วันอังคาร, พฤษภาคม 20, 2025
business continuity management
     วันนี้เคล็ดลับงานคุณภาพ  ชวนคิด ชวนมองชวนมาเรียนรู้ เรื่องBCM เพื่อความอยู่รอดอย่างยั่งยืน กันครับ  BCM จะเป็นเรื่องใกล้ตัวมากขึ้นเมื่อเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 Business Continuity Management เป็นเรื่องที่อยู่ในมาตรฐาน HA TQA MBNQA สำหรับมาตรฐาน HA อยู่ใน Part I -6.2 ข. (2) ที่กล่าวว่า..องค์กรมีการเตรียมความพร้อมของระบบงานและสถานที่ทำงานต่อภัยพิบัติหรือภาวะฉุกเฉิน  โดยคำนึงถึงการป้องกัน การบริหารจัดการ ความต่อเนื่องของการให้บริการ BCM ตาม ISO 22301 หมายถึง กระบวนการบริหารโดยองค์รวม ที่ระบุถึงภัยอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับองค์การ และผลกระทบ ของภัยอันตรายที่มีต่อการปฏิบัติการทางธุรกิจ รวมถึงให้แนวทางสำหรับการสร้างความยืดหยุ่นให้กับองค์กร สำหรับการตอบสนองอย่างมีประสิทธิผลในการปกป้องผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญ รวมถึงชื่อเสียง ตราสินค้า และกิจกรรมที่สร้างคุณค่า ทั้งนี้การบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ จะประกอบด้วยการจัดการสำหรับการฟื้นคืนสภาพ หรือความต่อเนื่องของกิจกรรมธุรกิจ เมื่อเกิดการหยุดชะงักทางธุรกิจ และการบริหารโปรแกรมโดยรวมผ่านการฝึกอบรมการฝึกซ้อม และการทบทวน เพื่อให้มั่นใจว่าแผนความต่อเนื่องทางธุรกิจยังคงเป็นปัจจุบัน และทันสมัย BCM ทำให้มั่นใจว่าเมื่อมีเหตุการณ์ไม่ปกติแล้ว รพ.สามารถดำเนินการให้องค์กรบรรลุเป้าหมายได้ ซึ่ง รพ. ถ้าจัดทำและนำมาใช้ประโยชน์ จะทำให้เกิดความมั่นใจทั้งเจ้าหน้าที่ ลูกค้า และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย BCM สัมพันธ์กับ Risk...
COVID-19 กับ การจัดการสิ่งแวดล้อมในโรงพยาบาล
COVID-19 กับ การจัดการสิ่งแวดล้อมในโรงพยาบาล แลกเปลี่ยนความรู้เรื่องการจัดการสิ่งแวดล้อมในโรงพยาบาลเพื่อรองรับ COVOD-19 อาจารย์เชาวลิต เมฆศิริกุล วิศวกรผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยสิ่งแวดล้อมและอากาศ และ อาจารย์โกเมธ นาควรรณกิจ รองผู้อำนวยการ สรพ. ได้แลกเปลี่ยนความรู้เรื่องการจัดการสิ่งแวดล้อมในโรงพยาบาลเพื่อรองรับ COVOD-19 ใน Facebook Live ของ สรพ. เมื่อ 11 มีนาคม 2563 มีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้ 1. หลักการจัดการการไหลเวียนของอากาศ - ให้อากาศไหลไปในทิศทางเดียว โดยใช้พัดลมขนาดใหญ่เป่าเพื่อบังคับทิศทางลมให้อากาศไหลจากที่สะอาดมากไปที่สะอาดน้อย ดึงอากาศเสียออกทางด้านข้างหรือด้านหลังผู้ป่วย จัดแบ่งโซนบริการให้เหมาะสม - หลีกเลี่ยงการใช้พัดลมที่ติดตั้งที่เพดาน เพราะจะทำให้เชื้อมีโอกาสฟุ้งกระจายได้นานขึ้น - ทางที่อากาศไหลออกในระยะสิบเมตรจะต้องไม่มีผู้คนสัญจรหรือมีสิ่งกีดขวาง แต่ถ้าพื้นที่ภายนอกแออัด ให้ปล่อยอากาศเสียขึ้นไปในระดับที่สูงกว่า 3 เมตร เพื่อให้ละอองฝอยเจือจางในอากาศก่อนตกสู่พื้น หากจะติดตั้งเครื่องกรองอากาศหรือกำจัดเชื้อในอากาศในโซนท้ายลม ต้องมีงบประมาณที่มากพอและต้องมีการบำรุงรักษาที่ดีเพื่อป้องกันแผ่นกรองตันในระยะเวลาอันสั้น 2. จุดคัดกรองผู้ป่วย - ควรให้บริการแบบ One Stop Service ระยะห่างจากจุดคัดกรองถึงปากทางเข้าอาคารบริการปกติไม่น้อยกว่า 5 - 10 เมตร - ใช้การระบายอากาศโดยวิธีธรรมชาติ ตำแหน่งที่ตั้งของจุดคัดกรองให้อยู่ทิศใต้ลม ธงเป็นเครื่องมือที่เรียบง่ายในการใช้สังเกตทิศทางลม กรณีลมพัดหวนไปมา ให้ดูทิศทางที่ลมพัดไปในสัดส่วนมากที่สุด หากจุดคัดกรองต้องตั้งอยู่ทิศเหนือลม ให้ติดตั้งฉากบังลม เพื่อบังคับให้ลมเปลี่ยนทิศทาง 3....
สถานการณ์สร้างการเปลี่ยนแปลง การใช้วิกฤตเป็นโอกาส เคล็ดลับคุณภาพ วันนี้ เสนอ ประเด็น "ประสบการณ์การดูแลผู้ป่วย COVID-19 และการบริหารจัดการในระดับ รพช." เป็นประสบการณ์จากท่าน ผอ.รพ.ชุมชน ที่ผจญสถานการณ์ COVID-19 คนละรูปแบบ โรงพยาบาลสันกำแพง รพ.ที่ถูกเลือกให้เป็นโรงพยาบาลโควิดของจังหวัดเชียงใหม่ และ โรงพยาบาลจะนะ จ.สงขลา รพ.ที่ต้องดูแลผู้ป่วยโควิด 6 รายแบบกะทันหันในขณะที่ต้องดูแลคนไข้โรคอื่นด้วย ประสบการณ์ของรพ.สันกำแพง นพ.ณรงค์เดช พิพัฒน์ธนวงศ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสันกำแพง ที่เริ่มจาก คำถามที่ว่า ทำไม่ต้องเป็นเรา? ทำไม รพ.สันกำแพงต้องเป็น Cohort hospital เป็นคำถามที่เกิดขึ้นในใจของทุกคนในรพ. ตั้งแต่ผู้อำนวยการ รพ. บุคลากรไปจนถึงชุมชน แต่พอคำตอบที่ได้รับ จากจังหวัด ด้วยเหตุผลที่ทุกคน ยอมรับว่า สันกำแพงมีความเหมาะสมจาก 1) ชัยภูมิที่ตั้งเหมาะสม ไม่ไกลจากรพ. นครพิงพ์และมหาราชนครเชียงใหม่ ที่จะส่งต่อผู้ป่วยมาดูแล 2.) เป็นรพ.ที่พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง เพราะจากบทพิสูจน์ในอดีต รพ.เคยถูกมอบหมายให้ดูแลรักษาคนไข้มะเร็งเป็นที่ให้ยาเคมีบำบัดสามารถปรับกระบวนงานและบริหารบุคลากรจนสำเร็จ และ 3. ผู้บริหารมีเหตุผลในการคัดเลือกที่มาจากนโยบายของประเทศ ทั้ง 3 ข้อนี้ทำให้ รพ.สันกำแพงพร้อมใจร่วมด้วยช่วยกัน ประเด็นสำคัญที่ผอ.รพ.สันกำแพง ดำเนินการ ในการตั้ง...
เคล็ดลับคุณภาพ ชวนเรียนรู้เรื่อง หน้ากากอนามัย คำแนะนำในการใช้หน้ากากอนามัยประเภทต่างๆ อ้างอิงจาก นพ.ธนรักษ์ ผลิพัฒน์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรคในการสื่อสารทาง Facebook Live ของ สรพ. เมื่อ 11 มีนาคม 2563 มีสาระสำคัญ ดังนี้ 👨🏿‍🔬 บุคลากรทางการแพทย์ที่ดูแลผู้ป่วย COVID-19 ต้องใช้หน้ากาก N-95 🦸‍♀️บุคลากรที่ดูแลผู้ป่วยทั่วไปให้ใส่ “หน้ากากอนามัย” หรือ Surgical mask 🤱 ประชาชนทั่วไปใช้ แนะนำให้ใช้ “หน้ากากผ้า” กรณีต้องเข้าไปสถานที่แออัด 🤱 ผู้ป่วยควรใส่ “หน้ากากอนามัย” เพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อ ควรเลือกหน้ากากอนามัยที่กระชับใบหน้า   ภาพโดย Alexas_Fotos จาก Pixabay
แนวทางการทำความสะอาดสิ่งแวดล้อมในสถานการณ์ COVID-19
เชื้อ COVID 19 สามารถคงอยู่ในแวดล้อมต่างๆ ได้นานหากไม่มีการทำความสะอาด จึงจำเป็นต้องรู้จักวิธีลดการปนเปื้อนเชื้อและการใช้สารทำความสะอาดหรือน้ำยาฆ่าเชื้อให้เหมาะสมและ contact timeตามชนิดของน้ำยาฆ่าเชื้อเพื่อประสิทธิภาพสูงสุด ดังนี้ สารทำความสะอาดและน้ำยาฆ่าเชื้อ 1.ใช้แอลกอฮอล์70-90% (ประมาณ 30 วินาที) สำหรับพื้นผิวของวัตถุต่างๆ ที่เป็นโลหะ 2.ใช้ Hydrogen peroxide ในความเข้มข้นต่างๆ ใช้สำหรับทำความสะอาดพื้นผิวได้ ดังนี้ ใช้น้ำยา Hydrogen peroxide 0.05% (ประมาณ 1 นาที) สำหรับพื้นผิวทั่วไป และ ใช้น้ำยา Hydrogen peroxide ความเข้มข้น 0.5% สำหรับทำความสะอาดพื้นที่ปนเปื้อนน้ำมูก/น้ำลาย/เสมหะ/อุจจาระ/ห้องน้ำ โถส้วม ราดทิ้งไว้อย่างน้อย 15-30 นาที 3. สารละลายโซเดียมไฮโปคลอไรต์ (NA Hypochlorilt) ความเข้มข้น 0.01% ฆ่าเชื้อได้ในเวลาประมาณ 1 นาทีและในความเข้มข้นต่างๆ สามารถใช้สำหรับทำความสะอาดพื้นผิวได้ ดังนี้ - สารละลายโซเดียมไฮโปคลอไรต์ (0.05%) สำหรับถูพื้นห้อง - สารละลายโซเดียมไฮโปคลอไรต์ (0.5%) สำหรับทำความสะอาดพื้นที่ปนเปื้อนสารคัดหลั่งหรือในห้องน้ำ โดยราดทิ้งไว้อย่างน้อย 15-30 นาที 4. น้ำยา Providine...
เคล็ดลับงานคุณภาพวันนี้ ขอเชิญมาร่วมเรียนรู้ เรื่อง " บทบาท ICN ในสถานการณ์ COVID-19 ประสบการณ์จากสถาบันบำราศนราดูร " บทบาทหน้าที่ ICN โดยทั่วไป ได้แก่ เฝ้าระวังการติดเชื้อผู้ป่วยทุกรายในโรงพยาบาล เฝ้าระวังการติดเชื้อเฉพาะผู้ป่วยกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง ดำเนินการและกำกับดูแลระบบการเฝ้าระวังและควบคุมการแพร่กระจายเชื้อในรพ. สอบสวนและควบคุมการระบาดของการติดเชื้อ/โรคอุบัติใหม่ อุบัติซ้ำ นอกจากนี้ในสถานการณ์การแพร่ระบาด ICN ปรับมาตรการในการดูแลบุคลากรและประคับประคองจิตใจ เพิ่มเติมดังนี้ - มีการปรับนโยบายการเฝ้าระวังในเชิงรุก กำหนดมาตรการดูแลสุขภาพ สวัสดิภาพความปลอดภัยของบุคลากรทั้งร่างกาย และจิตใจ เอาใจใส่ให้กำลังใจบุคลากรและครอบครัว - สนับสนุนอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (Personnel protective equipment) อย่างเพียงพอต่อการใช้งาน เหมาะสมกับลักษณะของกิจกรรม พร้อมการฝึกอบรมให้เกิดความมั่นใจอย่างสม่ำเสมอ - ติดตามการปฏิบัติงานของบุคลากรเพื่อป้องกันการติดเชื้ออย่างเข้มงวด ใช้ระบบ Buddy - มี safety officer ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญเชี่ยวชาญในระบบป้องกันการติดเชื้อ สามารถให้คำแนะนำ จัดการสถานการณ์ไม่ปกติ และ ช่วย Buddy ในการกำกับการปฏิบัติ - ให้ความรู้ ฝึกทักษะแก่บุคลากรอย่างครอบคลุมที่เกี่ยวกับการป้องกัน การเฝ้าระวัง การทำความสะอาด ช่องทางการแพร่กระจายเชื้อเพิ่มเติม เพื่อเน้นย้ำในการปฏิบัติตามหลักการ ลดความตื่นตระหนก เกิดความเข้าใจ - รายงานความคืบหน้าของสถานการณ์อยู่เสมอ รวมถึงทำให้ครอบครัวของบุคลากรเกิดความเชื่อมั่นใน ทีมงานที่ดูแลความปลอดภัยแก่บุคลากร - ออกแบบการจัดอัตรากำลังที่เพียงพอ ลดความเหนื่อยล้า...
การดูแลผู้ป่วย COVID-19
  วันนี้เคล็ดลับงานคุณภาพ มีเรื่องการดูแลผู้ป่วย COVID-19 ที่มีอาการไม่มากที่บ้านของตนเอง  มาให้เรียนรู้กันครับ ถ้าการระบาดของ COVID-19 ขยายตัวอย่างรวดเร็ว คงมีสักวันหนึ่งที่เตียงและบุคลากรทางการแพทย์จะมีไม่เพียงพอที่จะดูแลผู้ป่วย COVID-19 ทุกคนที่โรงพยาบาล และจะทำให้ผู้ป่วยที่มีอาการไม่มากจำเป็นต้องได้การดูแลที่บ้านของตนเอง องค์การอนามัยโลกได้ออกคำแนะนำเมื่อ 17 มีนาคม 2563 เพื่อให้การเกิดการจัดการที่เป็นระบบในการดูแลผู้ป่วย COVID-19 ที่บ้านของตนเอง สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้ 1. การเตรียมบ้านผู้ป่วย ยึดหลัก isolation with good ventilation คือ ผู้ป่วยควรอยู่ในห้องที่แยกจากคนอื่นในบ้าน มีอากาศถ่ายเทดี จำกัดพื้นที่ที่ต้องใช้สอยร่วมกับคนอื่น และแยกสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ เป็นส่วนตัว ไม่ใช้จาน ช้อน แก้วน้ำ ผ้าเช็ดตัว เสื้อผ้า ปะปนกับคนอื่น 2. การเตรียมความพร้อมของผู้ป่วยและผู้ที่อยู่ในบ้าน เมื่อกลับถึงบ้าน ทั้งผู้ป่วยและผู้ที่อยู่ในบ้านต้องใส่หน้ากากอนามัยทางการแพทย์เพื่อป้องกันสารคัดหลั่งจากตัวผู้ป่วย มีการล้างมือเมื่อมีการเตรียมอาหาร รับประทานอาหาร และเข้าส้วม ไม่นำมือมาจับบริเวณใบหน้าโดยไม่ล้างมือก่อน และมีความรู้ในการใช้น้ำยาฆ่าเชื้ออย่างถูกต้อง 3. การทำความสะอาด ของใช้ผู้ป่วยล้างด้วยสบู่และน้ำ พื้นและผิวเฟอร์นิเจอร์ในห้องที่ผู้ป่วยพักมีการทำความสะอาดบ่อย ๆ ห้องน้ำที่ผู้ป่วยใช้มีการทำความสะอาดอย่างน้อยวันละครั้งด้วยสบู่หรือน้ำยาซักฟอก แล้วตามด้วย 0.5% sodium hypochlorite เสื้อผ้าผู้ป่วย ถ้าเป็นไปได้ควรซักในน้ำร้อน 60 – 90...
            วันนี้เคล็ดลับงานคุณภาพ ชวนมาเรียนรู้ และเตรียมความพร้อมของโรงพยาบาล เพื่อรับมือ COVID-19 การเตรียมความพร้อมโรงพยาบาล เพื่อรับมือกับ COVID-19 พญ.นฤมล สวรรค์ปัญญาเลิศ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากกรมการแพทย์ ได้แลกเปลี่ยนความรู้เรื่องการเตรียมความพร้อมโรงพยาบาล เพื่อรับมือกับ COVID-19 ใน Facebook Live ของ สรพ. เมื่อ 13 มีนาคม 2563 มีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี 1. จัดตั้ง Acute respiratory Infection (ARI) Clinic สำหรับการตรวจผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจ 2. บูรณาการความพร้อมของเตียงในทุกภาคส่วน เชื่อมโยงงานเพื่อรองรับผู้ป่วย 3. เพิ่มปริมาณเตียงรองรับผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อ โดยจัดเป็น Cohort Ward 4. จัดทำแนวทางการวินิจฉัยและรักษาร่วม 5. สำรวจและสำรอง PPE 6. เตรียมจัดตั้งโรงพยาบาลสนาม กรณีมีผู้ป่วยจำนวนมากการจัดการผู้ป่วย PUI1. ให้ผู้ป่วยอยู่ในบริเวณที่จัดไว้ สวมหน้ากากอนามัย 2. หากเป็นผู้ป่วยมีข้อบ่งชี้เป็นผู้ป่วยใน ให้อยู่ห้อง isolation room/ single room ไม่จำเป็นต้องเป็น negative pressure room 3. บุคลากรสวม PPE ตามความเหมาะสม 4. หลีกเลี่ยงหัตถการประเภทที่ทำให้เกิด aerosol เช่น...
เคล็ดลับงานคุณภาพ วันนี้ชวนมาเรียนรู้ เรื่อง การจัดการรพ.ภายใต้สถานการณ์การระบาดของ COVID-19 “ฝากถึงบุคลากรสาธารณสุขว่า ไม่มีใครรู้ว่าพวกท่านเป็นวีรบุรุษ แต่เราเรียกกันเองว่าเป็น มดงานนิรนาม เราไม่ได้ทำเพื่อชื่อเสียงหน้าตา แต่เราทำเพื่อให้คนไทยทุกคนปลอดภัย ในวันหนึ่งเมื่อเราชนะ ท่านจะภูมิใจในสิ่งที่ท่านได้ทำ” นพ.ธนรักษ์ ผลิพัฒน์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค HA Live ณ สรพ. 11 มีนาคม 2563 นอกจากคำพูดที่ก่อให้เกิดกำลังใจในหมู่ชาวสาธารณสุขที่เป็นด่านหน้าในการปะทะกับ COVID-19 แล้ว รองอธิบดีกรมควบคุมโรคยังได้ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์กับการจัดการโรงพยาบาลในอีกหลายประเด็น คือ 1. COVID-19 แพร่เชื้อผ่านละอองฝอยน้ำลายและการสัมผัสเชื้อนำเข้าสู่ร่างกาย (droplet transmission) เชื้อมีระยะฟักตัวสั้น Reproductive Number ประมาณ 2.2 มี doubling time 1 สัปดาห์ (จำนวนผู้ป่วยขยายเป็นเท่าตัวในทุก ๆ หนึ่งสัปดาห์) อัตราการเสียชีวิตไม่สูงเหมือน SAR ผู้ป่วย 90%หายได้เอง ผู้ป่วย 5-10% ต้องนอนโรงพยาบาล (ข้อมูลในประเทศจีน มีผู้ป่วย 5% เป็นบุคลากรทางการแพทย์) 2. เป้าหมายการรับมือกับ COVID-19 ในประเทศไทย คือ การชะลอการระบาดไปให้ได้นานที่สุด เพื่อลดความแออัด...
Quality 4.0 All for Quality
เส้นทางการพัฒนาคุณภาพบริการสุขภาพในประเทศไทย (4) Quality 4.0 All for Quality ในช่วงเดียวกับที่ Value-Based Health Care เริ่มเป็นที่สนใจในประเทศไทย สรพ. ก็ได้เริ่มพัฒนากระบวนการประเมินรับรองในลักษณะเครือข่ายสถานพยาบาล โดยมีแนวคิดสำคัญ คือ คุณภาพบริการที่ผู้ป่วยได้รับไม่ควรสะดุดลงเมื่อผู้ป่วยต้องได้รับการส่งต่อ กระบวนการดูแลรักษาที่ดีควรมีการเชื่อมโยงกันทั้งภายในสถานพยาบาลและระหว่างสถานพยาบาลอย่างไร้รอยต่อ (seamless care) จากแนวคิดนี้ นำมาสู่การพัฒนามาตรฐานบริการสุขภาพระดับจังหวัด (Provincial Healthcare Network Certification – PNC) และมาตรฐานระบบสุขภาพระดับอำเภอ (District Health System Accreditation - DHSA)           นอกจากการขยายเครือข่ายความร่วมมือระหว่างสถานพยาบาลอันนำไปสู่คุณภาพการดูแลรักษาที่ดีแล้ว ในระดับนานาชาติยังได้มีการชี้นำและเชื้อชวนให้กลุ่มผู้ป่วย  (ซึ่งในช่วงที่ผ่านมา เรามองผู้ป่วยเป็นผู้รับผลงาน ที่เราเพียงรับฟังเสียงสะท้อนและความคิดเห็น   เพื่อนำข้อมูลมาปรับปรุงงานบริการ)  เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของทีมพัฒนาคุณภาพบริการโดยตรง ซึ่งกลุ่มผู้ป่วยจะมีบทบาทตั้งแต่ขั้นตอนการรับรู้สถานการณ์ร่วมกับสถานพยาบาล ออกแบบระบบบริการร่วมกัน (co-design) สะท้อนประสบการณ์ที่ได้รับ (patient experience) และประเมินผลสัมฤทธิ์ที่เกิดขึ้น (Patient Reported Outcome Measures – PROMs) ในประเทศไทย การออกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับพื้นที่ พ.ศ. 2561...
- Advertisement -

MOST POPULAR

HOT NEWS