Changes through CLT towards The Magic Care Model in COPD
“At first people refuse to believe that a strange new thing can be done
Then they begin to hope it can be done. Then they see it can be done.
Then it is done and all the world wonders why it was not done centuries ago.”
Frances Hodgson Burnett
พญ.รัชพร ทวีรุจจนะ ...
Quality Learning
Crisis Communication: สื่อสารในภาวะวิกฤตอย่างไรให้ปลอดภัยไร้วิกฤต
Quality Learning -
Crisis Communication: สื่อสารในภาวะวิกฤตอย่างไรให้ปลอดภัยไร้วิกฤต
ข้อมูลข่าวสารเชิงลบหรือกระแสดรามาที่แพร่กระจายไปอย่างรวดเร็วในโลกออนไลน์เป็นวิกฤตที่ไม่มีองค์กรใดอยากให้เกิด ได้ถูกบรรจุอยู่ใน 2P Safety: ความปลอดภัยของบุคลากร ที่องค์กรอาจต้องเผชิญไม่วันใดก็วันหนึ่ง หากมีการเตรียมความพร้อม มีการซักซ้อมการปฏิบัติและทบทวนบทเรียนอย่างสม่ำเสมอ ย่อมจะช่วยให้บุคลากรทำงานได้อย่างราบรื่น วิทยากรทั้งสองท่านซึ่งเป็นผู้มีประสบการณ์ด้านการสื่อสารในภาวะวิกฤตจะมาแชร์วิธีรับมือกับวิกฤติ social อย่างไรให้ปลอดภัยแบบมืออาชีพ
ดร.ชนกพร พัวพัฒนกุล และดร.นพ.นวนรรน ธีระอัมพรพันธุ์ จากปัญหาการใช้งานและการสื่อสารผ่านสื่อออนไลน์และสื่ออื่นๆ ที่ไม่เหมาะสมทำให้บุคลากรทางการแพทย์ถูกดำเนินการทางจริยธรรมหรือทางวินัย อาจสร้างความเสียหายต่อตนเอง องค์กร วิชาชีพและผู้ป่วยได้ คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติได้จัดทำแนวทางปฏิบัติในการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ของผู้ปฏิบัติงานด้านสุขภาพ พ.ศ.2559 ให้สถานพยาบาลนำไปปรับใช้ตามบริบทของตน เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติต่อผู้รับบริการด้วยความระมัดระวัง เคารพศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ มีการเฝ้าระวัง มีกระบวนการสื่อสารและการตอบสนองอย่างเป็นระบบ ซึ่งปัจจุบันส่วนใหญ่ยังใช้การตอบสนองตามประสบการณ์
มีการถอดบทเรียนหาโอกาสพัฒนาหลังเหตุการณ์เสมอเพื่อให้มีแผนใหม่ที่ดีตลอดไป เช่น เคยใช้ Facebook ทำแบบนี้ได้ แต่ตอนนี้ Facebook ไม่อนุญาตให้ทำแล้ว เราจะชี้แจงผ่านช่องทางไหน มีการทำงานเชิงรุกให้ประชาชนรู้สึกรัก เชื่อถือและพร้อมจะปกป้องโรงพยาบาลโดยวิธีการให้ข่าวสารที่มีประโยชน์ต่อประชาชนในสื่อออนไลน์ (ห้ามแชร์ความเชื่อหรือความรู้ที่ผิดหรือไม่ชัดเจน เช่น หมู่เลือดนี้ควรกินอาหารสีอะไร) ทำเป็นประจำสม่ำเสมอจะเป็นเกราะคุ้มกัน เช่น รพ.ศิริราช ทำถนนมีคนโวยวาย แต่ก็มีคนออกมาปกป้อง หรือ มีการแชร์ว่า รพ.รามาธิบดี ทำคลอดเด็กหัวขาด ญาติส่งไลน์มาถามก่อนว่า “จริงหรือเปล่า” แสดงถึงความเชื่อถือไว้วางใจเรา ถามเราก่อนที่จะแชร์ต่อเป็นเกราะคุ้มกันเราได้ สร้าง Format และ...
Collaboration for 2P Safety Innovation (สรพ. และสวทช.)
ความร่วมมือระหว่างสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (สรพ.) และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ในการขับเคลื่อน “โครงการความร่วมมือพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรมเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยและบุคลากรสาธารณสุข” โดยการรับสมัครรพ.ที่มีความสนใจที่จะแก้ปัญหาอุบัติการณ์ในรพ.ที่สัมพันธ์กับ 2P Safety ส่งเรื่องราวปัญหา การวิเคราะห์ และแนวทางแก้ไข ผ่านการตัดเลือกเข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการ 2P Safety Tech Hackathon Camp เพื่อพัฒนานวัตกรรมร่วมกับนวัตกร ที่ได้รับการสนับสนุนจาก สวทช. โดยหลังจากนั้น รพ.ได้กลับไปพัฒนา ชิ้นงาน เพื่อนำเสนอ และประกวด โดยผลงานที่สามารถนำมาใช้ได้จริง จะได้รับการสนับสนุนให้เกิดการนำสู่การปฏิบัติในวงกว้าง ของรพ. 2P Safety Hospital
ร่วมรับฟังผลงาน 5 รพ.ที่ผ่านการคัดเลือก ว่าเป็นผลงานที่นำแนวคิด Human Factor Engineering มาใช้ และสามารถทำได้จริง มีคุณค่าและประโยชน์ในการทำให้ 2P Safety โดยฟังคำแนะนำและข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งจาก สวทช.และผู้เชี่ยวชาญงานวิจัยและงานคุณภาพจากระบบบริการสาธารณสุข
การแพทย์ นวัตกรรม สู่ Start up
ทำข้อมูล...
เส้นทางการพัฒนาคุณภาพบริการสุขภาพในประเทศไทย (2) ตั้งแต่ปี 2540 แนวคิดและเกณฑ์คุณภาพที่มีอิทธิพลอย่างสูงต่อการปรับปรุงและพัฒนามาตรฐานด้านคุณภาพของหน่วยงานต่างๆ ในประเทศไทย คือ Thailand Quality Award (TQA) หรือในชื่อภาษาไทยว่า เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ
เกณฑ์นี้มีพื้นฐานทางด้านเทคนิคและกระบวนการตัดสินรางวัลเช่นเดียวกับรางวัลคุณภาพแห่งชาติของประเทศสหรัฐอเมริกา หรือ The Malcolm Baldrige National Quality Award (MBNQA) เกณฑ์ TQA ได้ขยายมุมมองด้านคุณภาพที่เดิมเพ่งอยู่ที่กระบวนการที่เป็นมาตรฐาน ออกไปครอบคลุมทั้งส่วนที่เป็นภาพรวมของการบริหารองค์กรและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น หรือก็คือการมององค์กรเหมือนกับระบบๆ หนึ่ง ที่มีสภาพแวดล้อมรอบระบบ มี input, process, output และ information feedback loop ที่ช่วยให้ระบบดารงสถานะอยู่ได้อย่างเสถียร
ใน TQA ได้แบ่งเกณฑ์เป็น 7 หมวด (ดังภาพ) ซึงมีการให้คะแนนในแต่ละหมวด ดังนี้
การนำองค์กร คะแนน = 110,
กลยุทธ์ คะแนน = 95
ลูกค้า คะแนน = 95
การวัด วิเคราะห์ และการจัดการความรู้ คะแนน =100
บุคลากร คะแนน...
Benchmarking & Continuous improvement to Innovation
“ความไม่ปลอดภัยของคนไข้เราไม่ประนีประนอม ความด้อยคุณภาพเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้”
“ความรู้ ทำให้เราไปได้เพียงจำกัด แต่จินตนาการ และ innovation จะทำให้เราไปได้ไกลแสนไกล”
...
Health Tech & Design Thinking
อย่ากลัวที่จะพัฒนา อย่ากลัวที่จะแก้ปัญหา
จากแนวคิดหลักของงานประชุมวิชาการ HA National Forum ครั้งที่ 20 นี้ คือ “Change & Collaboration for Sustainability” ดังนั้นในการที่จะเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืนจำเป็นที่จะต้องมีเครื่องมือ องค์ความรู้ และช่องทางใหม่ๆ ซึ่งในการบรรยายครั้งนี้ จะได้อธิบายให้เห็นมุมมองเกี่ยวกับการพัฒนาระบบรวมไปถึงการประยุกต์แนวคิดและเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ในระบบการให้บริการสุขภาพ จาก 3 มุมมอง คน 3 คน มารวมตัวกัน ไม่ว่าจะเป็น แพทย์ ผู้ให้บริการแอพพลิเคชั่น และ ธุรกิจ Start Up จะเห็นมุมมองอย่างไรบ้าง?
เมื่อพูดถึงการพัฒนาธุรกิจหรือการจัดตั้งองค์กรสมัยใหม่ เรามักจะได้ยินคำว่า Startup อยู่เป็นประจำ ซึ่ง Startup คือกลุ่มคนที่ก่อตั้งธุรกิจ และดำเนินงานด้วยเครื่องมือและแนวคิดใหม่ๆ โดยหนึ่งในเครื่องมือหรือแนวคิดที่ Startup นิยมนำมาใช้นั่น คือ Design Thinking ซึ่งในองค์กรระดับโลกนั้นได้มีการนำมาใช้กว่า 20 ปี
Design Thinking คือ การกระบวนการออกแบบวิธีแก้ปัญหาโดยยึดถือผู้ใช้เป็นศูนย์กลาง มักถูกนำมาใช้ในการค้นหานวัตกรรมหรือนำมาใช้แก้ปัญหาที่มีความยุ่งยากซับซ้อน...
Quality Learning
Health Information Management: Efficiency Enhancement from Taiwan to Paraguay and Thailand
Quality Learning -
Health Information Management: Efficiency Enhancement from
Taiwan to Paraguay and Thailand
“ในขณะที่บุคลากรทำหัตถการเจาะหลังผู้ป่วยรายหนึ่ง การตรวจสอบ (Double check) ยาเคมีบำบัดต้องรอนานขึ้น ทำให้ผู้ป่วยและญาติไม่เข้าใจว่าทำไมต้องรอนานขึ้น ต้องการความเปลี่ยนแปลงที่สามารถเชื่อมโยงทุกระบบในโรงพยาบาลเข้าด้วยกัน เพื่อลดระยะเวลารอคอยในแต่ละกระบวนการลง” ...
Risk Management Tools : Risk Register
“ทะเบียนจัดการความเสี่ยง (risk register) จะช่วยในการกำกับติดตามและทบทวน เพื่อให้วงล้อของการพัฒนาคุณภาพเกิดขึ้น บางเรื่องที่ไม่มีเจ้าภาพรับผิดชอบที่ชัดเจนจะทำให้เกิดบทบาทที่ชัดเจนและเกิดการติดตามว่าอะไรที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดควรได้รับการสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และควรส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดระบบที่สร้างแรงจูงใจให้บุคลากรกล้าที่จะรายงานอุบัติการณ์โดยไม่กลัวว่าจะถูกตำหนิ” (อ.ผ่องพรรณ ธนา)
Risk Register คือ ทะเบียนจัดการความเสี่ยง ที่ใช้เป็นเอกสารหลักเพื่อเป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยง (risk management tools) ทุกขั้นตอน ทำให้เป็นกระบวนการที่มีชีวิตเป็นพลวัตมีการปรับปรุงวิธีการทำงานอย่างต่อเนื่อง โดยองค์ประกอบของ Risk Register ประกอบด้วย Risk identification risk analysis , Risk Treatment และ Risk Monitor and Review การบรรยายใน Session นี้ใช้กระบวนการเรียนรู้ แบบ Participation Learning โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทำความเข้าใจขั้นตอนและกระบวนการในการจัดทำ Risk Register เพื่อให้ผู้เข้าร่วมการเรียนรู้ได้รับคำตอบเกี่ยวกับปัญหาและข้อห่วงกังวลในการจัดทำ Risk Register โดยมีสาระโดยสรุปเกี่ยวกับ
แนวคิด Risk Register และประโยชน์ของการใช้ Risk Register
Pitfall...
Build Well-Being Leader in Leading Organization Sustainability
สุขภาพกายใจที่ดี พร้อมด้วยเจตจำนงอันมุ่งมั่น ย่อมนำมาซึ่งผลงานที่ยอดเยี่ยม
Wellbeing people with strong sense of meaningful purpose will deliver outstanding performance
การปรับเปลี่ยนมิติมุมมองของชีวิตใหม่ การเห็นคุณค่าของตนเอง มีความรักความเข้าใจถึงพลังความคิด และจิตใจของตนเองทำให้เกิดพลังการใช้ชีวิตด้วยความสุข สามารถก้าวข้ามขีดจำกัดของตนเองพร้อมที่จะแบ่งปัน ใช้ชีวิตที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กรและสังคม
ถ้าเราได้เดินวันละ 10,000 ก้าวทุกวัน ก็จะเกิดการเคลื่อนไหวทำให้เกิดความแข็งแรงเหมือนคนในประเทศญี่ปุ่น ทุกคนในห้องประชุมควรเริ่มเปลี่ยนตัวเอง เข้าสู่สังคมการออกกำลังกาย อาจารย์เล่าว่าเพิ่งไปวิ่งที่โตเกียวมาราธอน มีคนมาวิ่งรวมกัน 30,000 ถึง 40,000 คน ไปเจอคนสำคัญคนหนึ่ง คือ คุณตูนบอดี้สแลมกับก้อย สิ่งที่คุณตูนทำคือชวนคุณก้อยวิ่งมาราธอน คุณตูนช่วยเราในด้านการแพทย์ แต่คำถามคือเราจะช่วยคุณตูนได้อย่างไร สิ่งที่ทำได้คือคนในห้องนี้เริ่ม ออกกำลังกายวันละอย่างน้อย 30 นาที เราจะมีซอฟต์แวร์ที่สำคัญแข็งแรงนั่นคือ พีเพิ่ลแวร์ และเราจะมีฮาร์ดแวร์ที่สมบูรณ์จากคุณตูน
“ถ้ามีเครื่องมือดีแต่คนของเราไม่แข็งแรง เครื่องมือไม่ได้นำไปใช้ ก็ไม่เกิดประโยชน์”
อาจารย์ได้ share เรื่องราวการเดินทางของคน 2-3 กลุ่ม ผ่าน...
Life is miracle
แรงบันดาลใจหรือสิ่งยึดเหนี่ยวในชีวิตทำให้ก้าวข้ามจุดเปราะบางมาได้”
“Worrying doesn’t change anything, The things you can change is your attitude”
ชีวิตทุกๆ คนมีเรื่องมหัศจรรย์เกิดขึ้นอยู่แล้ว เพียงแต่ว่าเราจะเริ่มต้นหรือทำให้ชีวิตมหัศจรรย์ได้จริงหรือไม่ และอย่างไร น้องธันย์ อายุ 14 ปี ประสบอุบัติเหตุทำให้ต้องเสียขาทั้ง 2 ข้าง แต่ขณะฯให้สัมภาษณ์ พบภาพรอยยิ้มปรากฏบนใบหน้าตลอดเวลา คุณเบลล่า ป่วยเป็นโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองและมีเนื้องอกในหัวใจซึ่งโอกาสเกิดเพียงร้อยละ 1 กำลังศึกษาปริญญาโท ณ ประเทศอังกฤษ ทำให้ต้องกลับมารักษาตัวเมืองไทย ได้ต่อสู้ด้วยพลังของตนเอง จนผ่านอุปสรรคนานับประการ คุณเบลล่าผ่านจุดนี้มาได้อย่างไร
ณิชชารีย์ เป็นเอกชนะศักดิ์ (น้องธันย์) เมื่อปี พ.ศ.2554 ด.ญ.ณิชชารีย์ เป็นเอกชนะศักดิ์ หรือ น้องธันย์ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนจุฬาภรณ์ราชวิทยาลัย จังหวัดตรัง เดินทางไปเรียนภาษาอังกฤษที่ประเทศสิงคโปร์ แต่ต้องประสบอุบัติเหตุรถไฟฟ้าทับขาทั้งสองข้างจนต้องถูกตัดขา แต่แม้จะต้องใส่ขาเทียม น้องธันย์ สามารถสอบเข้าศึกษาต่อที่คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้สำเร็จ ความสามารถและพลังใจของน้องธันย์ยิ่งใหญ่มาก ได้รับโอกาสให้เป็นนักพูดสร้างแรงบันดาลใจจากชีวิตจริง และทำกิจกรรมต่างๆ และได้รับเลือกให้ทำหน้าที่ “ผู้สำรวจความสุขคนไข้” อีกด้วย
ศิรินทิพย์...