ทำอย่างไรจะสามารถปรับตัวได้อย่างสมดุล ในการเปลี่ยนผ่าน COVID-19 เป็นโรคประจำถิ่น?

0
4414

ทำอย่างไรจะสามารถปรับตัวได้อย่างสมดุล ในการเปลี่ยนผ่าน COVID-19 เป็นโรคประจำถิ่น?

หลักคิดการทำงานในสถานการณ์ที่ไม่แน่นอน

U cannot draw the timeline, the virus does.” (Anthony Fauci)  แล้วเราจะทำงานกันอย่างไร ในสถานการณ์ที่ไม่แน่นอน (how to cope with this uncertainty?) หลักคิดสำคัญมีสองข้อ (1) อะไรที่ไม่แน่นอนอย่าไปฝืนมัน (try to accept uncertainty), และ (2) อะไรที่พอจะควบคุมกำกับได้เป็นจุดที่ต้องมุ่งเน้น (focus on what we can control)

ปรับรูปแบบระบบการรักษาจาก Home Isolation เป็นการดูแลแบบผู้ป่วยนอก (OPSI)

ตลอดสามปีของการรับมือกับ COVID-19 มีการปรับเปลี่ยนระบบการดูแลที่เหมาะสมกับสถานการณ์แต่ละระยะ ปีแรกมุ่งเน้นการรักษาในโรงพยาบาลเป็นหลัก, ปีที่สองมุ่งเน้นระบบการดูแลที่บ้านแบบ Home Isolation} ปีที่สามในระยะการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่โรคประจำถิ่น สถานการณ์ปัจจุบันที่ความรุนแรงของโรคลดลงและประชาชนได้รับวัคซีนครอบคลุมเพิ่มมากขึ้น ทำให้สามารถปรับมาเป็นการดูแลแบบผู้ป่วยนอก (OP with Self Isolation: OPSI) ซึ่งยังคงใช้หลักการสำคัญสองข้อ คือ (1) ทำอย่างไรให้คนไข้ไม่แย่ลงและคุณภาพการรักษายังดีอยู่ และ (2) ทำอย่างไรไม่ให้คนไข้ออกมาแพร่เชื้อหากดูแลตนเองที่บ้านได้ไม่ดี

ระบบการดูแลแบบผู้ป่วยนอก (OP with Self Isolation: OPSI) มีขั้นตอนสำคัญ ได้แก่ (1) การคัดกรองความเสี่ยงและความพร้อม โดยสนับสนุนระบบการคัดกรองสายด่วน 1330 การบริการ ARI/PUI clinic ของสถานพยาบาล รวมถึงการประเมินความพร้อมในการดูแลโดยครอบครัวหรือชุมชน (2) รูปแบบการรักษายังคงมีการแยกกักตัวที่บ้าน จ่ายยาตามอาการ (ถ้าไม่มีอาการหรือความเสี่ยงสุงไม่จำเป็นต้องได้รับยาต้านไวรัส) และมีระบบการรับส่งต่อเมื่ออาการแย่ลง แต่มีสิ่งที่มีความแตกต่างจากเดิม 3 เรื่อง ได้แก่ (1) ติดตามอาการครั้งเดียวที่ 48 ชั่วโมง, (2) ไม่มีการจัดส่งอุปกรณ์ตรวจประเมิน, และ (3) ไม่มีบริการจัดส่งอาหาร  ทั้งนี้แนวทางการรักษา COVID-19 (ปรับปรุง 1 มีนาคม 2565) มีการเพิ่มรายการยาต้านไวรัส เช่น Nirmatrelvir/ Ritonavir, Molnupiravir, Remdesivir, Favipiravir

 

Resilience ด้วยแนวคิด BCP แผนการคงกิจการ

Health Services Maintenance = Individual Measures + New Normal Medical Services + Government Measures โดยมุ่งเน้นการดำเนินการสำคัญ ดังนี้

ต้นแบบสถานพยาบาลในรูปแบบ Sandbox: DMS-Pattani Model มีการปรับระบบบริการวิถีใหม่ (new normal model) ในหน่วยงานสำคัญ เช่น ห้องผ่าตัด (ปรับปรุง negative pressure OR), ห้องฉุกเฉิน (ปรับปรุง negative pressure isolation tent), บริการทันตกรรม (ปรับปรุงการใช้ rubber dam และ external oral suction device), บริการดูแลกลุ่มผู้ป่วย NCD (มีการดูแลผ่าน Telemedicine และการสนับสนุนอุปกรณ์ติดตามอาการที่บ้าน)

Long COVID: การดูแลภาวะ Long term effect ของผู้ป่วย 5-50% (ขึ้นกับเกณฑ์การวัดของแต่ละการวิจัย) หลังติดเชื้อ COVID-19 ซึ่งเป็นผลของ inflammation จากการติดเชื้อซึ่งสามารถเกิดได้ในทุกระบบของร่างกาย ทำให้สามารถมีอาการ Long term side effect ได้ โดยมีการกำหนดแนวปฏิบัติการดูแลรักษาผู้ป่วย Long COVID

การดูแลต่อเนื่อง (continuum of care) บูรณาการกับหน่วยบริการปฐมภูมิ โครงการสามหมอ ร่วมกับกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ

 

Learning and Renovation of Care

หัวใจสำคัญคือการมีส่วนร่วมและการเสริมพลังอำนาจจากทุกภาคส่วน  ทั้งประชาชน ภาคประชาสังคม และการเสริมพลังผู้ป่วยที่มีบทบาทเพิ่มมากขึ้น

การพลิกวิกฤตสู่โอกาสโดยการพัฒนา New Normal Medical Services ประกอบด้วย (1) ระบบข้อมูลด้านสุขภาพ สนับสนุนระบบการส่งต่อผู้ป่วย และการบูรณาการฐานข้อมูลระหว่างหน่วยบริการกับหน่วยบริการ และหน่วยบริการกับผู้ป่วย, (2) ระบบแบ่งกลุ่มและจัดบริการตามความจำเป็นของแต่ละบุคคล โดยพิจารณาจากระดับความรุนแรง ความซับซ้อน ความเร็วของการดำเนินโรค รวมถึงความเข้มแข็งและพฤติกรรมของผู้ป่วย, (3) ระบบสนับสนุนการดูแลตนเอง มีข้อมูลสุขภาพส่วนบุคคล (Personal Health Medical Record) ความรอบรู้ด้านสุขภาพ แอพพลิเคชั่น และระบบติดตามรายบุคคล, (4) ระบบบริการจัดการเตียงร่วมกัน เพื่อลดความแออัด เพิ่มการเข้าถึงบริการที่ง่ายขึ้น และยกระดับความปลอดภัยด้านการป้องกันการติดเชื้อในสถานพยาบาล, และ (5) ความร่วมมือกับภาคเอกชนหรือ Startup ในการพัฒนา Metaverse in Healthcare

กรมการแพทย์ มีภาพที่อยากเห็นการเปลี่ยนแปลงบริการการแพทย์นอกสถานพยาบาลที่ดูแลพี่น้องประชาชน เป็น personal-based medical service โดยการ Re-design process แล้วนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาสนับสนุน กรมการแพทย์เป็น open platform ในการทำงานร่วมกับทุกภาคส่วน เพื่อผลประโยชน์แก่คนไข้และประชาชน

 

ข้อเสนอวิธีการทำงานร่วมกัน: “Embracing diversity, Creativity, & Co-creation”

  • การมีส่วนร่วมและความเป็นเจ้าของร่วมกัน(อย่างสร้างสรรค์)
  • ทำไปและเรียนรู้ไป เข้าใจข้อจำกัดซึ่งกันและกัน
  • ติงกันได้แบบพี่ๆน้องๆ ทำงานด้วยสมองและหัวใจ ใช้ใจเข้าใจคนอื่นและใช้สมองกับตัวเอง (อย่าใช้ใจกับตัวเอง แต่ใช้สมองกับคนอื่น) ใช้พลังเครือข่าย
  • ต้องกล้า “คิดนอกกรอบ” “ทำในสิ่งที่ไม่เคย” นอกกรอบแต่ไม่นอกคอก แต่สามารถขยายคอกได้ (กรอบ คือ comfort zone, คอก=กฎ ระเบียบ), Success มักอยู่นอกกรอบ เพื่อนำไปสู่องค์กรแห่งนวัตกรรม)
  • ความชัดเจนของการกำหนดบทบาทหน้าที่ (deligation of authority) ที่ร้อยเรียงกันใหม่
  • ให้ความสำคัญกับผู้ปฏิบัติงานที่อยู่หน้างาน (staff is the most important factor)
  • ‘Embracing diversity’ โลกปัจจุบันคนคิดไม่เหมือนกัน โอบกอดความเห็นที่แตกต่างกัน
  • การเปลี่ยนแปลงต้องเริ่มต้นที่ตัวเรา
  • เมื่อทำงานหนัก ต้องพักให้เป็น

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here