วันจันทร์, พฤษภาคม 6, 2024

จดหมายเหตุรายปี 2018

การประเมินรับรองขั้นก้าวหน้า (Advanced HA)

การประเมินรับรองขั้นก้าวหน้า (Advanced HA หรือ AHA) เหมาะกับโรงพยาบาลที่ผ่านการรับรอง HA แล้ว และมีการพัฒนาคุณภาพและความปลอดภัยในทุกส่วนขององค์กร มีผลลัพธ์ในภาพรวมที่โดดเด่น และต้องการจะยกระดับการพัฒนาคุณภาพบริการสู่ความเป็นเลิศ           มาตรฐานสำหรับการประเมิน AHA เป็นมาตรฐานตัวเดียวกับที่ใช้ประเมิน HA แต่เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนา และกระบวนการเยี่ยมสำรวจ จะมีความซับซ้อนมากขึ้น  นอกจากนี้ เกณฑ์ผ่านการประเมินรับรองก็จะยากขึ้น           เครื่องมือสำคัญที่ช่วยในการพัฒนาคุณภาพสู่ AHA...

ทำความรู้จักการประเมินรับรองที่หลากหลายของ สรพ.

  ณ 30 กันยายน 2561 โรงพยาบาลในประเทศไทยผ่านการรับรองกระบวนการคุณภาพ HA 794 แห่ง คิดเป็น 57.37% ของโรงพยาบาลทั่วประเทศ ดังนั้น จึงมีโรงพยาบาลจำนวนหนึ่งที่ต่ออายุการรับรองมาแล้วหลายครั้งที่ต้องการเป้าหมายการพัฒนาที่ท้าทายมากยิ่งขึ้น สรพ.จึงได้มีการพัฒนาโปรแกรมการเยี่ยมสำรวจที่มีความหลากหลายมากขึ้น เพื่อรองรับการพัฒนาโรงพยาบาลที่มีความแตกต่างกันไปตามบริบท การประเมินรับรองที่ต่อยอดจากการรับรอง HA ปกติ ได้แก่ การพัฒนาที่มุ่งเป้าสู่ความเป็นเลิศ (excellence)           1.1 การประเมินรับรองขั้นก้าวหน้า...

มาตรฐานศูนย์บริการสาธารณสุข

สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) ได้ร่วมกับกรุงเทพมหานครในการจัดทำมาตรฐานศูนย์บริการสาธารณสุขขึ้นตั้งแต่ปี 2556 เพื่อใช้ประเมินรับรองหน่วยบริการสุขภาพประเภทที่ไม่ได้รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน โดยมีแนวคิดสำคัญคือ การส่งเสริมให้ศูนย์บริการสาธารณสุขจัดบริการแบบองค์รวม ผสมผสานบริการทั้งในด้านการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสภาพ ไปพร้อมกัน และสนับสนุนการพึ่งตนเองของประชาชน ซึ่งกระบวนการดำเนินงานต้องคำนึงถึงมิติด้านจิตใจ สังคม และสภาพแวดล้อมของประชาชนหรือผู้รับบริการไปพร้อมกัน สรพ....

13 หมูป่ากับมาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ ฉบับที่ 4

เหตุการณ์ 13 หมูป่าติดถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอนถือเป็น Mission Impossible ที่เกิดขึ้นจริงในประเทศของเรา และมีแง่มุมมากมายที่น่าศึกษา ถอดบทเรียน และนำมาสู่การเตรียมการเพื่อเผชิญหน้ากับภัยพิบัติในรูปแบบต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ         ในแง่มุมของบริการสุขภาพ ทีมงานด้านการรักษาพยาบาลได้ทำงานอย่างยอดเยี่ยมในแบบมืออาชีพ สิ่งเหล่านี้โยงกับมาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพฉบับที่ 4 ในหลายจุด และน่าจะทำให้ทีมงานของโรงพยาบาลนึกภาพของการนำมาตรฐานลงสู่การปฏิบัติได้ง่ายขึ้น มาตรฐานฉบับที่ 4 เหตุการณ์ที่ถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน การเข้าถึงและเข้ารับบริการ มีการประสานงานที่ดีระหว่างองค์กรกับหน่วยงานที่ส่งผู้ป่วยมา เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการส่งต่อในระยะเวลาที่เหมาะสมและปลอดภัย. การดูแลปฐมพยาบาลและการลำเลียง 13 หมูป่ามายังโรงพยาบาล ประสิทธิผลของการปฏิบัติการ องค์กรทำให้มั่นใจว่ามีการเตรียมพร้อมของระบบงานและสถานที่ทำงานต่อภัยพิบัติหรือภาวะฉุกเฉิน...

มาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ ฉบับที่ 4

  มาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ ฉบับที่ 4 ได้รับการรับรองจาก The International Society for Quality in Health Care (ISQua) ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2561 การรับรองครั้งนี้ เป็นการต่ออายุการรับรองมาตรฐานที่ สรพ. ใช้ในการประเมินรับรองโรงพยาบาล ซึ่งได้รับการรับรองจาก ISQua มาตั้งแต่ปี...

บทส่งท้าย “19th HA Forum”

คุณค่า คุณภาพ คุณธรรม พระบรมราโชวาทพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร ทรงประทานไว้ เมื่อวันจันทร์ที่ 5 เมษายน พ.ศ.2525 ความว่า  “.....การจะทำงานให้สัมฤทธิ์ผลที่พึงปรารถนา คือให้เป็นประโยชน์และเป็นธรรมด้วยนั้น จะอาศัยความรู้แต่เพียงอย่างเดียวมิได้ จำเป็นต้องอาศัยความสุจริต ความบริสุทธิ์ใจ และความถูกต้องเป็นธรรม ประกอบด้วย เพราะเหตุว่าความรู้นั้น เสมือนเครื่องยนต์ที่ทำให้ยวดยานเคลื่อนที่ไปได้ประการเดียว ส่วนคุณธรรมดังกล่าวแล้ว...

ปีหน้าพบกันใน Theme

  ในยุค Thailand 4.0 ที่จะมีการขับเคลื่อนประเทศด้วยเทคโนโลยี นวัตกรรม และความคิดสร้างสรรค์ การขับเคลื่อนดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อระบบสุขภาพเป็นอย่างมาก เราจึงต้องติดตามการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวอย่างรู้เท่าทัน รวมทั้งต้องกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ของทีมงานโรงพยาบาลเพื่อให้เกิดนวัตกรรมของการจัดการ กระบวนงาน และสิ่งประดิษฐ์ และทำงานเชื่อมโยงประสานกันเป็นเครือข่ายเพื่อรองรับงานบริการสุขภาพที่มีความซับซ้อนมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้เกิดผลลัพธ์ที่ตอบสนองความต้องการของผู้คนในสังคมได้ดีขึ้น นอกจากนี้ ประเทศไทยได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแล้ว ทำให้ต้องมีการพัฒนาระบบที่จะช่วยดูแลสุขภาพผู้สูงอายุทั้งในลักษณะ long term care และ home care ซึ่งการพัฒนาเหล่านี้ต้องอาศัยนวัตกรรม และความร่วมมือของภาคีเครือข่าย เพื่อการบรรลุเป้าหมายคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุที่ดีขึ้น การบริหารการเปลี่ยนแปลงและการทำงานในลักษณะเครือข่าย...

Quality End of Life Care/Hospice care

การบริบาลเพื่อคุณภาพชีวิตระยะท้าย (Hospice care) เป็น “การให้การดูแลรักษาแบบประคับประคอง (Palliative care) แก่ผู้ป่วยในระยะท้ายของชีวิตโดยทีมสหสาขาวิชาชีพในสถานที่และสิ่งแวดล้อมที่มีการจัดไว้อย่างเหมาะสมด้วยจุดมุ่งหมายเพื่อบรรเทาความทุกข์ทรมานและสร้างเสริมคุณภาพชีวิตทางสุขภาพของผู้ป่วยและครอบครัวครอบคลุมช่วงระยะท้ายของชีวิต (Terminal phase) รวมถึงในช่วงเวลาระยะแรกภายหลังการเสียชีวิตของผู้ป่วย (Bereavement phase)” กรอบแนวคิดของการบริบาลเพื่อคุณภาพชีวิตระยะท้ายในบริบทของระบบการดูแลสุขภาพของไทย   การดูแลผู้ป่วยระยะท้าย สิ่งสำคัญคือการค้นหาความต้องการที่แท้จริงของผู้ป่วยระยะท้าย ถึงแม้ว่าการพูดคุยจะเป็นวิธีการที่เป็นธรรมชาติ แต่บางครั้งผู้ป่วยก็ไม่พร้อมที่จะพูด วิธีที่น่าสนใจในการนำมาใช้ค้นหาความต้องการดังกล่าว คือการ “คุยผ่านภาพ” ที่เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยระลึกถึงเรื่องราวในอดีตและบอกเล่าความต้องการที่แท้จริงได้ และทำให้ผู้ป่วยพร้อมเตรียมพร้อมที่จะจากไป ประเด็นสำคัญในการดูแลผู้ป่วย end of life ให้บรรลุเป้าหมาย...

Integrated AMR Management in Hospital

ผศ.นพ.กำธร มาลาธรรม (รามาฯ), ดร.พิริยาภรณ์ จงตระกูล (ศิริราชฯ), ภก.รศ.ดร.วิชัย สันติมาลีวรกุล (ม.ศิลปากร), พญ.เพชรดี โอฬารริกสุภัค (รพ.น่าน)   เวลาพูดถึงเชื้อดื้อยา ทุกคนก็จะนึกถึง Infectious control หรือไม่ก็ RDU แต่ในความเป็นจริงแล้วการจัดการเชื้อดื้อยาต้องอาศัยความร่วมมือในหลายๆ วิชาชีพ เพราะกระบวนการดื้อยาของเชื้อเกี่ยวข้องกับแพทย์ผู้สั่งใช้ สิ่งแวดล้อม และบุคลากรการแพทย์อื่นๆที่สัมผัสเชื้อ ดังนั้น ปัจจัยความสำเร็จในการป้องกันเชื้อดื้อยา...

Q care poll “19th HA Forum”

Designed by Katemangostar  
- Advertisement -

MOST POPULAR

HOT NEWS