห็นถึงแง่มุมด้านต่างๆ ของการผสานพลัง เพื่อความปลอดภัย และสุขภาวะ ของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในระบบสุขภาพ เช่น การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ การทำงานเป็นทีม และการเรียนรู้ร่วมกันจากความผิดพลาดที่เกิดขึ้น รวมทั้งการดำเนินการเชิงรุกที่บุคลากรทางการแพทย์สามารถใช้เพื่อป้องกันอุบัติการณ์ และส่งเสริมให้เกิดความปลอดภัยแก่ผู้ป่วยในอนาคต  ยิ่งไปกว่านั้น ท่านยังจะได้เรียนรู้จากภาวะการเป็นผู้นำที่ส่งเสริมให้เกิดวัฒนธรรมความปลอดภัย และวัฒนธรรมการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องอีกด้วย  หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ท่านจะได้รับประโยชน์จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทั้งจากผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ และจากเพื่อนร่วมวิชาชีพ และเหนือสิ่งอื่นใด หวังว่างานครั้งนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นที่ทุกท่านจะได้สานต่อ ผนึกกำลังเพื่อจุดหมายเดียวกัน คือความปลอดภัย และสุขภาวะที่ดียิ่งขึ้นต่อไป   กองบรรณาธิการ Quality Care 2023
มีคำถามที่เราต้องการหาคำตอบว่า... เราจะเป็นบุคลากรสาธารณสุขรุ่นใหม่ที่มีหัวใจคุณภาพได้อย่างไรกัน ? ในช่วงเวลาที่ยากลำบาก กว่า 2 ปี ที่ต้องรับมือกับโควิด-19  ที่ข้ามมาระบาดในบ้านเรา ในสภาวะที่ต้องเจอปัญหารอบด้าน หรือต้องเจออุปสรรคในการทำงาน บุคลากรมีความจำเป็นต้องเพิ่มการดูแลตัวเองอย่างสูงสุด ปัญหาส่วนตัว คือ การที่ต้องเพิ่มการดูแลครอบครัวอย่างจริงจัง ปัญหาส่วนรวม คือ ความจำเป็นของการดูแลผู้ป่วย ในสภาวการณ์เช่นนี้  ฉันมองเห็นเพื่อนร่วมงานต่างหวาดกลัวและอ่อนล้า จนอยากเดินเข้าไปกอด แต่ด้วยสถานการณ์ ได้แค่เอ่ย ... ถาม ทุกข์ สุขเบาๆ ในระยะ 1-2 เมตร สบตามองหน้าและยิ้มให้กำลังใจกัน ภายใต้หน้ากาก 2 ชั้น ประโยคที่พวกเราท่องจำกันได้อย่างขึ้นใจ       “ใส่หน้ากาก 2 ชั้น ล้างมือบ่อยๆ ใช้แอลกอฮอส์เจล ยืนห่างกันระยะ 1-2 เมตร ห้ามเปิดปากกินข้าวด้วยกัน” แว่วเสียงผู้บริหารลอยลมมา เป็นคำพูดที่เหมือนหยอกเย้า  แต่ก็แฝงด้วยความจริงจัง  กินข้าวกับใครก็ได้นอกโรงพยาบาล มีนัด ออกเดทก็ได้ แต่ห้ามกินข้าวด้วยกันในที่ทำงาน ทำให้ทุกคนแอบนั่งอมยิ้ม เพราะมันคือเรื่องจริงกินข้าวด้วยกัน วงเดียวกันเปิดปากพูดกันครั้งใด เป็นเรื่อง !! ในวิกฤตที่เกิดกับโรงพยาบาลเอกชน รายได้ที่ลดลงพราะ ผู้คนกลัวการมาโรงพยาบาล หลายคนยอมป่วยอยู่ ...
ถอดบทเรียนโควิด...สอนอะไร ?           การเจ็บป่วยโรคภัยไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นกับตัวเอง โดยเฉพาะโรคอุบัติใหม่ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019           อาจที่ทำให้ผู้ป่วยจะรู้สึกวิตกกังวลใจมากกว่าปกติ ไม่ว่าจะเกิดขึ้นกับตัวเองหรือคนใกล้ตัว จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการสื่อสารอย่างค่อยเป็นค่อยไป ระหว่างทีมรักษาพยาบาล และผู้ป่วยในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาด ให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาและคลายความกังวล ผู้ป่วยหลายรายได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง ได้สร้างความเข้าใจผ่านการสื่อสารโดยตรงกับเจ้าหน้าที่ ทำให้มีกำลังใจและมีทัศนคติที่ดีต่อการรักษาและอาการเจ็บป่วย         หากได้ลองหลับตานึกย้อนกลับไปถึงช่วงการแพร่ระบาดที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อสูง แพทย์ พยาบาลและเจ้าหน้าที่หลายฝ่าย ต้องทำงานอย่างหนัก แต่ช่วงเวลานั้นทำให้เราได้รู้ว่าการรักษาพยาบาลผู้ป่วยไม่ได้อาศัยกำลังเฉพาะของ แพทย์ พยาบาลและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเท่านั้น แต่ยังมีการประสานงานของทีมงานฝ่ายปกครอง เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นอื่นๆ รวมถึงแรงสนับสนุนจากภาคเอกชนและประชาชาชนในพื้นที่ด้วย        กุญแจที่สำคัญดอกหนึ่งสู่ความสำเร็จคือการมีทำงานเป็นทีมหรือการมีทีมงานที่ดีที่คอยช่วยเหลือ สนับสนุนการทำงานของแต่ละบทบาทหน้าที่ ซึ่งทุกคนได้เสียสละเวลา แรงกาย กำลังทรัพย์ คอยช่วยเหลือผู้ป่วย และผลตอบแทนที่น่าภาคภูมิใจทำให้บุคลากรที่ทำงานอยู่และภาคส่วนที่มีส่วนร่วมมีกำลังใจในการทำงานต่อไป และมีความสุขที่ได้ช่วยเหลือคือ การที่ผู้ป่วยหายจากอาการป่วย ได้กลับบ้าน ไปหาครอบครัวและคนที่รัก และกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติ        ประสบการณ์หลากหลายรูปแบบที่ได้รับจากการให้บริการผู้ป่วยในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 ทำให้เราได้คำตอบกับคำถามชีวิตมากมาย และหนึ่งในนั้นคือ “การมี empathy...
- Advertisement -

MOST POPULAR

HOT NEWS