วันอาทิตย์, พฤษภาคม 18, 2025
Ethical Dilemma
  เคล็ดลับงานคุณภาพ วันนี้ชวนคุยเรื่อง แนวทางการจัดการประเด็น Ethical Dilemma หนึ่งในประเด็นทางจริยธรรมที่ยากลำบากในการตัดสินใจของแพทย์ที่ให้การรักษาผู้ป่วยในระยะสุดท้ายของชีวิต คือ ในสถานการณ์ที่ผู้ป่วยกำลังจะเสียชีวิต และไม่น่าจะมีโอกาสรอดแล้ว อาจมีลูกของผู้ป่วยคนหนึ่งที่ดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน และรับรู้ถึงความทุกข์ของทั้งตัวผู้ป่วยเองและผู้ให้การดูแลที่เกิดขึ้นระหว่างช่วงเวลาของการดูแลที่ยาวนานนี้ จึงมีความเห็นที่จะให้ผู้ป่วยจากไปอย่างสงบ แต่จะมีลูกอีกคนหนึ่ง แสดงความจำนงให้ดูแลรักษาผู้ป่วยอย่างเต็มที่และถ้าผู้ป่วยหยุดหายใจ แพทย์ก็ต้องช่วยฟื้นคืนชีพอย่างเต็มที่ ซึ่งความคิดเห็นของญาติที่แตกต่าง อาจจะเกิดขึ้นจาก 1. ความเชื่อว่าการดูแลรักษาและช่วยฟื้นคืนชีพอย่างเต็มที่อาจจะมีปาฏิหาริย์ 2. ความไม่ไว้วางใจว่าการที่แพทย์แนะนำให้หยุดการดูแลรักษาจะเป็นคำแนะนำที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วยรายนี้ แต่อาจะเกิดจากความต้องการประหยัดค่าใช้จ่ายของโรงพยาบาล 3. ความรู้สึกลึกๆ ในใจว่ายังไม่ได้ดูแลบุพการีอย่างดีพอ จึงต้องการแสดงความกตัญญู โดยการดูแลบุพการีของตนให้ดีที่สุดในช่วงสุดท้าย วิธีการที่จะช่วยจัดการกรณีที่มีความคิดเห็นที่แตกต่างของญาติ ได้แก่ - เข้าใจความรู้สึกของญาติผู้ป่วยทุกคน และให้ข้อมูลทางวิชาการที่ชัดเจนและเพียงพอแก่ทุกคน - เคารพในการตัดสินใจของผู้ป่วย (กรณีผู้ป่วยแสดงเจตจำนงที่เป็นไปตามหลักกฎหมาย) หรือของญาติผู้ที่รับมอบหมายให้เป็นผู้ตัดสินใจ - แพทย์บันทึกคำอธิบายที่ได้ให้ไปแก่ญาติ และขั้นตอนการดูแลรักษาที่ครบถ้วนตามความเป็นจริง ไว้ในเวชระเบียน - สื่อสารกับญาติผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง ทั้งในช่วงก่อนและหลังการเสียชีวิตของผู้ป่วย ขอบคุณภาพประกอบ  https://www.pobpad.com
Collaborative Opioid Management for Patient Safety at Home: Practical Consideration
Collaborative Opioid Management for Patient Safety at Home: Practical Consideration “การจัดการความปวดด้วย Opioid ต้องเกิดประสิทธิภาพและปลอดภัย ซึ่งต้องมาคู่กันเสมอ”                                                                                             ...
เคล็ดลับงานคุณภาพ วันนี้ชวนคุยเรื่อง Telemedicine Clinic ในปั๊มน้ำมันปตท.  ซึ่งเป็นรูปแบบการให้บริการผู้ป่วยนอกแบบผู้ป่วยแบบไม่ต้องมาที่โรงพยาบาล เริ่มมีการพัฒนาเป็นรูปธรรมแล้วในประเทศไทย ทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน และเป็นรูปแบบที่น่าจะมีการขยายตัวมากขึ้นในอนาคต เพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ และความต้องการของกลุ่มผู้ป่วยที่ไม่ต้องการไปผจญกับความแออัดที่โรงพยาบาล ในเดือนกันยายน 2562 ปตท. มีแผนความร่วมมือกับมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชในการจัดตั้ง Telemedicine Clinic ในปั๊มน้ำมันของปตท. จำนวน 2 แห่ง ที่อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี และอำเภอเมือง จังหวัดสระแก้ว ซึ่งคลินิกดังกล่าวน่าจะเป็นต้นแบบของการพัฒนาการให้บริการตรวจรักษาผู้ป่วยแบบผู้ป่วยนอก โดยตัวผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องเดินทางมาที่โรงพยาบาลโดยตรง ในคลินิกดังกล่าว จะมีการพัฒนา Application เข้ามาช่วยในการนัดหมาย มีเครือข่าย telemedicine ที่เชื่อมข้อมูลการตรวจและการสนทนาของผู้ป่วยกับแพทย์ที่โรงพยาบาลแม่ข่าย เพื่อให้แพทย์ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับโรคที่เป็นและการสั่งยา มีตู้จ่ายยาในลักษณะเครื่องจำหน่ายสินค้าแบบไม่ต้องใช้คน (vending machine) เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถกดรับยาสามัญทั่วไปที่แพทย์สั่ง ได้ที่ตู้จ่ายยา หรือในกรณีที่ยาที่สั่งไม่มีในตู้จ่ายยา ก็สามารถให้แพทย์สั่งยาจากที่โรงพยาบาล แล้วมีผู้นำยามาส่งและพักไว้ที่ Smart Locker ที่อยู่ในคลินิก เพื่อให้ผู้ป่วยมารับยาที่ Smart Locker ในวันเวลาที่ได้นัดหมายกันไว้ต่อไป ภาพประกอบโดย :https://sehatyab.com/hazarnaimat/tele-medicine-resuscitate-primary-care-pakistan/
องค์ประกอบ SHA จากการเยี่ยมสำรวจ “ดอกไม้ที่สวยที่สุดยังไม่บาน” มาตาราฐาน HA จะยกระดับให้โรงพยาบาลมีคุณภาพประดุจดอกไม้ที่สวยงาม  เมื่อโรงพยาบาลประเมิน HA จะพบว่ามีสิ่งที่เป็นโอกาสพัฒนา ยังไม่ใช่ดอกไม้ที่สวยที่สุด เมื่อเอามาตรฐานเป็นมาตรวัด คนในโรงพยาบาลเกิดความเครียด SHA เพิ่มมุมมองไปที่คนปลูกดอกไม้ บางครั้งดินไม่ดี น้ำแล้ง คนปลูกยังเพียรพยายามปลูกจนได้ดอกไม้ถึงเพียงนี้ SHA จึงเพิ่มมิติที่คุณค่าของคน มิใช่ประเมินเฉพาะคุณค่ามาตรฐาน สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ทรงตรัสไว้ว่า “ฉันไม่ต้องการให้พวกเธอเป็นแต่ เพียงหมอเท่านั้น แต่ต้องการให้เป็นมนุษย์ด้วย” คือ แนวคิดที่ SHA ต้องการเผยแพร่สู่การปฎิบัติ เพื่อให้บุคลากรสาธารสุขให้ การดูแลรักษาคนไข้ด้วยวิชาชีพ และเอื้ออาทรต่อคนไข้ด้วยจิตใจของมนุษย์ที่มีต่อเพื่อนมนุษย์  ดุจคำกล่าว “หมอรักษาไข้ มนุษย์เยียวยาคน”                                               ...
AHA Talk “Chang Organization for Sustainability”                           "ปัญหามีไว้เพื่อแก้ไข อุปสรรคมีไว้เพื่อให้ก้าวข้าม"                                                                    "ความพยายาม ทำให้เกิดการเรียนรู้ อย่างก้าวกระโดด"       ...
ชื่อเรื่อง PTC กับบทบาทการจัดการด้านยา                                                                                  ผู้เขียน  ภญ.จันทร์จารึก รัตนเดชสกุล                           ...
ชื่อเรื่อง การพัฒนาระบบการจัดการด้านยาในการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง                                          ผู้เขียน ภญ.ปภัสรา วรรณทอง                                                                         ...
           วันนี้เคล็ดลับคุณภาพมาชวนคุยเรื่องความเชื่อมั่นที่มีต่อการบริการของโรงพยาบาลที่ได้รับการรับรอง HA กันครับ  ในเดือนมิถุนายน 2562 ที่ผ่านมา สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) ได้จัดทำแบบสำรวจออนไลน์  เพื่อประเมินความเชื่อมั่นของผู้รับบริการที่มีต่อโรงพยาบาลที่ได้รับการรับรอง HA ซึ่งมีผู้ตอบกลับ มาทั้งสิ้น 3,669 ราย จาก 1,011 โรงพยาบาล โดยโรงพยาบาลที่มีผู้ตอบกลับมาสูงสุดคือ 68 รายต่อหนึ่งโรงพยาบาล และต่ำสุด 1 รายต่อหนึ่งโรงพยาบาล ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 70.9 อายุอยู่ในช่วง 21- 40 ปี ร้อยละ 67.1 ศึกษาในระดับปริญญา/ อนุปริญญา ร้อยละ 83.6 ในด้านสิทธิการรักษา เป็นประกันสังคมร้อยละ 42.2 บัตรทองร้อยละ 30.9 สิทธิข้าราชการ/ รัฐวิสาหกิจร้อยละ 24.4 และอื่นๆ ร้อยละ 2.4 สรุปได้ว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นกลุ่มวัยทำงานที่น่าจะคุ้นเคยกับการใช้  Internet  และบริการรักษาพยาบาล  ผู้ตอบแบบสอบถามเคยเห็นและรู้ถึงความหมายของตราสัญลักษณ์ HA ร้อยละ 53.2 เคยเห็นแต่ไม่รู้ว่าคืออะไร ร้อยละ 9.8 และไม่เคยเห็นและไม่รู้ความหมาย ร้อยละ 37.0 เมื่อถามถึงความเชื่อมั่น ผู้ตอบแบบสอบถามเชื่อมั่นในโรงพยาบาลที่ผ่านการรับรอง...
CoP THIP: ชุมชนนักปฏิบัติเพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศเปรียบเทียบวัดระดับคุณภาพโรงพยาบาล วันที่ 23 กรกฎาคม 2562 ณ โรงแรมที เค พาเลซ  THIP & TRUST in Healthcare                                                                                            ...
Measure for Performance excellence การประเมินผล/วัดผลเพื่อขยับการพัฒนาคุณภาพ คือ จะวัดอะไร ที่ผ่านมาหลายๆ ท่านที่พบปัญหาเกี่ยวกับตัวชี้วัด คือปัญหาการกำหนดตัวชี้วัด การวัด การใช้ประโยชน์ การนำไปวิเคราะห์ที่จะช่วยขับเคลื่อนคุณภาพต่อ ถ้าเราอยากวัดจะวัดอะไร และการวัดให้ตรงเป้าจะวัดแบบไหน Performance Measurement หมายถึง ผลสำเร็จของงานที่ตรงตามวัตถุประสงค์หรือตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ การวัดผล วัดเพื่ออะไร                                                                                   ...
- Advertisement -

MOST POPULAR

HOT NEWS