การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน จังหวัดอุบลราชธานี

0
5281

 

 

พิธีกร

 

รพ.นาตาล จ.อุบลราชธานี ได้พัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ผลงานชิ้นนี้มีกระบวนการอย่างไร ประชาชนในพื้นที่เกิดความพึงพอใจมากน้อยแค่ไหนเราไปชมผลงานชิ้นนี้กันเลยครับ
พิธีกร สวัสดีครับ  อาจารย์ครับการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน จ.อุบลราชธานี งานวิจัยนี้มีเป้าหมายอย่างไรครับอาจารย์ครับ
 

ดร.จักรพงศ์ ปิติโชคโภคินท์

 

งานวิจัยนี้ก็คือ 1. มีเป้าหมายก็คือให้เกิดการมีส่วนร่วมของชุมชน ชุมชนในทีนี้ก็คือภาคีเครือข่าย ไม่ว่าจะเป็นตัวชุมชนหรือว่าองค์กรเอกชน ร่วมไปถึงบุคคลในชุมชนให้เกิดการมีส่วนร่วมกัน 2.ก็คือเพิ่มความพึงพอใจของตัวผู้รับบริการแล้วก็ของตัวเจ้าหน้าที่ สุดท้ายก็คือเพิ่มคุณภาพชีวิตของกลุ่มผู้สูงบอายุกลุ่มติดบ้านนั่นเอง
พิธีกร ณ ตอนนี้ รพ.นาตาลเองก็ได้ทำงานวิจัยขึ้นมาและได้นำมาใช้ด้วย หลังจากที่เราใช้แล้วเป็นยังไงครับอาจารย์
 

ดร.จักรพงศ์ ปิติโชคโภคินท์

 

ก็อุบัติการณ์ของการมีส่วนร่วมมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น แล้วก็อัตราความพึงพอใจก็มีแนวโน้มมากขึ้น ที่ส่งผลได้ดีที่สุดนะครับก็คือเรื่องของคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยของผู้สูงอายุที่ติดบ้านนั่นเองทำให้เกิดมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น แล้วก็ที่สำคัญที่สุดเรามีรูปแบบที่ชัดเจนแล้วก็เกิดการมีส่วนร่วมของแต่ละองค์กรครับมมมม่
พิธีกร คือก่อนหน้านี้เราก็มีรูปแบบแต่อาจจะยังไม่ชัดเจนมากนัก ตอนนี้เราก็ใช้หลักการทางการวิจัยเข้ามาเพื่อหารูปแบบที่เหมาะสม โดยให้ชุมชนเองเนี้ยมีส่วนร่วมกับการดูแลผู้สูงอายุในงานนี้ด้วย แล้วกระบวนการการพัฒนางานวิจัยชิ้นนี้มีกระบวนการอย่างไรครับอาจารย์
 

ดร.จักรพงศ์ ปิติโชคโภคินท์

 

กระบวนการก็เน้นก็ส่วนมากก็จะเริ่มต้นจากกระบวนการวิจัยก่อนก็จะใช้กระบวนการวิจัยแบบมีส่วนร่วม หลังจากนั่นก็จะเข้าสู่กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน โดยให้ชุมชนเริ่มต้นตั้งแต่มีการวางแผน การลงมือทำ การติดตามประเมินผล แล้วก็กลับเข้ามาสู่ในเรื่องของการวางแผนอีกครั้งหนึ่งเพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนนะครับ ส่วนมากกิจกรรมการวางแผนก็จะตอบสนองบริบทแล้วก็ทำให้เกิดการมีส่วนร่วมได้ดีขึ้นครับ อันนี้ก็มีกระบวนการที่ค่อยข้างสำคัญ ส่วนเรื่องของการวัดตัวชี้วัด การวัดคุณภาพชีวิตแล้วก็ความพึงพอใจ เราก็จะมีการเก็บเป็นระยะๆ
พิธีกร ก็คือเรียกได้ว่าในส่วนนี้เป็นการวิจัยที่มีการมีส่วนร่วมของชุมชน โดยชุมชนเนี้ยก็คือนักวิจัยด้วย เป็นคนที่ให้หัวข้อ ให้แนวคิด ให้วิธีการด้วย ก่อนที่จะมาสู่รูปแบบที่ชัดเจน ก็เรียกได้ว่า ภาครัฐ เอกชน แล้วก็ชุมชนทั้ง 3 ฝ่ายสอดประสานกันทำให้งานวิจัยงานนี้ออกมาประสิทธิภาพ แล้วคุณภาพของเราเป็นอย่างบ้างครับอาจารย์จากกราฟที่เรานำไปใช้
 

ดร.จักรพงศ์ ปิติโชคโภคินท์

 

จากผลของงานวิจัยเนี้ยส่วนมากก็จะเป็นผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน โดยอาศัยอยู่คนเดียวลำพัง หรือว่าอยู่กับลูกหลาน ก็จะพบในส่วนของอัตราการป่วยด้วยโรคเรื้อรังเป็นจำนวนมาก ส่วนก่อนหน้านี้คุณภาพชีวิตจะอยู่ในระดับต่ำแต่ว่าหลังจากมีการพัฒนาก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของกระบวนการก็เลยทำให้คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นแล้วก็อาจจะอาศัยเรื่องของการดูแลที่มีความเหมาะสมทั้งด้านร่างกาย จิตใจแล้วก็ด้านสังคมครับ เพิ่มมากขึ้น ทำให้เรื่องของความพึงพอใจเองนะครับ เรื่องของคุณภาพชีวิต แล้วก็เรื่องของการประเมินการมีส่วนร่วม จะมีแนวโน้มที่ดีมากขึ้น เป็นผลลัพธ์ที่ดี
พิธีกร เรียกว่าเป็นผลลัพธ์ที่ได้รับในทุกมิติที่สมควรจะได้รับ
พิธีกร ประโยชน์คุณค่าที่ได้รับจากงานวิจัยชิ้นนี้เกิดขึ้นกับใครบ้างครับอาจารย์
พิธีกร คุณผู้ชมครับ การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุในกลุ่มติดบ้านโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน แน่นอนนะครับว่าหากทุกส่วนงาน ทุกภาคี ทุกเครือข่ายได้สอดประสานร่วมกันทำงานแล้วแน่นอนนะครับว่าคุณภาพชีวิตที่ดีจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยและครอบครับ ชุมชนสังคมในทุกมิติครับสำหรับวันนี้ ต้องขอขอบพระคุณอาจารย์ สำหรับข้อมูลนะครับ ขอบคุณครับ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here