วันจันทร์, พฤษภาคม 19, 2025
การเกิดหัวใจอักเสบหลังการฉีดวัคซีนโควิดในกลุ่ม mRNA
การเกิดหัวใจอักเสบหลังการฉีดวัคซีนโควิดในกลุ่ม mRNA ในอิสราเอลและสหรัฐอเมริกามีการรายงานผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ (Myocarditis) และ เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ (Pericarditis) เพิ่มขึ้นมากกว่าปกติหลังการฉีดวัคซีนของ Pfizer-BioNTech และ Moderna          จากการศึกษาโดย Centers of Disease Control and Prevention (CDC) ของสหรัฐอเมริกา พบว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเพศชายอายุ 12 - 29 ปี เกิดอาการในการฉีดเข็มที่สองบ่อยกว่าการฉีดเข็มแรก        อัตราที่พบในการฉีดเข็มที่สองในแต่ละกลุ่มเพศและอายุเป็นไปตามตารางที่แสดง (ตามภาพ) ผู้ป่วยมักมีอาการหลังการฉีดวัคซีนภายในหนึ่งสัปดาห์ อาการที่พบและผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่ ผิดปกติ คือ - เจ็บหน้าอก - หายใจลำบาก - ค่า Cardiac Enzymes สูงขึ้น - EKG มี ST or T Wave change หรือมี Abnormal pattern อื่น - ผู้ป่วยเกือบทั้งหมดนอนโรงพยาบาลเป็นเวลา 2- 3 วัน แล้วหายเป็นปกติ...
การเกิดลิ่มเลือดหลังการฉีดวัคซีนโควิด
การเกิดลิ่มเลือดหลังการฉีดวัคซีนโควิดในกลุ่ม Viral vector (ตอนที่ 2)  ในภาวะปกติ Pulmonary embolism (PE) เป็นโรคที่มีอาการคล้ายกับภาวะเครียดและคล้ายกับโรคทางหัวใจและปอดอีกหลายโรค การวินิจฉัยอย่างถูกต้องจึงทำได้ไม่ง่ายนัก และทำให้ PE เป็นหนึ่งในโรคที่มี Diagnostic error บ่อย   และเมื่อมาเกิดในช่วงหลังการฉีดวัคซีน ซึ่งมีแนวโน้มว่าผู้วินิจฉัยจะมีความลำเอียงว่าอาการผู้ป่วยเกิดจาก Immunization Stress-Related Responses (ISRR) ความผิดพลาดคลาดเคลื่อนจึงเกิดมากขึ้น ดังนั้น ความรู้ความเข้าใจในเรื่อง Thrombosis with Thrombocytopenia Syndrome (TTS) จึงมีความสำคัญมากต่อการดูแลผู้ป่วยหลังได้รับวัคซีนของ AstraZeneca หรือ Johnson & Johnson #สิ่งที่บ่งชี้ถึง TTS -มักเกิดในผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 60 ปี พบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย -อาการมักเป็นแบบฉับพลัน ในช่วง 4 – 20 วันหลังการฉีดวัคซีน (เพราะ TTS เกิดจากปฏิกิริยาของภูมิคุ้มกัน ซึ่งร่างกายต้องใช้เวลาในการสร้างภูมิคุ้มกัน) ซึ่งต่างจาก ISRR ที่มักเริ่มเป็นตั้งแต่ 1 – 2 วันแรก แล้วค่อยๆดีขึ้นในวันที่ 3 –...
Viral vector
การฉีดวัคซีนโควิดในกลุ่ม Viral vector (ตอนที่ 1)        ในเดือนมิถุนายน 2564 ประเทศไทยจะเริ่มมีการฉีดวัคซีน AStraZeneca เป็นล็อตใหญ่ ดังนั้น จึงน่าจะมีโอกาสมากขึ้นที่ประเทศไทยจะเผชิญเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ (AE) จากการฉีดวัคซีนกลุ่ม viral vector เหมือนที่เคยเกิดในยุโรปและอเมริกามาแล้ว     จากการทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้องกับ AE ในวัคซีนกลุ่มนี้  พบว่า AE สำคัญคือ การเกิดลิ่มเลือดที่มีภาวะเกล็ดเลือดต่ำควบคู่ไปด้วย ซึ่งมีชื่อเรียกว่า Thrombosis with Thrombocytopenia Syndrome (TTS) หรือ Vaccine Induced Thrombotic Thrombocytopenia (VITT) หรือ Vaccine-Induced Prothrombotic Immune Thrombocytopenia (VIPIT)    TTS เป็นภาวะที่พบได้น้อยมาก อัตราการเกิดน่าจะประมาณ 1 ใน 100,00 ของการฉีดวัคซีน ลิ่มเลือดที่เกิดมักจะพบที่เส้นเลือดดำในสมอง  (cerebral venous sinuses)  หรือในช่องท้อง (splanchnic vein)   ...
แผนการพัฒนาเพื่อลด Adverse Event       เมื่อมีการวิเคราะห์หรือทบทวนเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จนได้สาเหตุรากเหง้า (Root Cause Analysis) ของปัญหาแล้ว ขั้นตอนที่มีความสำคัญมากอีกขั้นหนึ่ง ก็คือ การจัดทำแผนการพัฒนาเพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิด AE ซ้ำอีก ในอนาคต        แผนภาพนี้ น่าจะช่วยให้โรงพยาบาลมีมุมมองในการสังเคราะห์แผนการพัฒนาที่เหมาะกับบริบทของตนเองได้ง่ายขึ้น         ทั้งนี้เป็นเพียงตัวอย่างเท่านั้น การแก้ไขปัญหาขึ้นกับสาเหตุของปัญหา ขึ้นกับบริบท ศักยภาพและความพร้อมของโรงพยาบาล ประกอบกับการมีระบบ monitor ติดตามการเกิดเหตุการณ์ซ้ำ หรือความรุนแรงเพื่อนำสู่การหมุนวงรอบของการปรับปรุง ต่อไป Photo by 🇮🇩 Irwan on Unsplash
Patient for Patient Safety Share and Learn by Patient
“ในฐานนะผู้ป่วยอยากได้รับการบริการที่เท่าเทียมกัน อยากเห็นโรงพยาบาลในประเทศที่มาตรฐานใกล้เคียงกัน ซึ่งทุกคนต้องช่วยกัน” คุณสารี อ๋องสมหวัง จากผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ มีโอกาสได้บริหารองค์กรอิสระเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค องค์กรคุ้มครองผู้บริโภคถูกเขียนในรัฐธรรมนูญ หลายสมัย ตั้งแต่ปี 2540 ปัจจุบันถูกจัดตั้งเป็นสภาองค์กรคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งได้จัดตั้งตามประกาศของสำนักรัฐมนตรี วันที่ 9 ธันวาคม 2563 หน้าที่สำคัญคือ การให้คำแนะนำต่อคณะรัฐมนตรีและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีบทบาทในการเตือนภัยถึงสินค้าที่เป็นอันตรายต่างๆ รณรงค์ให้มีนโยบายสำหรับผู้บริโรค รวมไปถึงเป็นผู้ช่วยเรียกร้องไกล่เกลี่ยทางด้านกฎหมายให้แก่ผู้บริโภค และการศึกษาวิจัย เพื่อให้คำแนะนำแก่ผู้เกี่ยวข้องได้ สำหรับสิทธิของผู้บริโภคขั้นพื้นฐาน หากตาม UN protection guideline ผู้บริโภคควรมีสิทธิขั้นพื้นฐานในเรื่อง สุขภาพ เมื่อเข้าถึงบริการต้องปลอดภัย ในส่วนของผู้ป่วยจริงๆ ปัจจุบันถือว่าเรายังเข้าถึงได้น้อย ยังไม่เท่าเทียมกัน  ในด้านความปลอดภัย หรือประสิทธิภาพสูงสุด สิทธิในการเลือกบริการรักษา สิทธิการเยียวยากรณีได้รับความเสียหาย สิทธิการได้รับความรู้ความเท่าทันด้านสุขภาพ องค์กรมีศูนย์ที่จะให้ความช่วยเหลือผู้บริโภค ซึ่งมีตัวแทนผู้บริโภคในทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็นนโยบายในระดับเขต ระดับจังหวัด องค์กรช่วยสนับสนุนทำหน้าที่รับเรื่องร้องเรียนที่เป็นอิสระ แน่นอนว่าหากเราเป็นคนไข้ก็ย่อมอยากได้บริการที่เท่าเทียมกัน ยกตัวอย่างการจ่ายยาบางโรงพยาบาลมีการจ่ายยาตามสิทธิที่หลากหลาย การจ่ายยาให้กับข้าราชการ การจ่ายยาให้กับผู้เสียเงิน การจ่ายยาให้กับผู้รักษาฟรี ซึ่งยาที่ได้รับเป็นคนละตัวกัน สิ่งที่ผู้บริโภคอยากเห็นคืออยากได้บริการที่เหมือนกัน โดยไม่อยากให้มีการถามว่าเรามีบัตรอะไรมากกว่าถามว่า เราเป็นโรคอะไรมา อยากให้เห็นความสำคัญของผู้ป่วย อีกหน้าที่หนึ่งบริการสุขภาพเป็นส่วนหนึ่งของสิทธิมนุษยชน หากเป็นเรื่องของการให้วัคซีนอยากให้พิจารณาถึงการให้วัคซีนคนทุกเชื้อชาติที่ไม่ใช่เฉพาะคนไทย เนื่องจากมีแรงงานจากหลายประเทศเข้ามาทำงานในประเทศเรามากมายหลากหลาย อีกทั้งเป็นการป้องกันโรค ซึ่งนับว่าประเทศเราก็ทำได้ดี สิ่งที่อยากให้เห็นความสำคัญของสิทธิการรักษาของสามระบบใหญ่...
มาตรฐาน HA นั้นบอก “What, Why และ How well” แต่ไม่ได้บอก “How to” What :ข้อแนะนำเพื่อสร้าง Maturity ในการปฏิบัติตามมาตรฐาน Why : ใช้สำหรับวางแผนการพัฒนาในช่วง 1-3 ปีข้างหน้าเป็นประเด็นสำคัญ How: 3C-DALI (PDSA) ในการทำความเข้าใจและกำหนดเป้าหมาย จัดทำaction plan สื่อสารและสนับสนุนการพัฒนา ติดตามการดำเนินการตามระยะเวลาที่เหมาะสม ปัจจุบันหลายโรงพยาบาลยังใช้ประโยชน์จากข้อเสนอแนะเพื่อการสำรวจได้ไม่เต็มที่ อีกทั้งไม่ค่อยได้ทำ action plan และติดตาม หากโรงพยาบาลสามารถนำข้อเสนอแนะ (Recommendation) มาใช้ประโยชน์ปรับปรุงหรือพัฒนาได้มากที่สุดก็จะสามารถตอบประเด็นปัญหาที่สอดคล้องกับบริบทของโรงพยาบาลได้ตรงตามมาตรฐานและ  ยกระดับการพัฒนาได้จริง เราสามารถใช้พื้นฐานของวงล้อคุณภาพ 3C-DALI (PDSA) มาเพื่อร้อยเรียงเรื่องราว 9 ขั้นตอนในการทำความเข้าใจข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาต่อยอด ดังนี้ 1) Recommendation -> Standards จุดเริ่มต้นที่ดีด้วยการอ่านข้อเสนอแนะ จับประเด็น แล้วเชื่อมโยงสู่มาตรฐาน ดึงประเด็นสำคัญ อะไรคือกระบวนการ และอะไรคือเป้าหมาย ตัวอย่างเช่น ข้อเสนอแนะ II-1.1 ข. คุณภาพการดูแลผู้ป่วย (Quality of care) ควรมีการกำหนดกลุ่มเป้าหมาย (กลุ่มประชากรทางคลินิกที่สำคัญ) ซึ่งได้จากการวิเคราะห์ เช่น...
เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์
เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ Adverse Event       กระบวนการดูแลผู้ป่วยต้องออกแบบให้สอดคล้องกับความรู้ทางการแพทย์ที่เป็นปัจจุบัน   และมีการจัดบริการโดยบุคลากรจากสหวิชาชีพที่ทำงานประสานกัน โดยมีอุปกรณ์ อาคารสถานที่ และเครื่องมือที่ทันสมัย ปัจจัยจำนวนมากเหล่านี้มีความสลับซับซ้อนและควบคุมให้สมบูรณ์แบบตลอดเวลาได้ยาก ส่งผลให้เกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากบริการทางการแพทย์ (Adverse Event - AE)ซึ่งเป็นปัญหาที่ท้าทายระบบการดูแลรักษาผู้ป่วยของทุกประเทศทั่วโลก        จากการศึกษาโดย OECD ในปี 2020 พบว่า ไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของผู้ป่วยประสบ AE ในระหว่างกระบวนการดูแลรักษา  ซึ่ง AE ทำให้ค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 13 ของค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของประเทศ       และเมื่อวัดด้วย Disability Adjusted Life Years (DALYs) จะพบว่า Patient harm เป็น 1 ใน 5 อันดับแรกของภาระโรคของโลก (Global Burden of Disease)       จากรายงานในระบบ National Reporting and...
Learn about the COVID-19 vaccine
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ ผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัสวิทยา หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญด้านไวรัสวิทยาคลินิก              ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ด้วยทั่วโลกรู้ว่าความหวังในการยุติ covid-19 คือ วัคซีนโควิด ต้องทำ Mass Vaccine Campaign เพื่อแก้ปัญหาโควิดนี้ให้หายไป แต่การจะทำให้เกิดการได้รับวัคซีนครอบคลุมในวงกว้าง จำเป็นต้องมีการสื่อสาร สร้าง Public trust ขึ้นมา ในครั้งนี้ ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ ได้มาให้ความรู้เกี่ยวกับวัคซีนอย่างถึงแก่น เกี่ยวกับวัคซีนทั้ง 4 รูปแบบ ได้แก่ Inactivated virus, Non-replicating viral vector, RNA-based, และ Protein subunit หลังจากนั้นมีการตอบคำถามให้สิ้นสงสัยแก่บุคลากรทางการแพทย์ เพื่อให้เกิดความรู้ สามารถให้คำแนะนำต่อประชาชน สร้างความเชื่อมั่นต่อประชาชน เพื่อสร้างให้เกิด Public trust ทั่วไปได้ สิ่งที่อาจารย์ฝากไว้คือ ควรรับฟังข่าวสารด้วยความรู้ และระวังข่าว Fake news อีกทั้งระวังการกระจายข่าวต่อไปด้วยอารมณ์ความรู้สึก จะทำให้ประชาชนเกิดความไม่มั่นใจต่อไป ควรฉีดหรือไม่ หากเราต้องการให้ประเทศก้าวไปจากสภาวะปัจจุบัน ต้องการฟื้นเศรษฐกิจ...
HR Disruptive World Disruptive Leader.
ถอดบทเรียนโดย นายสุทธิพงศ์ คงชุม นักวิชาการคอมพิวเตอร์                                                                                  โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ
“ผู้รับบริการจะ Trust ในระบบก็ต่อเมื่อ Health care system ได้พิทักษ์ ผลประโยชน์ของผู้ป่วย บนพื้นฐานของความเชี่ยวชาญและความรู้ความสามารถที่เพียงพอ” What is Trust? Trust (ความไว้วางใจ) จะเกิดขึ้นได้เมื่อเกิดความไม่สมดุลระหว่างสองส่วน (truster และ trustee) โดยคนที่ถูกไว้วางใจ (trustee) นั้นต้องมีข้อมูลเพียงพอ มีความเชี่ยวชาญหรือความสามารถและสามารถตัดสินใจได้ (Information, competence, decision-making) คนที่ไว้วางใจ (truster) นั้นอาจให้คนที่ถูกไว้วางใจ (trustee) ช่วยตัดสินใจหรือช่วยชี้นำการตัดสินใจได้ อย่างไรก็ตาม truster จะยอมให้ trustee นั้นตัดสินใจแทนได้ก็ต่อเมื่ออยู่บนพื้นฐานของการถือประโยชน์สูงสุด ของ truster และtrustee ต้องมีความเชี่ยวชาญและความสามารถที่เพียงพอ Trust มี 3 รูปแบบ ซึ่งมีความไว้วางใจนั้นมีผลต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ดังนี้คือ 1) Generalized trust  เป็นธรรมชาติของแต่ละบุคคล เป็นผลมาจากประสบการณ์ส่วนบุคคลทั้งที่ดีและไม่ดี 2) Interpersonal trust เป็นความไว้วางใจระหว่างบุคคล เป็นผลมาจากประสบการณ์ส่วนบุคคล ค่านิยม บริบทและบรรทัดฐานของสังคม 3) Institutional trust เป็นความไว้วางใจต่อรัฐและสถาบันหลักในสังคม อยู่บนพื้นฐานการรับรู้ของสาธารณะต่อความน่าเชื่อถือ ไว้วางใจและความสามารถของสถาบัน/รัฐ OECD’s trust framework การพัฒนาอย่างยั่งยืนนั้นต้องการเพิ่ม interpersonal &...
- Advertisement -

MOST POPULAR

HOT NEWS