เปลี่ยนมุมมอง พลิกชีวิต เปลี่ยนวิธีคิด พลิกคุณภาพงาน

0
3284
เปลี่ยนมุมมอง พลิกชีวิต เปลี่ยนวิธีคิด พลิกคุณภาพงาน
เปลี่ยนมุมมอง พลิกชีวิต เปลี่ยนวิธีคิด พลิกคุณภาพงาน

เปลี่ยนมุมมอง พลิกชีวิต เปลี่ยนวิธีคิด พลิกคุณภาพงาน

จุดร่วมของการร่วมมือกันทำงานของบุคลากรในทีมสหวิชาชีพคือ “ผู้ป่วย” เราทำงานทุกอย่างเพื่อผู้ป่วย เวลาที่เราให้บริการผู้ป่วย จะมีกี่มากน้อยที่เราจะนำผู้ป่วยมาเป็นจุดศูนย์กลางอย่างแท้จริง? เราเคยรับฟังเสียงสะท้อนของผู้ป่วยแล้วนำปัญหาที่แท้จริงมาแก้ไขหรือไม่?

เราควรให้บริการโดยมุ่งเน้นที่การตอบโจทย์ที่ตั้งไว้ มีประโยชน์อย่างแท้จริงกับผู้รับบริการ และสามารถนำ ไปต่อยอดได้

การเปลี่ยนแปลง ทำไมเราต้องเปลี่ยนแปลง? การเปลี่ยนแปลงมีความสัมพันธ์กับเราอย่างไร? เริ่มต้นที่มุมมองและการตัดสินใจภายใต้เงื่อนไขเดียวกัน แต่อาจนำไปสู่การรับข้อมูล หรือการตัดสินใจที่แตกต่างกัน เปรียบเสมือนการหมุนวงล้อคุณภาพ (PDCA) จะทำอย่างไรให้วงล้อหมุนได้อย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงกระบวนการรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยของทีมสหวิชาชีพ เวลาที่ให้บริการโดยเฉพาะด้านกายภาพบำบัด เมื่อพูดถึงผลลัพธ์การให้บริการแล้ว เรามักจะวัดผลลัพธ์ในเรื่องของการลดปวด เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ แต่จะมีตัวชี้วัดใดที่สะท้อนถึงคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยหลังจากได้รับการบริการ

จุดร่วมของการร่วมมือกันทำงานของบุคลากรในทีมสหวิชาชีพ คือ “ผู้ป่วย” เราทำงานทุกอย่างทำเพื่อผู้ป่วย เวลาที่เราให้บริการผู้ป่วย จะมีกี่มากน้อยที่เราจะนำผู้ป่วยมาเป็นจุดศูนย์กลางอย่างแท้จริง? เราเคยรับฟังเสียงสะท้อนของผู้ป่วยแล้วนำปัญหาที่แท้จริงมาแก้ไขหรือไม่?

การให้ผู้รับบริการเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ ย่อมส่งผลดีต่อการรักษา หากเรายังไม่เปลี่ยนมุมมอง และพัฒนารูปแบบการให้บริการที่เหมาะสม เราจะติดอยู่ในกับดักของวิชาชีพเช่นเดิม เราควรให้บริการที่เน้นประโยชน์กับผู้รับบริการอย่างแท้จริง และสามารถนำไปต่อยอดได้

ผลลัพธ์ของการให้การบริการที่เรามักคำนึงถึง คือ ความปลอดภัย ผลทางคลินิก ความพึงพอใจของผู้รับบริการ ค่าใช้จ่าย การแก้ไขความบกพร่อง (Impairment) ต่างๆ เช่น ความรู้สึกเจ็บปวด การยึดติดของข้อต่อ การอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ในการให้บริการทางกายภาพบำบัด ควรมีการคำนึงถึงความจำกัดในการทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน และการเข้าร่วมกิจกรรมในสังคมของผู้รับบริการด้วย มีผู้ให้บริการกี่คน ที่ตอบสนองต่อความต้องการของผู้ป่วย เราต้องเปลี่ยนมุมมองเพื่อไปให้ถึงการแก้ไขปัญหาของผู้ป่วย ดูแลรักษาให้ผู้ป่วยสามารถกลับไปใช้ชีวิตหรือประกอบอาชีพได้ตามปกติ เราพึงเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วมหรือเป็นศูนย์กลางของการให้บริการ นอกจากนี้ ควรคิดจากปัญหาที่พบว่า สามารถนำไปต่อยอดอะไรได้บ้างในการทำงานแบบที่เน้นการใช้ชีวิตอยู่ในสังคม การยอมรับในสังคม และการมีตัวตนของผู้รับบริการ

การนำผู้ป่วยและญาติเป็นศูนย์กลางของการให้บริการ โดยความร่วมมือนั้นมีหลายระดับ คือ                   1. Conversation – พูดคุย เป็นด่านแรกที่ต้องทำ เพื่อซักประวัติและตรวจร่างกาย                                    2. Communication – สื่อสาร แบบเชิงลึก และรับฟัง เข้าถึงสิ่งที่ผู้รับบริการต้องการ                                3. Coordination – ประสานงาน ไม่ใช่แค่การส่งคำปรึกษา แต่หมายถึงสมดุลของผลประโยชน์ของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง                                                                                                                        4. Cooperation – ร่วมมือ ตั้งเป้าหมายการรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพร่วมกันระหว่างบุคลากรในทีมสหวิชาชีพ    5. Collaboration – ร่วมใจกันทำงาน

ทุกส่วนนี้ ต้องมีความเชื่อใจ (Trust)

ของทั้งผู้รับบริการและผู้ให้บริการเป็นฐาน

ดาวน์โหลดที่นี่…ฟรี เปลี่ยนมุมมอง พลิกชีวิต เปลี่ยนวิธีคิด พลิกคุณภาพงาน

ถอดบทเรียน ร.ท.อธิภัทร พรมกลาง

ตำแหน่ง นักกายภาพบำบัด โรงพยาบาลค่ายสรรพสิทธิประสงค์

ภาพโดย Gerd Altmann จาก Pixabay

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here