RT Collaboration (RT: Radiologic Technology)
“การสร้างคนทางรังสีวิทยา โดยทำงานสหสาขาไม่แบ่งชนชั้น ทุกคนเป็นคนสำคัญของหน่วยงาน” (รศ.นพ.จิตเจริญ ไชยาคำ)
“วิชาชีพรังสีเทคนิค นอกจากที่จะมีความรู้แล้วต้องมีมนุษยสัมพันธ์กับสิ่งรอบตัวเดินออกจากห้องเรียน ห้องทำงานไปสู่สังคมภายนอก เพื่อเรียนรู้ความจริงที่เป็นอยู่” (รศ.ดร.สุชาติ โกทันย์)
นอกจากให้ความรู้ด้านวิชาการแล้ว การสร้างการเรียนรู้นอกห้องเรียน นอกห้องทำงาน ที่เกี่ยวข้องกับสหวิชาชีพ ประชาชนในพื้นที่ จะทำให้อยู่ในสังคมได้ดีกว่าการอยู่เฉพาะในห้องเรียน ห้องทำงาน รวมทั้งทำให้การผลิตบุคลากรรังสีเทคนิคได้คุณภาพ จัดบริการมุ่งเน้นความปลอดภัยของผู้ป่วยเป็นสำคัญ
รศ.ดร.สุชาติ โกทันย์ ...
เคล็ดลับคุณภาพวันนี้ ชวนมาเรียนรู้ หลักในการเขียนแบบประเมินตนเอง (Self-Assessment Report) ซึ่งลักษณะสำคัญของการประเมินรับรองสถานพยาบาลของ สรพ. คือ เป็นการประเมินรับรองเพื่อเสริมพลัง (empowerment evaluation) ซึ่งหมายความว่า เมื่อสิ้นสุดการประเมินแล้ว สถานพยาบาลมีพลังใจในการขับเคลื่อนงานคุณภาพได้อย่างต่อเนื่อง เห็นโอกาสในการพัฒนาที่ชัดเจน และสามารถประเมินตนเองได้ผลใกล้เคียงกับการประเมินโดยผู้เยี่ยมสำรวจ อันเป็นดัชนีสำคัญที่บ่งชี้ว่าสถานพยาบาลมีศักยภาพในการประเมินงานในระดับที่จะช่วยให้ตนประเมินตนเองได้เป็นประจำและวางแผนการพัฒนาได้จนเป็นส่วนหนึ่งของการทำงานปกติ โดยไม่ต้องรอผลการประเมินจากผู้เยี่ยมสำรวจซึ่งจะมาเยี่ยมสถานพยาบาลนานๆ ครั้ง
หลักที่ใช้ในการเขียนแบบประเมินตนเอง คือ การเขียนเนื้อหาที่กระชับ ตรงประเด็น และสะท้อนการเรียนรู้ขององค์กร ตามหัวข้อในมาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพของ สรพ.
- เรื่องที่บรรยายควรสะท้อนการเปลี่ยนแปลงในแนวคิดและขั้นตอนการดำเนินงานของแต่ละกระบวนงาน ไม่นำสิ่งที่ทำปกติงานประจำมาเขียนพรรณนา
- นำหลัก 3P มาประยุกต์ใช้ในแต่ละเรื่องที่จะบรรยาย คือ ทำเรื่องนี้เพื่ออะไร (purpose) มีการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงกระบวนงานตรงไหนบ้าง (process) ผลลัพธ์ (performance) ออกมาตรงตามที่คาดหวังหรือไม่ และทีมงานได้เรียนรู้อะไรบ้าง
- นำหลัก 3C-PDSA มาขยายความในกระบวนงานที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในช่วงประมาณ 3 ปีที่ผ่านมา โดยแสดงผลมาจากการทบทวนงานในวงรอบการพัฒนาก่อนหน้านั้น (ทบทวนหรือตามรอยแล้วพบข้อขัดข้องในการดำเนินงานอะไรบ้าง วิเคราะห์สาเหตุรากแล้วเกิดจากอะไร) ที่นำมาสู่การพัฒนากระบวนการทำงานในรอบการพัฒนาใหม่ อันนำไปสู่ผลลัพธ์ที่มีแนวโน้มที่ดีขึ้นตามลำดับ
- ในหัวข้อที่เกี่ยวกับการจัดการความเสี่ยง มาตรการแก้ไขที่บรรยาย ควรมีมากไปกว่ากิจกรรมพื้นฐาน เช่นการกำชับเจ้าหน้าที่ให้มีความระมัดระวังมากขึ้น หรือการจัดอบรมให้ความรู้ ตัวอย่างมาตรการที่มีประสิทธิผลดีกว่า ได้แก่ การปรับปรุงขั้นตอนและสภาพแวดล้อมในการทำงานเพื่อแก้ไข defect ที่พบจากการทบทวน และการนำเครื่องมือหรือเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาช่วยในการทำงาน
Image by StartupStockPhotos...
ด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบัน ทำให้การให้บริการการแพทย์ทางไกลสามารถทำได้โดยสะดวกระหว่างโรงพยาบาลและสามารถทำได้ถึงระดับบ้านพักอาศัยของผู้ป่วย ซึ่งเป็นการช่วยเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ และเพิ่มประสิทธิภาพของการให้บริการ รูปแบบการให้บริการการแพทย์ทางไกลที่มีการนำมาให้บริการแล้ว ได้แก่ การอ่านผลเอกซเรย์ การอ่านผลทางพยาธิวิทยา และการให้คำปรึกษาแก่ผู้ป่วย นอกจากนี้ ยังมีการเสริมบริการอื่นๆ เข้าไปด้วย เช่น การให้บริการเจาะเลือดและส่งยาถึงที่บ้าน
แนวทางการให้บริการการแพทย์ทางไกลเริ่มมีการพัฒนาในต่างประเทศ เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าการให้บริการการแพทย์ทางไกลยังธำรงไว้ซึ่งคุณภาพของการรักษาพยาบาลและความปลอดภัยของผู้ป่วย ตลอดจนเป็นไปตามหลักกฎหมายและจริยธรรมวิชาชีพ
ตัวอย่างของแนวทางการให้บริการการแพทย์ทางไกลที่เริ่มมีการกำหนดขึ้นมา ได้แก่
- การให้บริการการแพทย์ทางไกลต้องอยู่บนหลักพื้นฐานของประโยชน์สูงสุดที่เกิดขึ้นแก่ผู้รับบริการ ผู้รับบริการที่มีความเสี่ยงเกินเกณฑ์ที่กำหนด ต้องได้รับการคัดกรองออกจากการขอรับบริการ
- แพทย์ต้องมีคุณวุฒิและขอบเขตการให้บริการตรงตามที่โรงพยาบาลกำหนด และเป็นไปตามกฎหมายที่บังคับใช้กับโรงพยาบาลที่เป็นผู้ให้บริการ
- ต้องมีขั้นตอนที่รัดกุมในการระบุตัวตนของผู้ป่วยและสิ่งส่งตรวจ เพื่อป้องกันการให้การรักษาผิดคน หรือการปลอมตัวเข้ามาสืบประวัติโดยบุคคลอื่น
- ต้องมีการจัดเตรียมทรัพยากรต่างๆ ที่จำเป็น (เช่น ระบบติดต่อสื่อสาร อุปกรณ์เครื่องมือแพทย์บุคลากรสนับสนุน) ที่เพียงพอและมีคุณภาพ เพื่อให้มั่นใจว่าข้อมูลข่าวสารจะมีความครบถ้วนถูกต้อง และทันเวลา
- มีการกำหนดขั้นตอนในการจัดการภาวะฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการให้คำปรึกษา
- ควรกำหนดให้มีขั้นตอนการขอรับความยินยอมจากผู้ป่วย (informed consent) ก่อนการให้บริการ
- ข้อมูลข่าวสารทั้งหมดที่เกิดขึ้นทั้งในระหว่างการติดต่อสื่อสาร และที่มีการจัดเก็บ ถือเป็นข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ป่วยที่ต้องได้รับการปกปิด โดยจะเข้าถึงได้เฉพาะผู้มีอำนาจ และต้องได้รับการเก็บรักษาที่ดีภายในระยะเวลาที่กำหนด โดยเมื่อนำข้อมูลมาใช้อีกครั้ง ข้อมูลยังคงความครบถ้วน ถูกต้อง และเข้าถึงได้
- กรณีมีการสั่งยาหรือส่งมอบยาให้ผู้ป่วย ต้องมีมาตรการป้องกันความคลาดเคลื่อนทางยาที่อาจเกิดขึ้นได้ ระมัดระวังความเสื่อมสภาพของยาที่อาจเกิดจากอุณหภูมิและความชื้นในระหว่างการขนส่ง และห้ามสั่งยาที่มีกฎหมายควบคุมเฉพาะ เช่น ยาเสพติด
- กรณีมีบริการเจาะเลือด/ เก็บสิ่งส่งตรวจ ผู้ป่วยที่บ้าน ต้องมีขั้นตอนที่รัดกุมและได้มาตรฐาน ในการเจาะเลือด/ เก็บสิ่งส่งตรวจ...
การทำงานด้วยจิตตื่นรู้
“การตื่นรู้เป็นมิติทางจิตวิญญาณ ผู้ตื่นรู้ต้องตื่นรู้ด้วยตนเอง คนอื่นมาตื่นรู้แทนไม่ได้ การตื่นรู้ต้องตื่นรู้ทั้งกายและใจ สิ่งสำคัญคือใจ เราจะตื่นรู้ไม่ได้เลยถ้าใจเราไม่ตื่นรู้ด้วย” ชัยพร นำประทีป
“บางครั้งผู้บริหารมองไม่ค่อยเห็นว่าเจ้าหน้าที่มีภาระงานหนักมากเห็นแต่งานกองตรงหน้า มีความอ่อนล้า ทำให้จิตหลับๆ ตื่นๆ เมื่อใดที่ผู้บริหารมีจิตตื่นรู้มองเห็นความเป็นจริงที่เปลี่ยนไป ท่าทีของผู้บริหารจะอ่อนโยนลง รักคนทำงานมากขึ้น มองผู้ร่วมงานด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ด้วยความตื่นรู้ที่เกิดขึ้นในใจ” นพ.สุวัฒน์ ธนกรนุวัฒน์
“สุขภาวะทางจิตวิญญาณ” หมายถึง สิ่งที่มีคุณค่าสูงทางจิตใจ ทั้งนี้ คำว่า “จิต” หมายถึง ความรู้สึกนึกคิด มีลักษณะสมมติ คือ มีความรู้สึกสุขทุกข์ได้ มีความจำได้หมายรู้ มีความคิดปรุงแต่งได้ มีการรับรู้ทางวิญญาณได้ ส่วนคำว่า “วิญญาณ” ในทางพุทธศาสนา หมายถึง การรู้เวลามีผัสสะโดยมีอายตนะทั้ง 6 เป็นเครื่องรับ ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ ทางพุทธศาสนา มีหลักที่เรียกว่า “ไตรสิกขา” ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา ซึ่งคำว่า “ปัญญา” ในทางพุทธมีความหมายพิเศษ พระพุทธเจ้าถือว่า ความทุกข์ของมนุษย์เกิดจากอวิชชาหรือความไม่รู้ เพราะฉะนั้นปัญญาจะทำให้หมดทุกข์และเกิดสุขตามมา...
🌺เคล็ดลับงานคุณภาพ 🌺
การติดตั้งกล้องวงจรปิดกับสิทธิผู้ป่วย
ในช่วงที่ผ่านมา โรงพยาบาลบางแห่งมีแนวคิดจะติดตั้งกล้องวงจรปิดเพื่อช่วยเฝ้าระวังผู้ป่วยที่อาจมีอาการทรุดลงในขณะอยู่ในห้องพิเศษหรือในพื้นที่ที่พยาบาลอาจมองไม่ค่อยเห็น, เพื่อเป็นหลักฐานในทางคดี กรณีเกิดคดีความขึ้นในโรงพยาบาล, หรือเพื่อเก็บเป็นหลักฐานที่ใช้ในการทบทวนเพื่อการเรียนรู้ เมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ขึ้น แต่การติดตั้งกล้องวงจรปิด ก็ทำให้ทีมงานเป็นกังวลว่าจะกระทบสิทธิผู้ป่วยหรือไม่ วันนี้เคล็ดลับงานคุณภาพ ชวนมาเรียนรู้ร่วมกันนะครับ ซึ่งในต่างประเทศ ก็มีคำถามทำนองนี้เช่นเดียวกัน แนวทางที่น่าจะนำมาปรับประยุกต์ใช้ ได้แก่
- โรงพยาบาลต้องกำหนดว่า วัตถุประสงค์ของการติดตั้งกล้องวงจรปิดของโรงพยาบาลในพื้นที่นั้นคืออะไร หลักการสำคัญที่ต้องยึดถือ คือ ประโยชน์ที่เกิดขึ้นต่อสาธารณะต้องมากกว่าผลกระทบต่อสิทธิผู้ป่วยแต่ละคนอย่างชัดเจน และไม่มีทางเลือกอื่นที่เหมาะสมเท่าการติดตั้งกล้องวงจรปิด
- ผู้รับผิดชอบต้องมีการรับฟังความคิดเห็นจากเจ้าหน้าที่และตัวแทนผู้ป่วย ก่อนเริ่มดำเนินการ
- ผู้รับผิดชอบต้องจัดทำแผนการดำเนินงาน ผังการติดตั้ง ตำแหน่งและมุมกล้องที่คำนึงถึงความเป็นส่วนตัวของผู้ป่วยและญาติ
- ต้องมีการกำหนดผู้รับผิดชอบดูแลระบบ ตลอดจนระยะเวลาที่ภาพและเสียงจะมีการบันทึกไว้
- มีการกำหนดผู้มีสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลภาพและเสียงที่บันทึกไว้ สถานการณ์ที่ผู้มีสิทธิจะขอเรียกดูภาพและเสียงที่บันทึกไว้ และขั้นตอนการขออนุญาตเข้าถึงข้อมูลที่บันทึกไว้จากบุคคลภายนอก
- เมื่อระบบดำเนินงานแล้ว ทุกครั้งที่มีการบันทึกภาพ ให้มีสัญญาณที่บ่งบอกให้ผู้ที่อยู่โดยรอบ รับรู้ว่ากำลังมีการบันทึกภาพอยู่
- กรณีที่ภาพที่นำมาใช้งาน ติดภาพผู้ป่วยท่านอื่นที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่ต้องการศึกษารายละเอียด ให้ทำให้ภาพผู้ป่วยที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องดูไม่ชัด เพื่อเป็นการพิทักษ์สิทธิผู้ป่วยท่านอื่น
Image by เฉลิมพล ศรีสังข์ from Pixabay
เพิ่มพลังบวก เพิ่มต้นทุนชีวิต เพิ่มคุณค่าองค์กร
“พลังบวกส่งผลต่อความก้าวหน้าของทุกองค์กร”
จุดเปลี่ยนแรกในชีวิต คือ ทัศนคติ เปลี่ยนความคิด ชีวิตก็เปลี่ยน ทุนชีวิตพลังบวก จุดเปลี่ยนสังคมไทย ส่งผลต่อความก้าวหน้าของทุกองค์กร
รศ.นพ.สุริยเดว ทรีปาตี วิทยากรได้เสนอแนวคิด...
การดูแลผู้ป่วยแต่ละราย VS. ระบบการดูแลผู้ป่วย
การดูแลผู้ป่วยจนบรรลุผลลัพธ์การดูแลรักษาที่ดีนั้น วิชาชีพใดเพียงวิชาชีพเดียวคงไม่สามารถดูแลผู้ป่วยได้อย่างเบ็ดเสร็จ การดูแลย่อมต้องการสหวิชาชีพที่ทำงานร่วมกันเป็นทีม มีระบบสนับสนุนการดูแลผู้ป่วย (เช่น ระบบยา ระบบเวชระเบียน ระบบห้องปฏิบัติการทางการแพทย์) ที่เหมาะสม โดยได้รับความร่วมมือจากผู้ป่วยและญาติ ผลลัพธ์จึงจะเป็นไปตามที่คาดหวัง
ในการประเมินกระบวนการคุณภาพของ สรพ. ผู้เยี่ยมสำรวจจึงยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง ไม่ได้ยึดวิชาชีพใดวิชาชีพหนึ่งหรือหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งเป็นศูนย์กลาง การประเมินจะดูทั้งความเหมาะสมของการดูแลผู้ป่วยแต่ละราย (ผ่านการทบทวนเวชระเบียน การทบทวนข้างเตียง และการทบทวนในลักษณะอื่นๆ) คู่ไปกับการประเมินระบบที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการดูแลผู้ป่วย ตั้งแต่การเข้าถึงสถานพยาบาลไปจนถึงการจำหน่ายออกจากสถานพยาบาลและการดูแลต่อเนื่อง และรวมถึงระบบสนับสนุนการดูแลผู้ป่วยด้วย
นอกจากนี้ เมื่อจะประเมินผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วย ผลลัพธ์ผู้ป่วยเพียงรายเดียวคงไม่สามารถเป็นตัวแทนของผลการรักษาโดยรวมได้ สิ่งที่จำเป็นต้องมีเพื่อใช้ในการประเมินผลลัพธ์ ก็คือ การบันทึกข้อมูลผู้ป่วยแต่ละรายเพื่อนำมาสร้างเป็นฐานข้อมูลกลุ่มผู้ป่วย (database of clinical population) ซึ่งฐานข้อมูลนี้จะนำมาจัดทำเป็นสถิติ ที่แสดงลักษณะทั่วไปของกลุ่มผู้ป่วยนั้น (เช่น เพศ อายุ ความรุนแรงของโรค) และผลลัพธ์การดูแลกลุ่มผู้ป่วย แล้วนำข้อมูลมาแปรผลเพื่อใช้ในการวิเคราะห์/ หาความสัมพันธ์ของปัจจัยต่างๆ ที่จะช่วยในการปรับปรุงกระบวนการดูแลผู้ป่วย เพื่อนำไปสู่ผลลัพธ์การดูแลที่ดีขึ้นในอนาคต
กระบวนการคุณภาพของ สรพ. จึงเป็นกระบวนการที่เชิญชวนให้บุคลากรทางการแพทย์ที่คุ้นชินกับกรอบการดูแลผู้ป่วยแต่ละราย ก้าวออกไปสู่ปริมณฑลของระบบการดูแลผู้ป่วยที่กว้างใหญ่และเชื่อมโยงสัมพันธ์กัน โดยมีเป้าหมายในการสร้างผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วยที่ดีที่สุดให้แก่ผู้ป่วยที่เราดูแล
Image by Robyn Wright from Pixabay
HIV Collaboration Key of Change
ความสำเร็จในการรับรองรายโรค HIV เกิดจากความเชื่อมั่น (Belief) ในการทำความดี เชื่อมั่นในแนวคิด DSC (Disease Specific Certification) ทำดีต้องมีคนเห็น เราจึงทำต่อไปและทำได้เหนือความคาดหมายสร้างความภูมิใจจากการทำความดีนั้น (พญ.สุพรรณี จิรจริยาเวช)
Disease Specific Certification เป็นการประเมินเฉพาะโรคหรือระบบการดูแลผู้ป่วยซึ่งได้ผลดีโดยปฏิบัติตามมาตรฐานมีการวิเคราะห์องค์กรอย่างครอบคลุมนำไปออกแบบกระบวนการตามข้อกำหนดให้สอดคล้องกับผู้เกี่ยวข้องมีการสื่อสารองค์กร นำสู่การปฏิบัติ กำกับติดตามผลลัพธ์เพื่อปรับกระบวนการอย่างต่อเนื่อง ซึ่งผู้แทนจากโรงพยาบาลทั้ง 4 แห่งได้นำกรอบแนวคิด DSC ไปใช้พัฒนากระบวนการดูแลผู้ป่วย HIV จนประสบความสำเร็จ จะมาแบ่งปันวิธีการ Change & Collaboration อย่างไรให้เกิด Sustainability
พญ.วันทนีย์ มามูล (โรงพยาบาลปราสาท) ...
ถอดรหัสมัดใจไนติงเกล: THIP the Good in Change
“อย่ากลัวการเปลี่ยนแปลง ทุกคนต้องไม่กลัวการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงไม่ใช่จุดสุดท้ายของชีวิต เปลี่ยนแปลงแล้วถ้าไม่ดีก็ถอยกลับมาใหม่” (พว.สุดา วิไลเลิศ)
Thailand Hospital Indicator Program (THIP) เป็นระบบการเปรียบเทียบตัวชี้วัดคุณภาพของ โรงพยาบาลที่ผู้รายงานจะได้ทราบค่าของตนเปรียบเทียบกับค่า Percentile ของกลุ่ม เพื่อให้โรงพยาบาลสามารถเปรียบเทียบผลลัพธ์ด้านต่างๆ กับโรงพยาบาลอื่นที่มีลักษณะเดียวกัน และสามารถค้นหาองค์กรที่มี Good Practice และนำมาแลกเปลี่ยนกัน จากการเปรียบเทียบผลลัพธ์โครงการ THIP มีการคัดเลือกโรงพยาบาล good in Change คือ มีการเปลี่ยนแปลงที่มีแนวโน้มดีขึ้น ในปี พ.ศ. 2560-2561 จากการเทียบเคียงตัวชี้วัด ได้แก่ 1. ร้อยละความพึงพอใจของบุคลากรในองค์กรพยาบาลในภาพรวมของพยาบาลวิชาชีพ (ระดับ 4-5) ...
ผสมงาน ผสานคน สร้างปฐมภูมิคุณภาพ
“ไม่ต้องกลัวนโยบาย แต่ใช้นโยบายในการขับเคลื่อน ให้ทุกภาคส่วนเกิดประโยชน์”
พญ.รัชฎาพร รุญเจริญ (โรงพยาบาลขุนหาญ) โรงพยาบาลขุนหาญ อำเภอขุนหาญ มีที่ตั้งติดชายแดน มีทั้งหมด 12 ตำบล ขนาด 90 เตียง มีประชากรในพื้นที่ 100,000 คน และหน่วยงาน อบต. 7...