Changes through CLT towards The Magic Care Model in COPD

0
1839
Changes through CLT towards The Magic Care Model in COPD
Changes through CLT towards The Magic Care Model in COPD

Changes through CLT towards The Magic Care Model in COPD

At first people refuse to believe that a strange new thing can be done

Then they begin to hope it can be done. Then they see it can be done.

Then it is done and all the world wonders why it was not done centuries ago.”

Frances Hodgson Burnett

พญ.รัชพร ทวีรุจจนะ                                                                                                            COPD เป็นหนึ่งโรค NCD สำคัญที่สังคมไทยต้องตระหนัก เนื่องจากการก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุและสังคมของโรค NCD ซึ่งการวางแนวทางการดูแลโรคกลุ่ม NCD ให้ต่อเนื่องและมีความยั่งยืนนั้นจำเป็นต้องวิเคราะห์ในกระบวนการ ดังตัวอย่างการบริหารจัดการกระบวนการดูแลผู้ป่วยกลุ่มโรค COPD ของศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จนเกิดผลลัพธ์การดำเนินงานที่ดี และเป็น Best in Change ในปี2559 และปี 2560 (THIP) ดังนั้นสิ่งที่พัฒนาอย่างโดดเด่นนั้นไม่ใช่เรื่องบังเอิญ เนื่องจากผลการดำเนินงานที่ดีขึ้นเรื่อยๆ จนสามารถเป็น Best Practice ให้องค์กรอื่นๆสามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวทางปฏิบัติที่ดี ผ่าน CoP THIP ซึ่งทีมนักถอดบทเรียนของสรพ.ได้เข้าศึกษาดูงานถอดบทเรียน และถ่ายทอดองค์ความรู้ออกมาเป็นแบบอย่างในการพัฒนาการดูแลผู้ป่วยกลุ่มโรคเรื้อรัง (Chronic care model) ที่ชุมชนอื่นนำไปปฏิบัติได้

รศ.นพ.สุทัศน์ รุ่งเรืองหิรัญญา                                                                                                ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพฯ เป็นโรงพยาบาลที่มีการเรียนการสอน ให้บริการรักษาพยาบาลระดับตติยภูมิ ขนาด 500 เตียง การดำเนินงาน COPD clinic ของ Respiratory team ภายใต้ภาควิชาอายุรศาสตร์ มศว. ได้เริ่มต้นจากทีมเล็กๆ ที่มีบุคลากรน้อย (อายุรแพทย์โรคระบบหายใจ 3 คน, พยาบาลวิชาชีพ 1 คน, ผู้ช่วยพยาบาล 2 คนและเจ้าหน้าที่สนับสนุน 1คน) และขับเคลื่อนการพัฒนาแนวคิด “The Magic” สู่แนวคิดการพัฒนางาน “หน่วยงานเล็กๆ แต่มุ่งทำงานเพื่อประโยชน์ใหญ่ ให้เป็นที่ประจักษ์” ในบทบาทหัวหน้าภาควิชาและประธาน CLT MED (อายุรศาสตร์) จึงได้ขับเคลื่อนและผลักดันผ่าน CLT MED (อายุรศาสตร์) โดยวางยุทธศาสตร์ CLT”

เหว่า พืชสาลี                                                                                                                      ลุงเหว่าได้ถ่ายทอดประสบการณ์การเป็นผู้ป่วย COPD และได้เข้ารับการรักษาที่มศว.จนสามารถเลิกบุหรี่ได้และเป็นแกนนำชุมชนในการช่วยเหลือและรณรงค์การเลิกบุหรี่ให้กับชุมชนและสังคมได้เป็นอย่างดี

ลุงเหว่าเริ่มมีอาการไออย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2553 เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลองครักษ์ ระยะนั้นเวลาทำงานมักจะมีอาการเหนื่อยมากขึ้น ได้เข้าไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษา และได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น “โรคปอด” ต่อมาได้ย้ายเข้ามารักษาต่อที่มศว.ตามพื้นที่เขตรับผิดชอบ ลุงเหว่ายังคงทำงานต่อเนื่อง โดยยังไม่เลิกสูบบุหรี่ และยังคงมีอาการไอมาตลอด เวลาพบแพทย์แต่ละครั้ง แพทย์ก็มักถามว่า “ลุงเลิกบุหรี่แล้วหรือยัง” แต่ก็ตอบไปว่า “ก็ว่าจะเลิกบุหรี่แล้วครับ” แต่ก็ไม่สามารถเลิกได้จริง เมื่อปี 2554 ช่วงที่เกิดน้ำท่วม อาการกำเริบหนักมากขึ้น มีอาการเหนี่อยหอบและไอมากขึ้น เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลบ่อยครั้ง 3 วันบ้าง 7 วันบ้าง รักษาอย่างต่อเนื่อง และยังไม่สามารถเลิกบุหรี่ได้

ดาวน์โหลดที่นี่…ฟรี Changes through CLT towards The Magic Care Model in COPD

ถอดบทเรียน ปืนไทย เทพมณฑา

ตำแหน่ง นายแพทย์ชำนาญการ สถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ

Photo by Rollnik on Unsplash

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here