นวัตกรรมเพื่อคุณภาพชีวิต
“มนุษย์เราดำรงได้ 2 สถานภาพ คือ เราจะนำการเปลี่ยนแปลง หรือจะให้การเปลี่ยนแปลงนำเราไปจนเราต้องยอมจำนนกับการเปลี่ยนแปลงนั้น” นพ.สมจิตต์ ชี้เจริญ
“นวัตกรรมไม่ใช่สิ่งที่เข้าถึงยาก จริงๆ แล้วเป็นการนำสิ่งง่ายๆ และใกล้ตัวมาใช้ในการแก้ปัญหา และปัญหาต่างๆ จะแก้ได้ด้วยนวัตกรรมและการร่วมใจกัน” พ.อ.นพ.ชูศักดิ์ ลิ้นทอง
“เราต้องกล้าที่จะเปลี่ยนแปลง ไม่มีอะไรที่ทำไม่ได้ สิ่งสำคัญ คือ การดูแลคนที่ทำงานกับเราให้มีความสุข” เบ็ญจา สบายใจ
“นวัตกรรมเกิดจากวิธีคิด มี 50 อย่างที่บอกว่าเราไม่ควรจะเปลี่ยน แต่มีความคิดเพียง 4-5 อย่างที่บอกว่าเราควรจะเปลี่ยน ซึ่งความคิด 4-5 อย่างนี้จะนำพาพวกเราไปไกลแสนไกล” นพ.สมจิตต์ ชี้เจริญ
เมื่อกล่าวถึงคำว่า “นวัตกรรม” เรามักจะนึกถึงเรื่องของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) ต่างๆ หรือต้องเป็นสิ่งใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อน แต่ในความเป็นจริง นวัตกรรม ไม่ได้หมายถึงสิ่งใหม่ที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อนเท่านั้น อาจไม่ใช่สิ่งที่แปลกพิศดาร บางเรื่องอาจต้องใช้เทคโนโลยีระดับสูงแต่บางเรื่องไม่จำเป็น บางครั้งเป็นสิ่งที่ต้องอาศัยความกล้าที่จะทำ ดังนั้น ในทางปฏิบัติ นวัตกรรมจึงหมายถึงกระบวนการที่จะแปลความคิดจากการทำงานปกติให้กลายเป็นแนวทางหรือบริการที่สร้างคุณค่าให้แก่ผู้รับบริการในมุมมองของผู้รับบริการ
ในเชิงทฤษฎี มีการแบ่งประเภทของนวัตกรรมแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ ต่อไปนี้ เป็นตัวอย่างขององค์กรที่มีการใช้นวัตกรรมประเภท Product innovation คือ สิ่งที่ผลิตขึ้น อาจจะปรับปรุงให้ดีขึ้นจากเดิมหรือคิดค้นใหม่ ก่อให้เกิดประโยชน์และและสร้างคุณค่าใหม่แก่ผู้รับบริการ และ Process innovation คือ...
เปลี่ยนแปลงแสงสว่างแห่งวิชาชีพ
“เมื่อเราได้รับมอบหมายความเป็นวิชาชีพ ความรับผิดชอบเรามา เรารู้สึกภาคภูมิใจ แล้วเราก็ทำหน้าที่เพื่อให้ได้มาซึ่งความรับผิดชอบ แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่เราได้รับมอบหมาย แต่เราไม่ทำหน้าที่ เราจะมีคุณค่าหรือเปล่า เป็นคำถามที่เกิดขึ้น เมื่อเราได้รับมอบหมายให้เป็นหัวหน้างาน หัวหน้าพยาบาลหรือหัวหน้าหน่วย เราได้รับมอบหมายแล้วเราต้องทำหน้าที่จะสอดคล้องกับสถานการณ์หรือเปล่า แล้วจะเหลืออะไรไว้ให้รุ่นน้องถ้ารุ่นเราออกไป ไม่ว่าเราจะขึ้นอยู่ในตำแหน่ง 1 ปี 2 ปี 3 ปี 4 ปี เราต้องงอกอะไรไว้ให้รุ่นน้องบ้าง” (พว.นลกฤช ศรีเมือง)
ทำไมต้องมีการเปลี่ยนแปลง มักเป็นคำถามในทุกองค์กรและทุกวิชาชีพ คำว่า “ทำดีอยู่แล้ว” เป็นกับดัก วิธีคิดของการพัฒนาองค์กร สำหรับระบบสุขภาพของประเทศไทยนั้นมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากในช่วง 10 ปี เนื่องจาก การพลิกโฉมของเทคโนโลยี การก้าวเข้าสู่ ยุค Thailand 4.0 ซึ่งมีผลกระทบกับทุกองค์กรและทุกวิชาชีพต้องปรับตัวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แล้วพยาบาลจะเปลี่ยนอะไร เปลี่ยนแปลงอย่างไร เพื่อให้วิชาชีพพยาบาลพัฒนาควบคู่ไปกับการเปลี่ยนแปลง เป็นวิชาชีพมีความเข้าใจ ความตั้งใจและมีแรงบันดาลใจ ที่จะคงไว้ซึ่งเกียรติ ศักดิ์ศรี มีอัตลักษณ์ มีบทบาทเป็นที่ยอมรับของทีมการดูแลรักษาและสังคม จะเป็นแสงสว่างสำหรับวิชาชีพ “พยาบาล”
พญ.นลกฤช ศรีเมือง ประเด็นการเปลียนแปลงที่มีผลกระทบต่อระบบสุขภาพ และระบบสาธารณสุขประเทศไทยส่งผลต่อวิชาชีพ ผู้บริหารทางการพยาบาลจะมียุทธศาสตร์การปรับตัวและประสานความร่วมมือในการดำเนินงานเพื่อความอยู่รอด ความยั่งยืนของวิชาชีพพยาบาล ที่ดำเนินงานในหน้าที่ของตนเองอย่างงดงาม จากอดีตกลุ่มผู้บริโภคทางสุขภาพจะเป็นเพียงผู้ที่ยอมรับการรักษาหรือรับการให้ดูแล ปัจจุบันพยายามส่งเสริมการสร้างเสริมสุขภาพ เสริมพลังให้เข้ามาร่วมในการรักษา แต่อนาคตอิทธิพลของเทคโนโลยี...
ธนาคารเวลากับภาคีอาสาการดูแลผู้มีอายุยืน
ธนาคารเวลา “วาระแห่งชาติ” เพื่อผู้สูงอายุ ไม่ “แก่อย่างเดียวดาย”
การแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวคิด การดูแลผู้สูงอายุ ด้วยการใช้เครื่องมือแบบใหม่ โดยผู้เชี่ยวชาญจากภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับสังคมผู้สูงอายุ ที่กำลังจะมาถึงในไม่ช้า
ธนาคารเวลา คือ การสะสมเวลาในรูปแบบของบัญชีส่วนบุคคล โดยสามารถเบิกถอนเวลามาใช้เมื่อต้องการความช่วยเหลือ” ซึ่งใช้หลักคิด “Give and take” หลังจากฝากเวลา ด้วยการบริการ ช่วยเหลือ ในด้านสังคม เศรษฐกิจ หรือสุขภาพ ธนาคารเวลา จะมีผู้รับรองและแปลงเวลาให้เป็นเครดิต ซึ่งอาจดำเนินงานผ่าน website หรือ มีสมุดฝาก เมื่อต้องการ ถอน จะมีทางเลือกในการรับผลตอบแทนได้ในหลายรูปแบบ เช่น การรับบริการแบบที่เคยฝากไป การรับเกียรติบัตร รางวัล หรือการส่งต่อผลตอบแทนให้ผู้อื่น จะมีการบริหารจัดการโดย มีการประเมินความต้องการ จับคู่ (Matching) การจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับที่ต้องการ
ธนาคารเวลาเป็นเครื่องมือ ที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชนและองค์กร นั่นคือ ช่วยลดความเหงาซึมเศร้าของผู้สูงอายุ สร้างสัมพันธภาพของเพื่อนบ้าน เสริมสร้างปฏิสัมพันธ์และสร้างเครือข่ายในชุมชน แลกเปลี่ยนทักษะประสบการณ์ ช่วยเหลือเกื้อกูล ตระหนักถึงคุณค่าและศักดิ์ศรีของตนเอง กล้าขอความช่วยเหลือเพราะไม่ได้รับอยู่ฝ่ายเดียว (Give and Take) สุขภาพกายและสุขภาพจิตดีขึ้น เห็นคุณค่าของผู้อื่น ทุกคนเท่าเทียม
ตัวอย่างของธนาคารเวลาที่ดำเนินการในประเทศไทย ได้แก่ ...
TMI พัฒนาระบบเทคโนโลยีโรงพยาบาลเพื่อการเปลี่ยนแปลง
การพัฒนาคุณภาพโดยมุ่งเน้นการปรับปรุงระบบ จะทำให้ระบบนั้นมีการพัฒนาอย่างยั่งยืน ไม่ขึ้นอยู่กับตัวบุคคล
เทคโนโลยีได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่ง ซึ่งมีบทบาทในการขับเคลื่อนองค์กรมากขึ้นเพื่อสร้างความสะดวกสบาย ความปลอดภัย เพิ่มการเข้าถึงข้อมูลเพื่อให้ในการวิเคราะห์แนวโน้ม ไม่เว้นแม้แต่ในระบบบริการสุขภาพ ซึ่งการเตรียมความพร้อมรับความเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านยุทธศาสตร์ บุคลากร โครงสร้างระบบข้อมูลสารสนเทศ และเทคโนโลยี สมาคมเวชสารสนเทศไทย (Thailand Medical Informatics Association - TMI) ได้พัฒนามาตรฐาน Hospital IT Quality Improvement Framework (HITQF - HA IT) เพื่อช่วยให้สถานพยาบาลได้มีพื้นฐานและความพร้อมในการปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว
ปัจจุบันโรงพยาบาลในประเทศไทยได้นำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้เป็นจำนวนมากขึ้น ซึ่งสามารถแบ่งระดับของการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ได้เป็น 3 ระดับคือ
ระดับที่ 1 นำมาใช้สนับสนุนการดำเนินงานประจำวันของโรงพยาบาล เช่น การบันทึกข้อมูลในระบบเวชระเบียน ระบบการเงิน และต่อยอดการเติบโตทางธุรกิจ ...
บทเรียนจาก 13 หมูป่ากับถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน
“เหตุการณ์ครั้งนี้เราพบ Hidden Heroes เยอะมาก น้องที่มารับซักผ้า คนที่มาทำอาหาร ป้าเจ้าของปิ่นมณีรีสอร์ท เด็กหนุ่มอายุประมาณ 16-17 ปี ตัวเล็กๆ ผอมๆ 2 คน ที่โทรบอกว่าไม่มีตังค์ ไม่มีอุปกรณ์ แต่มีรถหกล้อที่จะช่วยขนของบริจาคที่กรุงเทพฯ มาให้ทีม และ Hero อีกหลายคนมากที่ซ่อนอยู่ในงานนี้ ทำให้เราเห็นถึงน้ำใจ พลังใจของคนทั่วโลก จนเราต้องบอกกับตัวเองว่า เราจะไม่ปล่อยให้น้ำใจและพลังใจของทุกคนสูญเปล่า เราไม่มีสิทธิ์ที่จะท้อเลยซักวัน....” (นรินทร ณ บางช้าง)
“มันเกิดการเปลี่ยนแปลงในวิธีคิดของผม ที่ได้มากไปกว่านั้น คือ การเปลี่ยนแปลงในวิธีคิดขององค์กรด้วย....การที่ เราทำเรื่องนี้ให้สำเร็จลงได้ ก็เพราะเราทุกคนมีเป้าหมายที่เหมือนกันคือต้องเอาเด็กออกมาให้ได้ และเด็กทุกคนต้องรอด เมื่อเป้าหมายสูงสุดตรงกันจึงเกิดการทำงานโดยไม่ต้องคิดอะไรมาก ทำอะไรก็ได้เพื่อให้ตอบเป้าประสงค์ และเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความยั่งยืน...” (นพ.สมศักดิ์ อุทัยพิบูลย์)
“เหตุการณ์ที่ถ้ำขุนน้ำนางนอนเป็นจุดศูนย์รวมที่ฉายให้เห็นถึงพลังความรัก พลังของแสงสว่างที่มีอยู่ในมนุษย์ทุกคนที่มารวมกัน ณ เวลานั้น... เรื่องนี้เป็นประวัติศาสตร์ของโลกที่มีคุณค่ามาก เราน่าจะนำสิ่งที่เกิดขึ้นมาถอดบทเรียนข้ามหน่วยงานเพื่อช่วยกันค้นหาคุณค่าว่าอะไรคือคุณค่าของไทยอย่างแท้จริง แล้วเก็บรักษาคุณค่านั้นไว้ ไม่ปล่อยให้มันสูญหายไปกับภารกิจ 18 วันที่จบลงไป....” (ณาตยา แวววีรคุปต์)
เหตุการณ์ 13 หมูป่าติดถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน แม้จะเป็นช่วงระยะเวลาอันสั้น แต่ก็เป็นปรากฏการณ์ความร่วมมือของมวลมนุษยชาติครั้งสำคัญที่เกิดขึ้นจากการบริหารจัดการ ซึ่งทั่วโลกให้คำชื่นชมว่ามีความเฉียบคมและเป็นไปอย่างรวดเร็ว โดยสังคมรับรู้ถึงความช่วยเหลือของผู้เกี่ยวข้องผ่านการนำเสนอตามสื่อสาธารณะต่างๆ...
NSO ; New X wave of disruption
“เราจะ Disruption ตัวเองหรือเราจะรอรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง” (ดร.หรรษา เทียนทอง)
เรากำลังก้าวเข้าสู่ยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงต่างๆซึ่งเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว พลิกหน้ามือเป็นหลังมือ หรือมีสิ่งใหม่ๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา สิ่งเหล่านี้ย่อมกระทบต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่และภาวะสุขภาพอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ในฐานะที่องค์กรพยาบาลเป็นกลไกที่สำคัญในการขับเคลื่อนระบบสุขภาพที่มีคุณภาพ จึงต้องปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรอบด้านและพัฒนาองค์กรไปข้างหน้าให้เหมาะสมและทันต่อสถานการณ์
ดร.หรรษา เทียนทอง และพว.วีรชาติ ชูฤทธิ์ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้วยการสนทนาในรูปแบบการพูดคุยอภิปรายถึงการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมซึ่งในปัจจุบันนั้นตามบทบาทของพยาบาลต้องรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น...
HA Quality Transformation Overview
“ณ วันนี้ การอยู่ที่เดิม คือ การถอยหลัง!” นพ.อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล
การเปลี่ยนแปลงแบบ Transformation คือ การเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานที่ต้องอาศัยการเปลี่ยน Mindset & Culture ขององค์กร HA Quality Transformation Overview มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้เกิดแรงบันดาลใจในการพัฒนาคุณภาพ ตลอดจนการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือคุณภาพอย่างลึกซึ้งถึงแก่น และปัจจัยสำเร็จของเครื่องมือนั้นจะมีส่วนให้เกิด Transformation ในการพัฒนาคุณภาพขึ้นได้
เครื่องมือคุณภาพ (HA tools) เครื่องมือคุณภาพ (HA tools) คือ ตัวช่วยให้เกิดการทำงานที่เป็นระบบ มีขั้นตอน มีหลักเกณฑ์ มีหลักคิด เกิดผลสำเร็จตามเป้าหมายได้ดีขึ้นและง่ายขึ้น โดยมีเงื่อนไขสำคัญคือผู้ใช้ต้องมีความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง การใช้เครื่องมือให้เกิดประโยชน์ต้องเข้าใจเป้าหมายว่าเราใช้เครื่องมือนั้นไปเพื่ออะไรและรู้วิธีการว่าเราจะใช้อย่างไรโดยไม่ติดรูปแบบ ในทางตรงกันข้ามหากเราใช้เครื่องมืออย่างไม่ถูกต้องจะทำให้ติดกรอบและทำงานยุ่งยากขึ้น
เครื่องมือคุณภาพกับ 3 คำถามพื้นฐาน เราสามารถนำ 3 คำถามพื้นฐาน มาช่วยให้เราใช้เครื่องมือได้อย่างถูกต้องมากขึ้น ถ้าเรามีความเข้าใจในการใช้คำถามจะทำให้เรามีความแตกฉานในการใช้เครื่องมือ เป็นอิสระ และไม่ตกเป็นทาสของเครื่องมือ สามารถที่จะกุมบังเหียนว่าเมื่อไรเราจะเลือกใช้หรือไม่เลือกใช้เครื่องมือใด เพราะอะไร ยกตัวอย่างการใช้ 3 คำถามพื้นฐานกับเครื่องมือ Control Chart เพื่อให้เกิดความเข้าใจมากขึ้น ดังนี้
3 คำถามพื้นฐาน
คำอธิบาย
ตัวอย่าง...
Transformation Environment and Back Office
“เราอยู่ในงานสนับสนุนบริการ เราจะทำให้คนของเรามีคุณค่าในการเดินไปกับงานทางคลินิก เราต้องแสดงตัวว่าเราสามารถพัฒนาได้เท่าเทียมกัน เราก็เป็นวิชาชีพหนึ่ง” (โกเมธ นาควรรณกิจ)
การจัดการสิ่งแวดล้อม/หน่วยงาน back office ของโรงพยาบาลในปัจจุบันและอนาคตต้องมีการปรับเปลี่ยนวิธีการด้วยการบูรณาการแนวทางต่างๆเข้าด้วยกันเพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของผู้คนที่เกี่ยวข้อง ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม มีความยั่งยืนและไม่เป็นภาระในการพัฒนาของโรงพยาบาล แนวทางที่จะนำมาพัฒนาสิ่งแวดล้อมและหน่วยงาน back office ในโรงพยาบาล ได้แก่ การประยุกต์ใช้กฎหมาย/ข้อกำหนด/มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง การนำเทคโนโลยี ต่างๆ มาประยุกต์ใช้เช่น การออกแบบอาคารสีเขียว เทคโนโลยีสีเขียว/เทคโนโลยีสะอาด เป็นต้น การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนการทำงานในหน่วยงานสนับสนุนบริการ
ทุกวันนี้โรงพยาบาลได้รับการประเมินทางด้านต่างๆ มากมาย จะบูรณาการอย่างไร ให้ระบบการประเมินเข้าไปสู่งานประจำและทำเป็นเรื่องเดียวกันทั้งหมด จะเห็นได้ว่าสิ่งแวดล้อมมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา สถานการณ์ปัจจุบันที่เรากำลังเผชิญอยู่ ซึ่งมีผลต่อการจัดการจัดการสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ...
เคล็ดลับคุณภาพวันนี้ ชวนมาเรียนรู้ เรื่องการเปลี่ยนแปลงซึ่งนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน กันครับ มีคำกล่าวที่อ้างอิงว่าเป็นของ Albert Einstein ว่า “We cannot solve our problems with the same thinking we used when we created them.” คำกล่าวนี้ชวนให้พวกเรากลับมาทบทวนกระบวนการพัฒนาคุณภาพที่เรากำลังทำกันอยู่ในโรงพยาบาลว่า เรากำลังแก้ไขปัญหาอุปสรรคต่างๆ ที่เผชิญอยู่ โดยใช้กรอบวิธีคิดเดิม กระบวนการคล้ายๆ เดิม แล้วหวังว่าจะมีการพัฒนางานจนได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้น ใช่หรือไม่ ซึ่งถ้าคำตอบคือ “ใช่” คำตอบนี้ก็น่าจะเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่า ผลลัพธ์ที่คาดหวังนั้นน่าจะไม่เป็นไปตามที่หวัง หรือถึงเป็นไปตามที่คาดหวัง ผลลัพธ์นั้นก็น่าจะเกิดขึ้นในช่วงสั้นๆ ไม่ยั่งยืน
เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นและเราได้รับรู้ เปรียบเสมือนยอดขนาดเล็กของภูเขาน้ำแข็งที่โผล่พ้นน้ำขึ้นมาให้เราเห็น ยอดนี้ตั้งอยู่ฐานขนาดใหญ่มาก ที่ซ้อนกันขึ้นมาเป็นชั้นๆ โดยชั้นล่างสุด คือ โลกทัศน์ ซึ่งเป็นตัวกำหนดทฤษฎี ความเชื่อ และวิธีคิด ที่จะกำหนดการออกแบบโครงสร้างองค์กรและระบบงาน ซึ่งจะมีอิทธิพลต่อรูปแบบและพฤติกรรมการทำงานของเจ้าหน้าที่ อันนำมาสู่เหตุการณ์ต่างๆ ที่เราได้รับรู้
บ่อยครั้งที่เมื่อมีการวิเคราะห์ปัญหาแล้ววางแผนการพัฒนา คำตอบที่ได้ คือ “อบรมให้ความรู้เจ้าหน้าที่” ซึ่งคำตอบลักษณะนี้ คือ ตัวอย่างของการแก้ไขปัญหา ที่อยู่บนฐานความคิดเดิม เป็นการแตะปัญหาที่ระดับพฤติกรรม...
Quality Learning
The miracle of Salt Form: One difference Leads to a Big Change of Medication
Quality Learning -
The miracle of Salt Form: One difference Leads to a Big Change of Medication
เกลือ ไม่เพียงแต่ให้คุณประโยชน์ เท่านั้น ในทางกลับกัน เกลือ ก็อาจทำให้เกิดโทษได้ จากโครงสร้างยาสูตรดั่งเดิม แต่เมื่อเติมเกลือ สิ่งที่เกิดขึ้นกับยา กลับทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างน่าอัศจรรย์ จริงๆ
เกลือ (Salt) ซึ่งคนส่วนใหญ่คิด มักเจาะจงไปเรื่องประโยชน์จากความเค็มของเกลือ แต่ในความเป็นจริงนั้น เกลือ ไม่เพียงแต่ให้ความเค็ม ยาบางตัวเมื่อได้เติมเกลือไปทำให้ โมเลกุลทางเคมีของยาจากสูตรดั้งเดิมเป็นรูป Salt form เป็นสิ่งมหัศจรรย์ที่ทำให้ยามีการออกฤทธิ์เปลี่ยนไปสามารถให้ทั้งคุณประโยชน์และโทษ จนหลายคนอาจคาดไม่ถึงเลยทีเดียว
การ Form เกลือ เพื่ออะไร ...