Effectiveness of Empathy and Humanity Communication

0
216

ความหมายของ Empathy อาจแปลได้ตรงกับคำขวัญของบุคลากรสาธารณสุขไทย “อตฺตานํ อุปมํ กเร” ซึ่งหมายถึง เอาใจเขามาใส่ใจเรา และสอดคล้องกับพระราโชวาทของ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก (พระราชบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันของประเทศไทย) ที่กล่าวว่า “ฉันไม่ต้องการให้เธอเป็นหมอเท่านั้น แต่ฉันต้องการให้เธอเป็นมนุษย์ด้วย”  empathy เป็นคุณสมบัติที่มีในมนุษย์เท่านั้น

เรื่อง empathy สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ โดยเฉพาะหมออาจเป็นเรื่องยาก เนื่องจากมีปัจจัยที่ส่งต่อการมี empathy ของแพทย์ ได้แก่

  1. ชนชั้นภายใต้โครงสร้างสังคมไทย หมอ และทันตแพทย์ อยู่ในระดับชนชั้นมั่นคง (stability) และ ชนชั้นมั่นคงอย่างยั่งยืน (stability+)
  2. ความเหลื่อมล้ำของระบบประกันสุขภาพ เป็นตัวกำหนดการมีปฏิสัมพันธ์ของผู้ป่วยและบุคลการทางการแพทย์
  3. ลัทธิบูชาหมอ ที่มีสืบเนื่องมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน สร้าง identity ให้กับวิชาชีพหมอ ที่ไม่พบในวิชาชีพอื่น และหมอมักอยู่ในวงการสำคัญของประเทศ เช่นแวดวงการเมือง การศึกษา เป็นต้น
  4. Medical gaslighting ความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์กับคนไข้ ภาวะที่แพทย์ตัดสินผู้ป่วยที่อาจนำไปสู่การประเมินสถานการณ์ที่ต่ำกว่าความเป็นจริง การละเลยขั้นตอนที่พึงกระทำรวมถึงการวินิจฉัยที่ผิดพลาดได้ หมอจะคิดว่าผู้ป่วยกังวลไปเอง คิดมากเกินไป โดยไม่ตอบสนองกับความกังวลของผู้ป่วย และเพิกเฉยกับอาการที่ผู้ป่วยบอกเล่าให้ฟัง อาจหมายความไปถึงการขาด empathy ต่อผู้ป่วย

      ในสังคมไทย การรับรู้การให้ความหมายทางวัฒนธรรม ที่ให้คุณค่ากับหมอสูงมาก การคาดหวังให้หมอมี empathy จึงเป็นเรื่องยาก

การสำรวจความรู้สึกของผู้ป่วยในกลุ่มประชากรวัย millennial ส่วนใหญ่รู้สึกว่าไม่ได้รับความสนใจจากแพทย์  เมื่อผู้ป่วยรู้สึกไม่ได้รับการดูแลใส่ใจจากการพบแพทย์ ตามความคาดหวัง จึงทำให้เลือกรับข้อมูลจากทางอินเตอร์เน็ตช่องทางต่าง ๆ แทนการมาพบแพทย์

การรวบรวมข้อมูลจากงานวิจัยทั้ง meta analysis และ RCT  พบประโยชน์ที่ได้รับจากการมี empathy ใน health communication ทำให้เกิด better care ผู้ป่วยมีความพอใจ มีความหวังและมีระดับความไว้วางใจเพิ่มขึ้น, better health ผู้ป่วยให้ความร่วมมือในการรักษามากขึ้น ลดความเจ็บปวด ลดอัตราการเสียชีวิต และ better workplace ผู้ให้บริการทางการแพทย์มีชีวิตดีขึ้น ทำงานมีความสุขมากขึ้น  เมื่อผู้รับบริการมีความไว้วางใจในบุคลากรทางการแพทย์ จะสามารถเพิ่ม patient enablement และลดการเชื่อ fake new ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ เนื่องจากจะต้องการรับฟังข้อมูลจากบุคลากรทางการแพทย์ที่ตนไว้วางใจมากกว่า

จุดเริ่มต้นของ empathy ต้องเริ่มจาก มองคนก่อนมองโรค  การไม่ด่วนตัดสิน สมการของ empathy ได้จากการรวมกันของ active listening ฟังอย่างตั้งใจ กับ reflection ที่เน้นความรู้สึกของผู้ป่วยมากกว่าเนื้อหา รวมถึงการใช้ non-verbal communication เป็นองค์ประกอบในการสื่อสาร ได้แก่ eye contact, facial expression, posture หรือ tone of voice จะนำไปสู่ better communication  ในการสร้างให้มี empathy เกิดขึ้น ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1) การมองต่างมุม มองจากมุมอื่น หรือสมมติว่าเราอยู่ในเหตุการณ์นั้น  2) การไม่ตัดสิน ไม่ด่วนสรุป พยายามเข้าใจถึงวิถีชีวิตของเขาว่าเป็นอย่างไร  3) รับรู้ว่าเขารู้สึกอย่างไร และ 4) แสดงให้เห็นว่าเราเข้าใจเขา

“การมี empathy  คือ การแชร์ความเป็นมนุษย์ กับคนที่เรามีปฏิสัมพันธ์ด้วย”

 ผศ.ดร.ภญ.ดารณี เชี่ยวชาญธนกิจ ผู้ถอด/สรุปบทความ

ครีเอทีฟคอมมอนส์
งานนี้ใช้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ แบบแสดงที่มาไม่ใช้เพื่อการค้า ไม่คัดแปลง

 

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here