การรับมือโรคระบาด

0
3284
การรับมือโรคระบาด
การรับมือโรคระบาด

ในการประชุม Prince Mahidol Award Conference ปี 2018 ตัวแทนจากกรมควบคุมโรคของประเทศไทยได้เล่าประสบการณ์ในการรับมือกับ MERS เมื่อปี 2559 ว่า ประเทศไทยประสบความสำเร็จเป็นอย่างสูงในการควบคุมไม่ให้มีการแพร่ระบาดของ MERS ในประเทศไทย โดยผู้ป่วยที่เกิดขึ้นทั้งหมด 3 ราย เป็นผู้ป่วยที่เดินทางมาจากตะวันออกกลางทั้ง 3 ราย มาด้วยอาการหายใจเหนื่อย มี 2 รายเป็นผู้สูงอายุ ส่วนอีกหนึ่งรายเป็นวัยรุ่น

ความสำเร็จในการควบคุมโรคนี้เกิดขึ้นจากการเตรียมรับมือกับโรค MERS เป็นอย่างดี โดยมีการศึกษาถอดบทเรียนจากการแพร่ระบาดของ MERS ในเกาหลีใต้ก่อนหน้านี้ อย่างไรก็ตาม จากการเฝ้าระวังการแพร่ระบาด ทำให้มีผู้สัมผัสโรคใกล้ชิดที่ต้องถูกกักแยกหรือให้นอนโรงพยาบาลจำนวนถึง 148 ราย และในจำนวน 148 รายนี้ เป็นบุคลากรของโรงพยาบาลถึง 53 ราย

บทเรียนจากการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคระบาดร้ายแรงทั่วโลก ได้ข้อสรุปที่สำคัญ ดังนี้

  1. ข้อมูลการเฝ้าระวังโรคมีความสำคัญมากต่อการรับรู้การแพร่กระจายของโรคตั้งแต่ก่อนที่โรคจะกระจายไปมาก
  2. ต้องมีการสร้างความรู้และความเข้าใจในโรคที่ระบาด ทั้งในหมู่บุคลากรการแพทย์ และสังคมโดยรวม
  3. ทีมงานดูแลผู้ป่วยต้องมีความแม่นยำในกระบวนการดูแลรักษา ที่ตั้งอยู่บนฐานความรู้ทางวิชาการที่เป็นปัจจุบัน
  4. ต้องมีการเตรียมพร้อมของทรัพยากรทุกชนิดที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมโรค มีการวางระบบงานรองรับ และมีการฝึกซ้อมทีมงานจนมีความชำนาญในขั้นตอนการตอบสนองต่อการระบาด
  5. มีศูนย์สั่งการที่กำหนดมาตรการตอบสนองที่รวดเร็ว ทันต่อเหตุการณ์ โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
Photo by Headway on Unsplash

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here