Collaboration for 2P Safety Innovation (สรพ. และสวทช.)

0
2419
Collaboration for 2P Safety Innovation
Collaboration for 2P Safety Innovation

Collaboration for 2P Safety Innovation (สรพ. และสวทช.)

ความร่วมมือระหว่างสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (สรพ.) และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ในการขับเคลื่อน “โครงการความร่วมมือพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรมเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยและบุคลากรสาธารณสุข” โดยการรับสมัครรพ.ที่มีความสนใจที่จะแก้ปัญหาอุบัติการณ์ในรพ.ที่สัมพันธ์กับ 2P Safety ส่งเรื่องราวปัญหา การวิเคราะห์ และแนวทางแก้ไข ผ่านการตัดเลือกเข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการ 2P Safety Tech Hackathon Camp เพื่อพัฒนานวัตกรรมร่วมกับนวัตกร ที่ได้รับการสนับสนุนจาก สวทช. โดยหลังจากนั้น รพ.ได้กลับไปพัฒนา ชิ้นงาน เพื่อนำเสนอ และประกวด โดยผลงานที่สามารถนำมาใช้ได้จริง จะได้รับการสนับสนุนให้เกิดการนำสู่การปฏิบัติในวงกว้าง ของรพ. 2P Safety Hospital

ร่วมรับฟังผลงาน 5 รพ.ที่ผ่านการคัดเลือก ว่าเป็นผลงานที่นำแนวคิด Human Factor Engineering มาใช้ และสามารถทำได้จริง มีคุณค่าและประโยชน์ในการทำให้ 2P Safety โดยฟังคำแนะนำและข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งจาก สวทช.และผู้เชี่ยวชาญงานวิจัยและงานคุณภาพจากระบบบริการสาธารณสุข

การแพทย์ นวัตกรรม สู่ Start up

  1. ทำข้อมูล อุบัติการณ์ หาแนวทางแก้ปัญหาอย่างไร ให้ชัดเจน
  2. ใช้แนวคิด human factor engineering ลดข้อจำกัดของคน
  3. วิเคราะห์ปัญหาตาม 2P ให้ชัดเจน ว่าเป็นประเด็นอะไร
  4. จินตนาการว่า จะแก้ปัญหาอย่างไร ไปให้สุด แล้วเลือกหนทางที่เป็นไปได้มากที่สุด
  5. หาผู้ช่วย ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะเรื่อง บางเรื่องไม่ต้องทำเอง
  6. หากมีประเด็นที่สนใจอยากพัฒนา ส่งแนวคิดให้ สรพ. คัดเลือก ผลงาน ในการอบรมครั้งต่อไป สรพ. และสวทช. เปิดอบรมเชิงปฏิบัติการ 2P-Hackathon เพื่อ design thinking แล้วเขียน business canvas นำไปสู่การสร้างนวัตกรรม สวทช.
  7. นวัตกรรม ต้องความพยายามเชื่อโยง กับหน่วยงานอื่น จับประเด็นความสนใจให้ชัดเจน ทำที่ละอย่าง เมื่อสำเร็จแล้วต่อยอดขยายแนวคิด
  8. สวทช. สนับสนุน ผู้ประกอบการ และอื่นๆ ในวงการสาธารณสุข มีโอกาสในการพัฒนาได้ วงแคบแต่ใช้งานได้กว้าง
  9. สวทช. มีเงินทุน นักลงทุน และนักวิจัย

ดาวน์โหลดที่นี่…ฟรี Collaboration for 2P Safety Innovation 

ถอดบทเรียน พีรพงศ์ ตั้งจิตเจริญ

ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ (กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยห้องผ่าตัด) โรงพยาบาลปทุมธานี

Photo by Science in HD on Unsplash

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here