3P Safety for Resilience in Healthcare
Crisis และ Resilience
Crisis ในภาษาจีนมีได้ 2 ความหมาย “a time of danger” และ “a time of opportunity” เมื่อมีภาวะวิกฤตเกิดขึ้นจึงเป็นโอกาสในการที่จะเปลี่ยนแปลงไปสู่ความสำเร็จและความล้มเหลวได้ ดังคำกล่าวที่ว่า “ความสำเร็จเป็นจุดเริ่มต้นของความล้มเหลว” และในทางกลับกัน “ความล้มเหลวเป็นจุดเริ่มต้นของความสำเร็จ” ความสำเร็จจึงไม่ใช่ปลายทาง สิ่งที่ต้องดำเนินการต่อหลังประสบความสำเร็จคือ “productive success” เพื่อเพิ่มโอกาสในการป้องกันความล้มเหลว
“in every crisis lies the seed of opportunity”
Resilience หมายถึง ความสามารถในการฟื้นตัวอย่าวรวดเร็วจากปัญหา คำถามที่ตามมาหลังจากการฟื้นตัว คือ เราควรฟื้นตัวแล้วกลับมาเป็นแบบเดิม หรือดีกว่าเดิม?
Resilience in Healthcare
เมื่อเกิดภาวะวิกฤติในระบบสุขภาพ คือ การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ผลักดันให้องค์กรสุขภาพเข้าสู่การเปลี่ยนแปลง 3 ประการที่สำคัญ คือ
1. การเปลี่ยนแปลงที่ทำไปสู่สิ่งที่ดีขึ้น
Resilience in Healthcare ส่งผลดีต่อองค์กรสุขภาพใน 6...
HA National Forum 22
ทำอย่างไรจะสามารถปรับตัวได้อย่างสมดุล ในการเปลี่ยนผ่าน COVID-19 เป็นโรคประจำถิ่น?
Quality Learning -
ทำอย่างไรจะสามารถปรับตัวได้อย่างสมดุล ในการเปลี่ยนผ่าน COVID-19 เป็นโรคประจำถิ่น?
หลักคิดการทำงานในสถานการณ์ที่ไม่แน่นอน
“U cannot draw the timeline, the virus does.” (Anthony Fauci) แล้วเราจะทำงานกันอย่างไร ในสถานการณ์ที่ไม่แน่นอน (how to cope with this uncertainty?) หลักคิดสำคัญมีสองข้อ (1) อะไรที่ไม่แน่นอนอย่าไปฝืนมัน (try to accept uncertainty), และ (2) อะไรที่พอจะควบคุมกำกับได้เป็นจุดที่ต้องมุ่งเน้น (focus on what we can control)
ปรับรูปแบบระบบการรักษาจาก Home Isolation เป็นการดูแลแบบผู้ป่วยนอก (OPSI)
ตลอดสามปีของการรับมือกับ COVID-19 มีการปรับเปลี่ยนระบบการดูแลที่เหมาะสมกับสถานการณ์แต่ละระยะ ปีแรกมุ่งเน้นการรักษาในโรงพยาบาลเป็นหลัก, ปีที่สองมุ่งเน้นระบบการดูแลที่บ้านแบบ Home Isolation} ปีที่สามในระยะการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่โรคประจำถิ่น สถานการณ์ปัจจุบันที่ความรุนแรงของโรคลดลงและประชาชนได้รับวัคซีนครอบคลุมเพิ่มมากขึ้น ทำให้สามารถปรับมาเป็นการดูแลแบบผู้ป่วยนอก (OP with Self Isolation: OPSI) ซึ่งยังคงใช้หลักการสำคัญสองข้อ คือ (1) ทำอย่างไรให้คนไข้ไม่แย่ลงและคุณภาพการรักษายังดีอยู่...
รากฐาน สานต่อ ก่อการไกล
"รากฐาน": นพ.อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล
“บ่มเพาะมุ่งมั่นก่อราก บั่นบากก่อฐานการณ์ใหญ่
ทุ่มเทมุ่งมั่นตั้งใจ ต้นไม้คุณภาพประเทศไทยกำเนิดมา”
ก่อนจะมาเป็น HA
3 กระแสที่นำมาสู่กระบวนการ HA ในปี พ.ศ. 2540 ได้แก่ (1) การมี พรบ.ประกันสังคมทำให้เกิดการจัดทำมาตรฐานสถานพยาบาลประกันสังคม เป็นแรงจูงใจในการสร้างมาตรฐาน HA ที่มีความสมบูรณ์มากขึ้น (2) การศึกษาต้นแบบการพัฒนาการใช้ Quality Management ในโรงพยาบาลของประเทศสหรัฐอเมริกา และนำแนวคิด TQM มานำร่องทดลองใช้ในโรงพยาบาลประเทศไทย (3) ความสนใจของ สวรส. ในการสร้างกลไกการทำให้มีระบบคุณภาพเกิดขึ้น และได้เรียนรู้กระบวนการเยี่ยมสำรวจที่น่าประทับใจจาก Mr.Anthony Wagemakers ซึ่งเป็นกระบวนการเชิงบวก ที่ไม่คุกคาม ให้เกียรติ และสามารถกระตุ้นให้โรงพยาบาลอยากพัฒนามากขึ้น
กอบร่างสร้างมาตรฐาน HA
มาตรฐาน HA ฉบับแรกได้มีการเพิ่มเติมแนวคิดการพัฒนา (Quality Improvement) เป็นเอกสารที่มีพลัง สะท้อนถึงคุณค่าและความหมาย ทั้งต่อผู้ป่วย บุคลากร และโรงพยาบาล โดยการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาลได้อาศัยการทดลองปฏิบัติ เรียนรู้จากประสบการณ์ และแลกเปลี่ยนกัน จากการที่มาตรฐาน HA ไม่มีวิธีให้ปฏิบัติ มีแต่กรอบแนวคิดกว้างๆ ทำให้โรงพยาบาลมีอิสระในการทำงาน ลองผิดลองถูกเอง และเกิดเป็นนวัตกรรม
“Accreditation...
Resilience in Healthcare & Scaling up with Quality
เป็นเวลากว่าเกือบ 2 ปีแล้ว ที่ทีมงาน Quality Care ได้ห่างเหินกันไป ไม่ได้มารวมตัวกันเพื่อทำงานที่เรารัก นั่นคือการร่วมเรียนรู้ บันทึก และถ่ายทอด ความรู้ บทเรียนอันทรงคุณค่า ที่เราได้รับจาก HA National Forum ซึ่งทุกท่านคงทราบดีว่าจากอุปสรรค และปัญหาการระบาดของ covid-19 ทำให้เกิดผลกระทบต่อทุกภาคส่วน หากเรามองปัญหาเป็นดั่งก้อนหินที่ทำให้เราสะดุดล้ม การกลับมาครั้งนี้ของพวกเราก็เปรียบดังการลุกขึ้น และเดินต่ออย่างมุ่งมั่นที่จะเรียนรู้จากปัญหา และพร้อมจะก้าวไปข้างหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง
Quality Care Team เกิดจากการรวมตัวกันของกลุ่มคนรักงานคุณภาพ ที่ตั้งใจสรรหาสาระ หัวข้อที่เฉียบคม บทเรียนที่น่าประทับใจจากเวทีอภิปราย ห้องต่างๆ นำมาเล่าสู่กันฟังต่อ ก่อให้เกิดการจุดประกาย และเชื่อมโยงไปสู่การปฏิบัติจริง อีกทั้งยังเป็นการกระตุ้นเตือนประเด็นสำคัญเพื่อให้กลับมา ทบทวนได้ตลอดเวลา
หลายปีที่ผ่านมาพวกเราได้เป็นส่วนหนึ่งของ HA National Forum มาอย่างเหนียวแน่น และมีการปรับปรุงรูปแบบให้เกิดการขยายผลในวงกว้าง จากการตีพิมพ์เป็นรูปเล่ม สู่การ create contents บน website แม้นว่า COVID-19 จะทำให้เราต้องขาดการติดต่อกันไป แต่เรามั่นใจว่าการกลับมาครั้งนี้...
ดาวน์โหลด ... บทเรียนการพัฒนาจาก DSC-HIV สู่การรับรอง HNA
ดาวน์โหลด ... บทเรียนการพัฒนาเพื่อก้าวสู่การรับรอง DHSA
ดาวน์โหลด ... บทเรียนการพัฒนาเพื่อก้าวสู่การรับรอง PDSC
HA National Forum 22
พิธีเปิด HA National Forum ครั้งที่ 22 : Towards Scaling Up and Resilience
Quality Learning -
HA National Forum 22: Towards Scaling Up and Resillence in Healthcare
“Resilience” เป็นคำที่หลายวงการให้ความสนใจ Resilience มีรากศัพท์มาจากภาษาละติน แปลว่า “กระดอนกลับ” Oxford Dictionary ได้ให้คำนิยามไว้ว่า “The Capacity to Recover Quickly from Difficulties” เป็นความสามารถในการฟื้นตัวอย่างรวดเร็วจากปัญหา แนวคิดนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ทั้งในระดับบุคคลและเชิงระบบ
ในแวดวงของงานทรัพยากรบุคคล มีการนำคำว่า “Resilience” มาใช้ในการพัฒนาด้านในและเสริมสร้างศักยภาพของคน ให้มีความสามารถในการปรับตัวอย่างรวดเร็ว ภายหลังการเผชิญกับอุปสรรคความทุกข์ยาก หรือเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในชีวิต เป็นเสมือนความยืดหยุ่นทางจิตใจเพื่อก่อให้เกิดการตอบสนองเชิงบวกและพร้อมรับกับสถานการณ์ต่างๆในทางวิศวกรรม มีการนำคำว่า “Resilience” มาใช้เชิงระบบโดยมีองค์ประกอบสำคัญ 4 ประการคือ “Rebound” เป็นการฟื้นตัวจากเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงที่ไม่คาดฝันให้กลับมาทำหน้าที่เหมือนเดิมได้รวดเร็วโดยอาศัยขีดความสามารถและทรัพยากรที่มีอยู่ “Robustness” เป็นความสามารถที่จะดูดซับความแปรปรวน ความยุ่งเหยิง สามารถจัดการกับเหตุการณ์ที่เลวร้ายได้ “Graceful Extensibility” เป็นความยืดหยุ่น...
Quality Learning
บทเรียนการพัฒนาเพื่อก้าวสู่การรับรองขั้นก้าวหน้า_โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช กรมแพทย์ทหารอากาศ
administrator -
ดาวน์โหลด...บทเรียนการพัฒนาเพื่อก้าวสู่การรับรองขั้นก้าวหน้า_ภูมิพล
Quality Learning
บทเรียนการพัฒนาเพื่อก้าวสู่การรับรองขั้นก้าวหน้า (A-HA) คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
administrator -
ดาวน์โหลด...บทเรียนการพัฒนาเพื่อก้าวสู่การรับรองขั้นก้าวหน้า (A-HA)