Primary Care Challenge in 2030

0
650

     ในบริบทการบริการปฐมภูมิ (Primary Care) ในประเทศไทย ขณะนี้เรากำลังเข้าสู่ช่วงการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ กล่าวคือ การเปลี่ยนกระทรวงในการดูแลระบบบริการปฐมภูมิ จากกระทรวงสาธารณสุข เป็น กระทรวงมหาดไทย หรืออยู่ในความดูแลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 

     การเปลี่ยนแปลงนี้ทำให้เราอาจต้องทำความเข้าใจความหมายของบริการปฐมภูมิกันใหม่ มุมมองใหม่ที่ได้รับการเสนอในการอภิปรายครั้งนี้ คือระบบบริการปฐมภูมิ จะต้องไม่ใช่ระบบบริการที่สามารถดูแลโรคง่าย ๆ แต่ต้องมีการสร้างเสริมสุขภาพ และซ่อมสุขภาพให้แก่ชุมชน โดยร่วมกับชุมชนและภาคีเครือข่ายเพื่อนำไปสู่สุขภาวะที่ดีของชุมชน

     ความหมายใหม่นี้ทำให้มุมมองเกี่ยวกับการดูแลปฐมภูมิเปลี่ยนไปมาก ภารกิจที่มากขึ้น การมี่ส่วนร่วมที่มากขึ้น สามารถนำไปสู่สิ่งใหม่ ๆ ที่ท้าทายได้ คำถามป้อนกลับสู่ทาง สรพ. คือ ทาง สรพ. จะมีการวัดประเมินคุณภาพอย่างไรในระบบบริการที่ไม่ได้มีเพียงแต่การดูแลรักษา แต่มีการส่งเสริม และซ่อมในกระบวนการบริการด้วย และกระบวนการวัดประเมินคุณภาพดังกล่าว จะทำให้สุขภาวะของชุมชนดีขึ้นได้อย่างไรบ้าง

     นอกเหนือจากเรื่องความหมายและเป้าหมายของระบบบริการปฐมภูมิใหม่แล้ว ภายในการอภิปรายยังมีการเน้นกระบวนการที่สำคัญสำหรับระบบบริการปฐมภูมิ 2 กระบวนการได้แก่

  1. การมีส่วนร่วมของชุมชน
  2. การมีภาคีเครือข่ายในการดำเนินงาน

     เนื่องจากทั้ง 2 กระบวนการเป็นการสร้างความมีส่วนร่วมจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียคือ ตัวชุมชนเอง และหน่วยงานที่มีภารกิจในการดำเนินงานต่าง ๆ เพื่อชุมชน ดังในตัวอย่างจากวิทยากรจาก สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) ที่เป็นองค์กรเพื่อการพัฒนาชุมชนได้มีส่วนร่วมในการดำเนินการในชุมชน เช่น การจัดทำสวัสดิการชุมชน การมีภาคีเครือข่ายเช่นนี้จะช่วยให้การปฏิบัติงานของการบริการปฐมภูมิเป็นไปตามเป้าหมายได้มากขึ้น

     หากให้เปรียบเทียบ Primary Care ในความหมายใหม่ กับการบริการสุขภาพแบบที่คุ้นเคย คงเปรียบเสมือนการดูแลคนไข้โดยเน้นคนไข้เป็นศูนย์กลาง (Patient-Centered Care) แต่ในบริบทของ Primary Care ผู้ป่วยรายบุคคลจะเปลี่ยนเป็นชุมชน หรืออาจจะเรียกชื่อเล่นได้ว่า Community-Centered Care ดังนั้นสิ่งที่ต้องทำคือการนำชุมชนให้มีส่วนร่วม เพื่อสุขภาวะของชุมชนเอง 

     สุดท้ายนี้แม้ว่า Primary Care ในบริบทใหม่ ที่มุ่งเน้นเพื่อสุขภาพชุมชน เพิ่มมากขึ้นนอกเหนือจากการดูแลรักษาโรคง่าย ๆ อย่างไรก็ดีการบริการนั้นต้องตั้งอยู่ในกรอบของคุณภาพ สิ่งนี้จะเป็นความท้าทายของ สรพ. ต่อไป ว่าเราจะวัดคุณภาพของการบริการที่แตกต่างกันนี้ได้อย่างไร ?

 

นศพ. พีรภาส สุขกระสานติ ผู้ถอดความ

ครีเอทีฟคอมมอนส์
งานนี้ใช้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ แบบแสดงที่มาไม่ใช้เพื่อการค้า ไม่คัดแปลง

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here