วันจันทร์, พฤษภาคม 19, 2025
คิดให้สุข กับบุคคลต้นแบบ
คิดให้สุข กับบุคคลต้นแบบ https://youtu.be/V7CNfE2QoRs บุคคลที่รักในความ “ชอบคิด” แต่ความคิดของเขาคนนี้ มีผลกับระบบการพัฒนาคุณภาพของโรงพยาบาล “คิด”    แต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ จึงเกิดเป็นรูปธรรมที่สามารถมองเห็นได้ หากอยากทราบว่า จะจัดการกับระบบความคิดให้ดีได้อย่างไร ต้องมารู้จักกับแนวคิด ของ นพ.ทรนง พิลาลัย รักษาการหัวหน้าสำนักพัฒนาองค์กร ผู้ใช้ความคิดสร้างความสุขให้กับผู้ทำงานพัฒนาคุณภาพ เรียบง่าย คำพูดขึ้นต้นที่คุณหมอพูด ทุกอย่างใช้แค่คำนี้ก็จบ เข้าใจ แล้วก็ช่วยให้แก้ปัญหาได้ งานที่ทำออกมาก็จะดีขึ้น สิ่งที่เกิดขึ้นในวันนี้ วันพรุ่งนี้ ก็ต้องดีกว่าเมื่อวาน เพราะฉะนั้นคิดว่า ถ้าทำงานคุณภาพให้เกิดความเรียบง่ายได้ ก็จะทำให้เกิดความสุข ท้ายที่สุดสิ่งสำคัญก็คือ ได้เรียนรู้ ในสิ่งที่คิด และได้ลงมือทำ อันนั้นคือความสุขที่จะทำให้งานมีคุณภาพได้ ทำงาน แล้วคิดถึงคนไข้ คิดถึงคนอื่นเหมือนที่คิดจะดูแลพ่อแม่ หรือญาติของเรา ถ้าคิดได้แบบนี้  จะทำให้เกิดสิ่งที่ดีที่สุด ที่คิดจะมอบให้เขาได้ อย่างเต็มกำลังมากที่สุด นี้คือหลักคิดหนึ่งที่จะทำให้เกิดความยั่งยืน งานพัฒนาคุณภาพ ก็ต้องมีเรื่องของการประเมิน รับรอง เข้ามาเกี่ยวข้อง เพื่อเป็นหลักฐานให้เกิดความมั่นใจ และเกิดเป็นมารตราฐานในคุณภาพนั้น  เพราะฉะนั้นเวลาที่ทำ HA หรือการทำรับรองคุณภาพ ทุกคนจะคิดว่าเป็นเรื่องที่ยากลำบาก แต่ก็ต้องการที่จะทำ HA เพื่อให้เกิดหลักประกันในการสร้างคุณภาพ เพื่อส่งมอบให้กับลูกค้าผู้รับบริการ คนไข้ หรือประชาชน จริงๆแล้วทำง่ายมาก ถ้าเข้าใจว่าคุณค่าของการทำ...
งานประจำสร้างสุข
งานประจำสร้างสุข https://youtu.be/j1sBf47-JkI พูดถึงงานประจำ หลายคนก็ถอนหายใจแล้ว เพราะรู้สึกว่างานที่ทำ น่าเบื่อ ทำแต่สิ่งเดิมๆ ไม่มีอะไรน่าตื่นเต้นเร้าใจ ทำไปแบบให้ผ่านไปวันๆเท่านั้น แต่วันนี้ เรามีแนวคิดในการสร้างความสุข ในงานประจำของคุณ ให้ไม่น่าเบื่ออีกต่อไป กับ อาจารย์วราภรณ์ สักกะโต หัวหน้าสำนักส่งเสริมการพัฒนา สรพ. สาวสวยประจำออฟฟิศของสถาบันที่เธอได้ทำงานอยู่ ใครที่ได้มีโอกาสรู้จัก จะรู้ว่าเธอเป็นคนเก่ง อารมณ์ดี เป็นผู้สร้างสีสันของงานนั้นๆ เสมอ ครั้งนี้เราจะมาเปิดเผยถึงการสร้างแรงบันดาลใจ ทั้งส่วนตัว และการทำงาน ของเธอให้พวกเราได้นำไปปรับใช้ กับชีวิตในการทำงานกัน ความสุขหาได้ทั่วไป ไม่ต้องไปหาไกลอยู่ในชีวิตประจำวันนี้ละคะ ถ้าเริ่มจะทำเรื่องนี้ ก็ต้องเริ่มจากคนทำงานก่อน  คนทำงานที่ทำงานอย่างมีความสุข ทำงาน ในงานประจำที่ทำอยู่ ให้มีคุณค่า ให้มีความหมาย แล้วก็ทำงานอย่างมีเป้าหมาย พอรู้ว่าทำงานประจำไปเพื่ออะไร มีเป้าหมายเพื่ออะไร ถ้าคนทำงาน รู้สึกว่างานที่ทำนั้นส่งผลต่อความเป็นอยู่ที่ดี ความมีสุขภาพดี และความปลอดภัยของประชาชนทั่วไป รวมทั้งพ่อแม่พี่น้องของเขาได้มีความสุข ก็ทำให้งานของเขามีความต่อเนื่อง ก็จะเกิดความยั่งยืน มีเป้าหมาย และให้ความสำคัญกับจุดนั้น ความสุขที่ได้ทำงาน กับที่ทำงานนั้น เชื่อว่าหลายคนที่ ทำงานด้านคุณภาพ ต้องการ สร้างความสุขทางใจให้ตัวเองและผู้อี่นอยู่แล้วทุกคน จริงๆ การทำงานคนเดียว ก็มีความสุขในระดับหนึ่ง แต่ถ้าได้ทำงานกับเพื่อน ได้เจอกับคนที่มีความคิดเหมือนกัน      ก็จะรู้สึกว่าทำงานแล้วมีความหมายมากขึ้น...
สมดุล แห่งความสุข
สมดุล แห่งความสุข https://youtu.be/bjOaIFvbBf0 วิธีสร้างสมดุล ให้กับความเครียด และความสุขนั้น อยู่ร่วมกัน ของผู้นำระบบงานพัฒนาคุณภาพสถานพยาบาล        ผู้มุ่งพัฒนากระบวนการประเมินรับรองแบบเสริมพลัง โดยการมีส่วนร่วมของประชาชน จะเป็นอย่างไร แค่เริ่มก็ฟังดูจะเครียดแล้ว และผู้ที่ต้องอยู่บนภาระหน้าที่ ที่หนักที่สุดแบบนี้ อย่าง นพ.กิตตินันท์ อนรรฆมณี ผู้อำนวยการ สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) (สรพ.) จะมีวิธีจัดการปัญหา และสร้างความสุขไปพร้อมๆ กันได้ยังไงกันนะ ความสุขก็เหมือน“การปลูกต้นไม้” ปลูกต้นไม้ก็เห็นการเจริญเติบโต เห็นดอกเห็นผลที่ออกมา แล้วก็ได้ชื่นใจ        ก็เหมือนงานที่ทำส่วนหนึ่ง ก็ต้องชอบในงานที่ทำ ก็คงต้องเหนื่อยแต่ในสิ่งที่ทนเหนื่อยก็มีความสำเร็จมาชดเชย ทำให้เกิดความสุขได้ จริงๆ กว่าทุกคนจะมายืนอยู่ตรงจุดนี้ได้ ก็มีสิ่งที่สมหวังมาแล้วมากมาย ให้หัดมองโลก          ในแง่บวก เห็นในสิ่งที่มีมากกว่าไปทุกข์กับสิ่งที่ไม่มี จะเห็นว่าก็ยังอยู่ได้ เรายังคงมีชีวิตที่ดีดำเนินต่อไปได้ คนส่วนใหญ่จะไปเป็นทุกข์กับสิ่งที่ไม่สมหวัง แต่ว่าความสุขง่ายๆ นั้นอยู่รอบๆ ตัวเรา ถ้าไปหวังไกลแล้วไม่ได้ก็เกิดเป็นความทุกข์แล้วก็ทุกข์มากขึ้น ชีวิตมีทั้งทุกข์และสุข มองในส่วนที่มี มองโลกในแง่ดี และจะรู้ว่าชีวิตนั้นมีความสุขมากขึ้น เรารู้ว่าเราไม่ได้ทุกข์คนเดียว มีคนที่ทุกข์เหมือนเราทั่วแผ่นดิน ทางธรรมมะก็สอนให้รู้ว่าเมื่อเราไม่ได้ทุกข์คนเดียวสิ่งเดียวที่จะทำให้หลุดพ้นจากความทุกข์ได้ ก็คือการปล่อยวาง ปล่อยความเป็นตัวตนออกไปบ้าง...
ความสุขเกิดขึ้นจากใจ
ความสุขเกิดขึ้นจากใจ https://youtu.be/aKBOT_pFU4Y หากคุณเป็นคน ที่กำลังมีความทุกข์ จนส่งผลต่อคุณภาพจิตใจ รองมาค้นหาคำตอบของความสุขที่เกิดจาก การเปลี่ยนมุมมอง เปลี่ยนมุมคิด จนทำให้ชีวิตเปลี่ยนแปลงได้ เหมือนดัง พญ.ปิยวรรณ ลิ้มปัญญาเลิศ ผู้ที่เปลี่ยนความทุกข์ ให้กลายเป็นโอกาส จากที่เคยเป็นคน มีความสุขอยู่ตลอดเวลา เป็นคนชอบมี Activity ชอบมีกิจกรรม อยู่มาวันหนึ่ง วันที่ไปตรวจคนไข้ แล้ว เกิดจับเครื่องมือที่ใช้สำหรับตรวจคนไข้ไม่ได้ มันหล่นลง และก็เริ่มขยับมาจนยกขาไม่ได้ เดินไม่ได้ไปข้างหนึ่ง ทั้งซีกของร่างกายนั้น ก็คือ พบว่าตัวเองป่วย ทั้งที่เป็นคนแข็งแรงมาก มาโดยตลอด คุณหมอบอกว่า เป็นวันที่ทุกข์มาก ทุกข์เพราะไม่เคยวางแผนไว้ ถ้าต้องทำอะไรอีกไม่ได้ ลูก ครอบครัว งานการที่ทำอยู่ หรือมีอยู่ จะเดินไปยังไง ณ วันนั้นเกิดความทุกข์ในใจ ทุกข์เพราะห่วง ห่วงสิ่งที่อยู่รอบตัวทั้งหมดแล้วก็ห่วง ห่วงคนที่รัก ห่วงงานที่ทำ        ณ ตอนนั้น ณ จุดนั้น รู้สึกว่าเป็นความทุกข์ที่กลัดกร่อนในใจ และก็เริ่มคิดว่าถ้าเรานอนทุกข์อยู่อย่างนี้ ก็ไม่ได้แก้ปัญหาอะไร ก็ยังเดินไม่ได้ เลยคิดใหม่ ถ้ามัวจมอยู่กับความทุกข์ ปัญหาไม่ได้ถูกแก้ ทางออกก็จะไม่มี ดังนั้นจึงเปลี่ยนมุมคิด มองปัญหาให้เป็นโอกาส...
เคล็ดลับสะท้อนความสุข ให้หลุดจากความเครียด
เคล็ดลับสะท้อนความสุข ให้หลุดจากความเครียด https://youtu.be/KgCYXNRyH4k หากพูดคำว่า “ความทุกข์, ความเครียด” คำสั้นๆ แต่ส่งผลทางจิตใจมหาศาล พอๆ กับคำว่า “ความสุข”        บางครั้งเราอาจจะคุยกับใคร ต่อใครมากมายในแต่ละวัน ทั้งฟัง โต้ตอบ แต่หากลองถอยห่างออกมา คุณอาจ         จะเห็นว่าเรา “ไม่เคยคุยกับตัวเองเลย” เราจึงมีมุมมองความสุขของ ดร.นพ.วิรุฬ ลิ้มสวาท นักวิจัย สำนักวิจัยสังคมและสุขภาพสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข ผู้ซึ่งเคยผ่านจุดที่ทุกข์ยากมาได้อย่างมหัศจรรย์ แต่ก้าวผ่านมาได้อย่างไรนั้น พบคำตอบได้ที่นี้ ในวันที่เคยทุกข์ที่สุด ไม่รู้ว่าอนาคตจะเป็นยังไง เพราะภรรยาป่วยหนักมากและในตอนที่มารู้ตัว ว่าตัวเองก็ป่วยหนักเหมือนกัน จนไม่รู้ว่าจะมีพรุ่งนี้ไหม หลายคนเข้ามาให้กำลังใจ และมักแนะนำว่า ให้เข้มแข็ง แต่จุดที่ทำให้ผ่านเรื่องราวเหล่านั้นมาได้ คือ ต้องใช้ความอดทน และการอยู่กับปัจจุบัน โดยไม่ต้องเรียกร้องหรือบังคับให้ตัวเองต้องเข้มแข็ง อีกจุด ก็คือ การได้คุยกับตัวเอง ได้มีเวลาคุยกับตัวเองเพราะตลอดเวลาเราคุยกับคนอื่น คุยกับงาน แต่เราทุกคนกลับไม่เคยคุยกับตัวเองเลย การคุยกับตัวเองในรูปแบบของท่าน คือการเขียน การเขียนช่วยให้มองเห็นคำพูดของตัวเอง อีกทางหนึ่งก็คือ เมื่อเวลาผ่านไปการเขียนจะค่อยๆ คลี่คลายความเครียด ความทุกข์ออกไปได้ แล้วในวันข้างหน้า   ก็สามารถกลับมาอ่านเรื่องราวเหล่านั้นได้ และกลับกลายมาเป็นความทรงจำที่ดีในอนาคตอีกด้วย การได้คุยกับตัวเอง กลับกลายมาเป็นความสุขง่ายๆ...
Speak Up in The First Global Patient Safety Day
สรพ. ได้จัดประชุม The First Global Patient Safety Day เมื่อวันที่ 16 – 17 กันยายน 2562 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประกาศและแสดงเจตนารมณ์ขับเคลื่อนเรื่อง Patient Safety ร่วมกับประเทศอื่นๆ ทั่วโลก “Safety Concern in All Actions … ทำอย่างไรให้ทุกๆ วัน เป็นวันที่ผู้ป่วยปลอดภัย” มีเครื่องมือสำคัญ 2 อย่างที่จะช่วยให้ทำ RCA อย่างมีประสิทธิภาพ คือ 1) การเปลี่ยนกระบวนทัศน์ โดยใช้ Driver Diagram เพื่อให้เข้าใจและหลุดจากกรอบคิดเดิม และ 2) การใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ (New Technology) เพื่อให้เกิดความคิดใหม่ในการแก้ปัญหา ดังเช่น Innovation for 2P Safety ที่โรงพยาบาลทั้ง 12 แห่งที่ได้พัฒนาขึ้นและจัดนิทรรศการในงานนี้ นพ.กิตตินันท์ อนรรฆมณี ผอ.สรพ. “Safety, A lot More...
ทางออกของปัญหา กับความสุขที่มีคุณภาพ https://youtu.be/QDhJL-Pv1Rw ปัญหา ปัญหา เชื่อว่าทุกคน ทุกอาชีพ ทุกตำแหน่งหน้าที่ ต้องพบเจอ แต่จะมีสักกี่คนที่จะกล้าเผชิญหน้ากับเรื่อง    ที่เกิด และหากอยากทำให้ปัญหากลับกลายเป็นโอกาส ต้องคิดอย่างไร ปฏิบัติแบบไหน เมื่อเจอเรื่องทุกข์ ควรสร้างระบบการพัฒนาตัวเองอย่างไร เรามาหาแรงบันดาลใจ ในการแก้ไขปัญหา แบบมีความสุขกับ อาจารย์โกเมธ นาควรรณกิจ รองผู้อำนวยการ สรพ. กันคะ งานของผู้เยี่ยมสำรวจ คือ การไขปัญหา ต้องศึกษา ต้องลงพื้นที่ ต้องลงไปแลกเปลี่ยนกับโรงพยาบาล ต้องผจญกับเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น ต้องตัดสินใจ หรือต้องชี้แนะเขา ต้องกล้าที่จะชวนเขาให้แหกด่านบางอย่างออกมานี้ คือการก้าวออกมาจาก Comfort Zone คนเราทุกคนชอบอยู่ใน Comfort Zone ของตัวเอง เพราะรู้สึกว่าอยู่แล้วสบาย แต่จริงๆแล้ว เวลาจะออกจากตรงนี้ สิ่งแรกเลยที่คิด และต้องใช้บ่อยๆ คือ “ความกล้า” เราต้องกล้าและก็ท้าทายตัวเอง กับเรื่องที่เห็นอยู่ ตรงนี้ที่รู้ว่า จะไม่ค่อยราบรื่น หรือสมบูรณ์แบบอย่างที่เคยได้พบมา แต่เราสามารถที่จะลุยออกไปได้ “ท้าทาย ไม่ต้องกลัว” นี้คือส่วนที่อาจารย์คิดอยู่เสมอ พูดถึงความทุกข์ ชีวิตคนเราทุกคนต้องมีความทุกข์ แต่ว่าเรื่องที่ทุกข์อยู่ได้ไม่นาน อาจารย์เล่าว่าเป็นคนที่ไม่เก็บอะไรมาคิดไว้นาน ถ้าเกิดทุกข์จริงๆ...
ความสุขยิ่งใหญ่ ของผู้หญิงตัวเล็ก
ความสุขยิ่งใหญ่ ของผู้หญิงตัวเล็ก https://youtu.be/FmoZD303dCw ในทุกอย่างมีความโชคดีในความโชคร้ายคะ และถ้าคุณหาสิ่งนั้นเจอ ก็ทำให้ชีวิตคุณมีความสุขขึ้นทีละเล็กทีละน้อยได้ คำพูดของผู้หญิงคนหนึ่งที่เคยป่วย เป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองระยะสุดท้ายที่หัวใจ ใช่แล้วคะ คุณฟังไม่ผิด ระยะสุดท้าย และตอนนี้เป็นเพียงแค่อดีตไปแล้ว เราจะพาคุณไปรู้จักกับเธอและ ฟังเรื่องราวต่างๆ ที่ได้ผ่านเข้ามาในชีวิตของเธอ เธอ คือ คุณเบลล่า-ศิรินทิพย์ ขัติยะกาญจน์ วินาทีแรกที่รู้ตัวว่าเป็นมะเร็ง ตอนนั้นเธอยังเรียนไม่จบ และมีความคิดช่วงหนึ่งเข้ามาในหัว ว่าอยากจะทำภารกิจหรือทำหน้าที่ ความรับผิดชอบของตัวเองให้จบก่อน แล้วค่อยกลับมาให้ คีโม แต่พอเธอตั้งสติได้ก็รู้ว่านั้นเป็นความคิดที่ผิดมาก ทำไมจึงคิดถึงสิ่งของนอกกายมากกว่า ร่างกายตัวเอง เราควรให้ความสำคัญกับชีวิตมากกว่าเรื่องอื่นที่เป็นเพียงสิ่งสมมุติขึ้นมาพวกนั้น การป่วยทำให้เธอมองเห็นความสุขทางใจ ที่ไม่เคยมองเห็นมาก่อน ตอนที่ป่วยและรักษาตัวส่วนใหญ่จะอยู่ในห้องสี่เหลี่ยมเล็กๆ แคบๆ ในตึก ความสุขที่เธอทำได้ คือ การอ่านหนังสือและได้มีเวลาทบทวนหลายอย่างในชีวิต ในช่วงที่ทุกข์ที่สุดของเธอก็มี เป็นช่วงที่ไม่อยากมีชีวิตอยู่ต่อแต่ต้องอยู่ ตอนนั้นเธอเล่าว่าทรมานมากๆ และตอนที่ยังอยากมีชีวิตอยู่ต่อ แต่ต้องนอนอยู่ในห้องไอซียูซึ่งอาการหนักมากเรียกว่าเฉียดตายได้เลย เป็นช่วงที่เธอทุกข์กับตัวเองมาก ร่างกายกับจิตใจ ไปกันคนละทาง สิ่งที่ทำให้เธอผ่านช่วงนั้นมาได้ คือการอยู่กับปัจจุบัน และบอกตัวเอง ว่า ตอนนี้ยังกินข้าวได้ ตอนนี้ยังเดินได้ ถึงแม้ไม่มีผมก็ยังมีความสุขได้ คือกลับมาอยู่ที่ปัจจุบัน เรื่องยังไม่เกิดขึ้นอย่าคิดไปเองอย่ากลัวกับสิ่งที่ยังมาไม่ถึง อีกสิ่งที่ต้องทำ คือ เปลี่ยนทัศนคติให้เป็นเชิงบวก ต้องหาข้อดีของแต่ละวัน การที่เราป่วย มีอะไรเกิดขึ้นบ้าง อย่ามองหาแต่ข้อเสีย ความสุขของเธอ คือ การได้อยู่กับธรรมชาติกับหญ้าและต้นไม้ เธอหันมาดูแลตัวเองมากขึ้นด้วยการวิ่งในตอนเช้า...
ชวนสำรวจความสุข ในตัวสาวน้อยคิดบวก
ชวนสำรวจความสุข ในตัวสาวน้อยคิดบวก https://youtu.be/z-74ls-l8Zo เมื่อพูดถึง “สาวน้อยคิดบวก” ทุกคนจะนึกถึง ข่าวนักเรียนไทยที่ไปประสบอุบัติเหตุรถไฟฟ้าที่ประเทศสิงคโปร์    เมื่อปี 2554 นั้น คือ น้องธัญย์ ณิชชารีย์ เป็นเอกชนะศักดิ์ ณ ตอนนั้น มีอายุ เพียง 14 ปี แต่เหตุการณ์นั้น    ไม่ได้ทำให้ น้องธัญย์ ปล่อยตัวให้จมอยู่กับความทุกและอุปสรรคที่เพิ่มเข้ามาในชีวิต น้องธัญย์ กลับเปลี่ยนให้      สิ่งเหล่านั้น กลายเป็นพลังเพื่อสร้างความสุขและรอยยิ้มให้ตัวเองและผู้อื่น เป็นไปได้ยังไงมารองฟังเรื่องราวกันค่ะ ในวันที่ท้องฟ้ามืดมัว แต่น้องธัญย์ก็ยังคิดว่า ความสุขเป็นตัวที่จะช่วยส่งเสริมคุณภาพชีวิตของตัวเอง เรียกว่าเกือบทั้งชีวิตเลย เพราะถ้าวันไหนเราไม่ยิ้ม ก็เหมือนกับชีวิตหมดพลังงาน น้องคิดว่าการยิ้มคือความสุข เป็นการเติมพลังงาน และเป็นกำลังใจในการเดินหน้าต่อไป ให้ตัวเอง เลยเป็นสิ่งที่ทำให้น้อง ยิ้มให้กับคนอื่นเสมอ เพื่อเป็นการเติมพลังงาน บวก ให้กับผู้คนที่ ได้พบเจอ นี้เป็นการสร้างความสุขแบบง่ายๆ ฉบับน้องธัญย์ แต่น้องก็ยังอยากแบ่งปันความสุข เพิ่มขึ้นในอนาคตอีก คือ อยากจะช่วยสร้างความสุขให้กับคนอื่น ที่อาจจะไม่เคยพบเจอกันมาก่อน คือการจัดกิจกรรมดีๆ หรือว่าสิ่งที่ส่งต่อให้กับคนรอบข้างได้ ซึ่งตอนนี้ที่กำลังทำอยู่ และกำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต คือการสร้างงานวิ่งให้คนพิการออกมาทำกิจกรรมวิ่งร่วมกัน นอกจากสร้างความสุขให้ตัวเองและครอบครัวแล้ว ยังมีความคิดดีๆ สร้างความสุขและกำลังใจให้กับ...
เคล็ดลับงานคุณภาพ วันนี้ ชวนมาเรียนรู้เรื่อง ข้อเท็จจริง 10 ประการเกี่ยวกับความปลอดภัยของผู้ป่วย  ในเดือนสิงหาคม 2562 องค์การอนามัยโลกได้จัดทำเอกสาร Patient Safety Fact File ซึ่งแสดงข้อมูลที่ทำให้ทุกคนตระหนักถึงสภาพความรุนแรงของปัญหาและผลกระทบจากเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นจากการให้บริการทางการแพทย์ การเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลในยุคปัจจุบันมีความเสี่ยงสูงกว่าการขึ้นเครื่องบินมาก โอกาสที่คนคนหนึ่งจะขึ้นเครื่องบินแล้วประสบอุบัติเหตุถึงขั้นเสียชีวิตมีเพียงหนึ่งในสามล้าน ในขณะที่โอกาสที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลแล้วเสียชีวิตจากเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่น่าจะป้องกันได้สูงถึงหนึ่งในสามร้อย นั่นคือสูงกว่าการขึ้นเครื่องบินประมาณหนึ่งหมื่นเท่า สถิตินี้เป็นผลมาจากข้อเท็จจริง 10 ประการ ที่พวกเราทุกคนต้องช่วยกันแก้ไขอย่างจริงจัง ข้อเท็จจริงเหล่านี้ได้แก่   1 ใน 10 ของผู้ป่วยประสบอันตรายในขณะเข้ารับการดูแลรักษาที่โรงพยาบาล ซึ่งประมาณครึ่งหนึ่งเป็นเหตุการณ์ที่น่าจะป้องกันได้ เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากบริการทางการแพทย์น่าจะเป็น 1 ใน 10 ของสาเหตุการเสียชีวิตหรือสุขภาพเสื่อมโทรมของคนบนโลกใบนี้ 4 ใน 10 ของผู้ป่วยที่รับการรักษาแบบผู้ป่วยนอกหรือที่คลินิกประสบอันตรายในขณะเข้ารับการดูแลรักษา โดยร้อยละ 80 เกิดจากสาเหตุที่น่าจะป้องกันได้ ซึ่งสาเหตุที่สำคัญคือการวินิจฉัยโรคคลาดเคลื่อน และการให้ยาที่คลาดเคลื่อน ผลของอันตรายเหล่านี้นำมาสู่การที่ผู้ป่วยต้องมานอนโรงพยาบาล ซึ่งเกิดขึ้นประมาณร้อยละ 6 ของการนอนโรงพยาบาลทั้งหมด ร้อยละ 15 ของรายจ่ายด้านสุขภาพในประเทศที่พัฒนาแล้วเกิดจากเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ การลงทุนเพื่อสร้างความปลอดภัยในผู้ป่วยช่วยประหยัดเงินตราจำนวนมาก ในประเทศสหรัฐอเมริกาช่วงปี 2010 – 2015 โครงการที่มุ่งเป้าเพื่อปรับปรุงความปลอดภัยในผู้ป่วยช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพได้ประมาณ 28,000 ล้านดอลล่าร์ ...
- Advertisement -

MOST POPULAR

HOT NEWS