Poster
โครงการพัฒนารูปแบบการดูแลสตรีตั้งครรภ์ในสถานพยาบาล เพื่อลดจำนวนทารกน้ำหนักน้อยในจังหวัดลำพูน
administrator -0
พิธีกร
ขยายผลวิธีการดูแลสตรีตั้งครรภ์ เพื่อลดจำนวนทารกน้ำหนักน้อยลงสู่ระดับพื้นที่ในจังหวัดลำพูน ศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่จึงมีโครงการพัฒนารูปแบบโครงการการดูแลสตรีตั้งครรภ์ในสถานพยาบาล โครงการดังกล่าวนี้มีการพัฒนาอย่างไร จะบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้หรือไม่เราไปชมผลงานชิ้นนี้กันเลยครับ
พิธีกร
สวัสดีครับอาจารย์ครับ วันนี้เรามาพูดคุยถึงโครงการพัฒนารูปแบบการดูแลสตรีตั้งครรภ์ในสถานพยาบาล เป้าหมายของโครงการนี้เป็นอย่างไรครับอาจารย์
พ.ญ.ทองทวี ศุภาคม
เรามีเปาหมายก็คือว่าเราต้องการขยายผลวิธีการดูแลสตรีตั้งครรภ์เนี้ยนะคะ เพื่อที่จะลดจำนวนทารกน้ำหนักน้อยที่เราประสบความสำเร็จแล้วใน รพสต.ศูนย์อนามัยที่ 1เชียงใหม่ ลงสู่พื้นที่ที่ยังประสบปัญหาอยู่ในเขตสุขภาพที่ 1 นะคะ ซึ่งในระยะแรกเนี้ยเราก็เลือก 3 รพ.ในเขตสุขภาพที่ 1ที่มีสถิติทารกน้ำหนักน้อยสูงที่สุดนะคะ ก็จะเป็น 3 รพ.คือ รพ.ลี้ ลำพูน แล้วก็ทุ่งหัวช้าง
พิธีกร
ก่อนหน้านี้เราประสบปัญหาอะไรบ้างครับจึงทำให้เราคิดโครงการดีๆ นี้ขึ้นมาครับ
พ.ญ.ทองทวี ศุภาคม
เราประสบปัญหาอย่างมากคะในเรื่องของงบประมาณที่ใช้ในการดูแลทารกน้ำหนักน้อยซึ่งทารกหนึ่งคนเนี้ยจะต้องใช้เงินถึงประมาณ 500,000 บาท ถ้าเป็นทารกที่คลอดก่อนกำหนดนะคะ แล้วก็ไม่มีเตียงเพียงพอที่จะรับทารกเหล่านี้นะคะ ทำให้มีปัญหามากที่สุดในการส่งต่อทารก เราจึงได้ย้อนกลับมาคิดว่า ถ้าเราไม่มีจำนวนทารกน้ำหนักน้อยสูงๆ เนี้ย ปัญหาภาระต่างๆ เหล่านี้ ควรจะต้องหายไปนะคะ รวมถึงว่าเด็กทารกที่มีน้ำหนักน้อยเนี้ยนะคะ ก็จะมีปัญหา ตั้งแต่พัฒนาการล่าช้า การเจริญเติบโตไม่สมวัย แล้วก็ส่วนสูงในอนาคตก็จะต่ำกว่าเกณฑ์อีก รวมถึงการเกิดเรื้อรังทางอายุรกรรม เวลาที่เค้าโตเป็นผู้ใหญ่จะมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจ โรคเบาหวานโรคความดันสูงกว่าเด็กที่มีน้ำหนักปกติคะ เพราะฉะนั้นเราสามารถลดทารกเหล่านี้ลงได้เนี้ย แน่นอนที่สุดค่ะงานที่หนักๆ ทางด้านสาธารณสุขเราจะต้องลดลงคะ ตลอด 10 ปีที่ผ่านมาเนี้ยนะคะ เราเปรียบเทียบว่าปัญหาของทารกน้ำหนักน้อยซึ่งเกิดจากทารกที่คลอดก่อนกำหนดและทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์เนี้ยมันอยู่ใต้ภูเขาน้ำแข็งเนี้ยมานานนับ 10 ปีไม่มีใครแก้ไขได้ แล้วก็เป็นตัวชี้วัดที่ไม่ผ่านการประเมินของรัฐบาลเลยตลอด 10 ปีที่ผ่านมา...
พิธีกร
การพัฒนาชุดอุปกรณ์และรูปแบบการสอนการฝึกผ่าตัดส่องกล้องจำลองของ รพ.รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กรุงเทพฯ การพัฒนาในครั้งนี้จะบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้หรือไม่ และสิ่งที่ รพ.ได้รับจากการพัฒนาผลงานชิ้นนี้ คืออะไร มีการวัดผลและเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้างเราไปชมผลงานชิ้นนี้กันเลยครับ
พิธีกร
สวัสดีครับ เราจะพูดคุยในส่วนของการพัฒนาอุปกรณ์แล้วก็รูปแบบการพัฒนาการผ่าตัดในการส่องกล้องในรูปแบบต่างๆ ที่ รพ.รามาธิบดีคิดค้นผลงานชิ้นนี้ขึ้นมา ครับผมอยากทราบในส่วนของเป้าหมายและตัวชี้วัดของผลงานชิ้นนี้ครับ
นพ.รัฐภูมิ วัชโรภาส
สำหรับเป้าหมายและตัวชี้วัดที่สำคัญของการพัฒนาอุปกรณ์ชิ้นนี้คือ การที่แพทย์ประจำบ้านนะครับได้ฝึกการผ่าตัดส่องกล้องจำลองที่มีความเสมือนจริงนะครับ ทำให้เค้าเนี้ยสามารถได้รับการเรียนรู้แล้วก็ทักษะที่เป็นพื้นฐานในการผ่าตัดส่องกล้องจำลองนะครับ ซึ่งอาจจะพัฒนาให้เค้ามาเป็นแพทย์ผ่าตัดส่องกล้องจำลองที่ดีในอนาคตได้ครับ เพราะฉะนั้นตัวชี้วัดที่สำคัญของเราก็คือการที่แพทย์ประจำบ้านนะครับได้ผ่านการเรียนรู้นะครับ ทุกคนที่ได้ผ่านการเรียนของคณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดีครับ แล้วก็มีการพัฒนาความพึงพอใจนะครับ แล้วก็พัฒนาเรื่องของทักษะต่างๆ ที่เค้าจำเป็นจะต้องได้รับจากการผ่าตัดส่องกล้องครับผม
พิธีกร
ก่อนหน้านี้กระบวนการวิธีการ การเรียนการสอนเป็นอย่างไรบ้างครับ
นพ.รัฐภูมิ วัชโรภาส
การเรียนการสอนในจุดนี้นะครับ ส่วนใหญ่แพทย์ประจำบ้านนะครับมีโอกาสน้อยมากที่จะได้ลงมือปฏิบัติจริงในการผ่าตัดส่องกล้องนะครับ เพราะว่ามีความซับซ้อน แล้วก็อุปกรณ์ต่างๆ มีราคาแพงครับผม เพราะฉะนั่นการพัฒนาตรงจุดเนี้ยทำให้แพทย์ประจำบ้าน สามารถจะเข้าถึงและได้เรียนรู้การผ่าตัดส่องกล้องนะครับ ผ่านการผ่าตัดส่องกล้องจำลองนะครับที่ทำเสมือนจริง ทั้งรูปแบบและก็อุปกรณ์นะครับ โดยที่เราพัฒนาอุปกรณ์มาเนี้ย จากอุปกรณ์ต่างๆ ที่มีราคาย่อมเยานะครับ แล้วก็สามารถที่จะหาโดยง่ายนะครับ
พิธีกร
เป็นการผลิตเองใช่มั้ยครับ ภายในประเทศ
นพ.รัฐภูมิ วัชโรภาส
ก็จริงๆ อุปกรณ์ต่างๆ เราเนี้ยก็สืบหาแล้วก็ราคาที่สามารถจับต้องได้ ราคาจากต่างประเทศก็จะมีราคาสูงนะครับ แล้วก็ต้องมีค่าที่ต้องบำรุงรักษาอีก แต่ถ้าเกิดเราจะพัฒนาใช้อย่างยั่งยืนและสามารถใช้ได้อย่างต่อเนื่อง สิ่งสำคัญเราก็จะต้องผลิตขึ้นมาเองครับ
พิธีกร
ที่เราดำเนินการมาเราได้มีการเรียนการสอน การทดลองไปแล้วเป็นอย่างไงบ้างครับอาจารย์ครับ
นพ.รัฐภูมิ วัชโรภาส
ก็แพทย์ประจำบ้านส่วนใหญ่ก็มีการตอบรับที่ดีว่ามีความพึงพอใจ แล้วก็รู้สึกว่าเข้าใจในการเรียนรู้ การผ่าตัดส่องกล้องจำลองที่มีความซับซ้อนยิ่งขึ้นนะครับ เราจะเน้นให้แพทย์ประจำบ้านทุกชั้นปีนะครับ ได้เรียนรู้นะครับ ทำให้เค้าสามารถที่จะเข้าใจตั้งแต่เค้าเป็นแพทย์ประจำบ้านปีที่ 1 2 3 และเข้าใจมากยิ่งขึ้น
พิธีกร
ผลลัพธ์ที่ได้เป็นอย่างไรบ้างครับอาจารย์
นพ.รัฐภูมิ วัชโรภาส
ซึ่งในจุดนี้ผมว่าเป็นความสำคัญอย่างมากให้แพทย์ประจำบ้านมีทักษะที่ดี ในระหว่างที่เค้าฝึกผ่าตัดกับผู้ป่วยจริงก็จะเกิดความปลอดภัย เค้าก็จะมีความมั่นใจ...
พิธีกร
ขยายผลวิธีการดูแลสตรีตั้งครรภ์ เพื่อลดจำนวนทารกน้ำหนักน้อย
พิธีกร
สวัสดีครับวันนี้พูดถึงโครงการผลงานชิ้นนี้นะครับ สูตรอาหารแห่งความทรงจำเป้าหมายเป็นยังไงครับอาจารย์
วลัยพรรณ ภู่เพนียด
เป้าหมายเนี้ยเราต้องการให้ผู้ป่วยนะคะได้รับประสบการณ์ที่ดีตั้งแต่มื้อแรกที่มารับประทานอาหารที่ รพ.มีการพูดถึง มีการบอกต่ออันนี้คือเป้าหมายหลักในการทำโครงการนี้นะคะ ที่ รพ.เราจะมีการรณรงค์ให้แต่ละแผนกคะมีการทำเซนส์หลุยส์โมเดล หลักการของเซนส์หลุยส์โมเดลก็คือเราแต่ละแผนกมีโอกาสเข้าไปคุยกับกลุ่มเป้าหมายของเรา กลุ่มเป้าหมายของแผนกโภชนาการก็คือ ผู้ป่วยนะคะที่รับประทานอาหารที่ รพ. พอดีว่าทาง รพ.นะคะก็จะมีกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นผู้สูงอายุ เหมือนมานอนพักฟื้นอะไรแบบเนี้ยนะคะ เป็นจำนวนเยอะเหมือนกันคะ เราก็เลยได้มีโอกาเข้าไปสอบถามพูดคุยถึงความต้องการ อันนี้คือจุดประกายแรกเลยที่ได้ทราบถึงความต้องการหลักของคนไข้
พิธีกร
ขั้นตอนกระบวนการของผลงานชิ้นนี้เรามีเริ่มต้นยังไง แล้วบทสรุปสุดท้ายคนไข้เป็นยังไงบ้างครับ
วลัยพรรณ ภู่เพนียด
มาจากแนวคิดก่อนคะ เวลาที่พวกเราหรือทุกคนนะคะเจ็บป่วย หรือไม่สบายเนี้ยคะก็มักจะมีเมนูอาหารอยู่ในใจ ซึ่งเมนูเหล่าเนี้ยคะ มักจะมาจากพ่อเรา แม่เราหรือคนที่เรารักเนี้ยจะเป็นคนที่ทำให้เราทาน ซึ่งมันมาจากความรักที่ว่าอยากจะให้คนที่เจ็บป่วยในครอบครัวหายเร็วที่สุดแบบเนี้ยคะ เราก็เลยนำแนวคิดเนี้ยเข้าไปสัมภาษณ์พุดคุยกับคนไข้ ก็ปรากฏว่าคนไข้ก็ถ่ายทอดเมนูกับมาให้เรา เค้าได้ย้อนวัยกลับไปในช่วงอดีตนะคะ บางคนพูดคำนี้ออกมาเลยว่าเหมือนนึกถึงภาพในอดีตจังเลย เพราะว่าเราได้สูตรอาหารมาบุ๊ปนะคะ เราได้มีการมาทดลองทำ ตามรายละเอียดที่เค้าให้ไว้ แล้วก็ส่งกลับให้กับเจ้าของต้นตำรับฝากชิมว่า รู้สึกยังไงยบ้างมีความใกล้เคียงกับรสชาติที่เค้าเคยได้รับมั้ย ก็ปราฎกว่าเค้ามีความสุขจากการรับประทานเพิ่มขึ้น แล้วก็ได้รับการเยี่ยวยาทางด้านจิตใจ แต่ว่ามีกระบวนการต่อยอดด้วยนะคะ อันนี้ก็คือจากสูตรอาหารที่เราได้มาจากต้นตำรับ เราก็จะมีการขออนุญาต เจ้าของต้นตำรับก่อนว่า ถ้าเราอยากจะส่งต่อเมนูเหล่าเนี้ยไปยังผู้ป่วยท่านอื่นๆ ที่นอน รพ. เนี้ย จะเป็นไปได้มั้ย ทุกเครสที่เราไปติดต่อก็ได้รับการอนุญาตนะคะแล้วเค้าก็รู้สึกดีมากเลยคะว่า มันจะเป็นอย่างนั่นจริงหรา สูตรที่เค้าเล่าให้เราฟังเนี้ยมันจะไปถึงคนไข้คนอื่นจริงหรา พอเราได้รับการอนุญาตเราก็มาคิดกันต่อในทีมงานนะคะว่า กระบวนการต่อยอดเนี้ย เราจะถ่ายทอดเมนูอาหารแล้วไปสู่เรื่องเล่าจากเมนูเจ้าของต้นตำรับได้อย่างไรค่ะ ก็เลยออกมาเป็นแบบที่รองถาด อันนี้ก็จะเป็น 1 ตัวอย่าง เป็นสูตร อันนี้เป็นผู้ป่วยท่านแรกเลยคะที่เราได้ไปสัมภาษณ์มานะคะ ในแนรองถาดเนี้ยคะเราก็จะออกแบบถ่ายทอดเรื่องเล่าจากเมนูด้วย...
Poster
จากโฮงยาไทยสัญจร สู่ Intermediate care การดูแลระยะกลาง เครือข่ายจังหวัดเชียงราย
administrator -
พิธีกร
จากโฮงยาไทยสัญจรสู่ Intermediate Care การดูแลระยะกลาง เครือข่ายจังหวัดเชียงราย ผลงานชิ้นนี้จะมีกระบวนการทำงานอย่างไร เราไปชมกันเลยครับ
พิธีกร
สวัสดีครับ จากชื่อโฮงยาไทยชื่อก็น่าสนใจนะครับอาจารย์ โครงการนี้เป็นยังไงครับ
นพ.ฐานุตร์ ถมังรักษ์สัตว์
โครงการนี้เนี้ยตอบโจทย์นโยบายของกระทรวงครับ นโยบายกระทรวงเนี้ย ก็คือว่าจะใช้เรื่อง Intermediate Care เนี้ยมาช่วยเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วย โดยเป้าหมายที่เราวางไว้เราก็จะลดความแออัด ประการแรกนะครับ ลดความแออัดใน รพ.ศูนย์ อันดับสองเนี้ยเพิ่มศักยภาพของ รพ.ชุมชน อันดับสามคือเพิ่มคุณภาพชีวิตให้ผู้ป่วย โดยกระบวนการเนี้ยก็คือว่า เมื่อผู้ป่วยมาเป็นช่วงที่ผู้ป่วยมาที่ รพ.ศูนย์เชียงรายประชานุเคราะห์เนี้ย แต่ก่อนเราก็อยู่จนกระทั้งผู้ป่วยหายดี จนกระทั่งกลับบ้านเดินได้ คืออยู่นานมาก จาก 7 วัน ถึง 20 วันเป็นอย่างต่ำ เมื่ออาการเค้าดีขึ้นจึงกลับบ้าน เพราะฉะนั่นความแออัดจึงเยอะมาก เมื่อผู้ป่วยอาการดีขึ้น ระดับความคงทีเนี้ยสักประมาณ 2-3 วัน เราก็ส่งตัวผู้ป่วยกลับ ส่งกลับไปยัง รพ.ใกล้บ้าน ใกล้ใจ ทีนี้ขั้นตอนในการส่งกลับไป เราก็ต้องเพิ่มศักยภาพให้กับ รพ.ชุมชนว่าเค้าจะจัดการดูแลผู้ป่วยอย่างไร มาตรฐานจะเหมือน รพ.ศูนย์เชียงรายหรือเปล่า อันนี้มันก็เป็นความเป็นห่วงอยู่ของแพทย์เฉพาะทางที่ รพ.เชียงราย เพื่อให้เกิดความมั่นใจของผู้ป่วยและก็คุณภาพชีวิตที่เค้าจะต้องอยู่ที่นั่นด้วย เพราะเค้าจะได้รับการดูแลรักษาแบบไหน ดังนั่นเนี้ยโครงการโฮงยาไทยสัญจรเรื่องของ Intermediate Care เรื่องของการดูแลระยะกลางเนี้ยจึงเกิดขึ้น ด้วยความร่วมแรงร่วมใจกันระหว่างทีมแพทย์ ทีมพยาบาล...
Poster
การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน จังหวัดอุบลราชธานี
administrator -
พิธีกร
รพ.นาตาล จ.อุบลราชธานี ได้พัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ผลงานชิ้นนี้มีกระบวนการอย่างไร ประชาชนในพื้นที่เกิดความพึงพอใจมากน้อยแค่ไหนเราไปชมผลงานชิ้นนี้กันเลยครับ
พิธีกร
สวัสดีครับ อาจารย์ครับการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน จ.อุบลราชธานี งานวิจัยนี้มีเป้าหมายอย่างไรครับอาจารย์ครับ
ดร.จักรพงศ์ ปิติโชคโภคินท์
งานวิจัยนี้ก็คือ 1. มีเป้าหมายก็คือให้เกิดการมีส่วนร่วมของชุมชน ชุมชนในทีนี้ก็คือภาคีเครือข่าย ไม่ว่าจะเป็นตัวชุมชนหรือว่าองค์กรเอกชน ร่วมไปถึงบุคคลในชุมชนให้เกิดการมีส่วนร่วมกัน 2.ก็คือเพิ่มความพึงพอใจของตัวผู้รับบริการแล้วก็ของตัวเจ้าหน้าที่ สุดท้ายก็คือเพิ่มคุณภาพชีวิตของกลุ่มผู้สูงบอายุกลุ่มติดบ้านนั่นเอง
พิธีกร
ณ ตอนนี้ รพ.นาตาลเองก็ได้ทำงานวิจัยขึ้นมาและได้นำมาใช้ด้วย หลังจากที่เราใช้แล้วเป็นยังไงครับอาจารย์
ดร.จักรพงศ์ ปิติโชคโภคินท์
ก็อุบัติการณ์ของการมีส่วนร่วมมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น แล้วก็อัตราความพึงพอใจก็มีแนวโน้มมากขึ้น ที่ส่งผลได้ดีที่สุดนะครับก็คือเรื่องของคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยของผู้สูงอายุที่ติดบ้านนั่นเองทำให้เกิดมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น แล้วก็ที่สำคัญที่สุดเรามีรูปแบบที่ชัดเจนแล้วก็เกิดการมีส่วนร่วมของแต่ละองค์กรครับมมมม่
พิธีกร
คือก่อนหน้านี้เราก็มีรูปแบบแต่อาจจะยังไม่ชัดเจนมากนัก ตอนนี้เราก็ใช้หลักการทางการวิจัยเข้ามาเพื่อหารูปแบบที่เหมาะสม โดยให้ชุมชนเองเนี้ยมีส่วนร่วมกับการดูแลผู้สูงอายุในงานนี้ด้วย แล้วกระบวนการการพัฒนางานวิจัยชิ้นนี้มีกระบวนการอย่างไรครับอาจารย์
ดร.จักรพงศ์ ปิติโชคโภคินท์
กระบวนการก็เน้นก็ส่วนมากก็จะเริ่มต้นจากกระบวนการวิจัยก่อนก็จะใช้กระบวนการวิจัยแบบมีส่วนร่วม หลังจากนั่นก็จะเข้าสู่กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน โดยให้ชุมชนเริ่มต้นตั้งแต่มีการวางแผน การลงมือทำ การติดตามประเมินผล แล้วก็กลับเข้ามาสู่ในเรื่องของการวางแผนอีกครั้งหนึ่งเพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนนะครับ ส่วนมากกิจกรรมการวางแผนก็จะตอบสนองบริบทแล้วก็ทำให้เกิดการมีส่วนร่วมได้ดีขึ้นครับ อันนี้ก็มีกระบวนการที่ค่อยข้างสำคัญ ส่วนเรื่องของการวัดตัวชี้วัด การวัดคุณภาพชีวิตแล้วก็ความพึงพอใจ เราก็จะมีการเก็บเป็นระยะๆ
พิธีกร
ก็คือเรียกได้ว่าในส่วนนี้เป็นการวิจัยที่มีการมีส่วนร่วมของชุมชน โดยชุมชนเนี้ยก็คือนักวิจัยด้วย เป็นคนที่ให้หัวข้อ ให้แนวคิด ให้วิธีการด้วย ก่อนที่จะมาสู่รูปแบบที่ชัดเจน ก็เรียกได้ว่า ภาครัฐ เอกชน แล้วก็ชุมชนทั้ง 3 ฝ่ายสอดประสานกันทำให้งานวิจัยงานนี้ออกมาประสิทธิภาพ แล้วคุณภาพของเราเป็นอย่างบ้างครับอาจารย์จากกราฟที่เรานำไปใช้
ดร.จักรพงศ์ ปิติโชคโภคินท์
จากผลของงานวิจัยเนี้ยส่วนมากก็จะเป็นผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน โดยอาศัยอยู่คนเดียวลำพัง หรือว่าอยู่กับลูกหลาน ก็จะพบในส่วนของอัตราการป่วยด้วยโรคเรื้อรังเป็นจำนวนมาก ส่วนก่อนหน้านี้คุณภาพชีวิตจะอยู่ในระดับต่ำแต่ว่าหลังจากมีการพัฒนาก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของกระบวนการก็เลยทำให้คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นแล้วก็อาจจะอาศัยเรื่องของการดูแลที่มีความเหมาะสมทั้งด้านร่างกาย จิตใจแล้วก็ด้านสังคมครับ เพิ่มมากขึ้น ทำให้เรื่องของความพึงพอใจเองนะครับ...
พิธีกร
โรงพยาบาลกับโรงเรียนมีความเกี่ยวข้อง เชื่อมโยงกันอย่างไรในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยออทิสติกของ รพ.ยุวประสาทไวทโยปถัมภ์ จ.สมุทรปราการ เราไปชมผลงานชิ้นนี้กันเลยครับ
พิธีกร
สวัสดีครับอาจารย์ วันนี้เรามาพูดถึงการเรียน การรับรู้รวมถึงการดูแลรักษาสำหรับผู้ป่วยนะครับ ก่อนอื่นผมอยากจะสอบถามเป้าหมายของผลงานชิ้นนี้ว่าทาง รพ.เองมีเป้าหมายอย่างไรครับ
ธิรดา ศรีทองสุข
สำหรับเป้าหมายของเรานะคะ ก็เป็นการเพิ่มอัตราการเข้าเรียนของผู้ป่วยออทิสติกให้เหมาะสมกับระดับความสามารถ แล้วก็ 2.ก็คือเป็นการเพิ่มจำนวนสถานศึกษาที่สามารถดูแลผู้ป่วยออทิสติกได้อย่างเหมาะสมคะ โรงเรียนก็จะมี 3 แบบ ก็คือเป็นการเรียนร่วมในห้องเรียนปกติ แล้วก็เป็นการเรียนร่วมในโรงเรียนที่มีห้องการศึกษาพิเศษ แล้วก็จะมีโรงเรียนการศึกษาพิเศษโดยเฉพาะคะ
พิธีกร
เป็นโรงเรียนเฉพาะเลย ก่อนหน้านี้ก่อนที่เราจะทำผลงานชิ้นนี้ขึ้นมาเกิดปัญหาอะไรขึ้นมาครับ
ธิรดา ศรีทองสุข
ปัญหาที่เราเจอก็คือว่าผู้ป่วยทิสติกไม่สามารถเข้าโรงเรียนหรือเข้าไปแล้วจะอยู่ในระบบการศึกษาได้ไม่นาน เราจึงได้มีการมาพูดคุยกันนะคะ โดยผ่านผู้ปกครอง แพทย์แล้วก็ทีมสหวิชาชีพ พบว่าปัญหาหลักๆ มันจะเกิดขึ้นจาก 3 อย่าง ก็คือ 1. ด้วยสภาวะของโรคนะคะและก็พฤติกรรมของผู้ป่วยเอง แล้วก็ 2. ก็คือจะเป็นความเหมาะสมของประเภทความสามารถของผู้ป่วยกับประเภทของโรงเรียน แล้วก็คือ 3. ก็คือศักยภาพในการดูแลของสถานศึกษา่
พิธีกร
แล้วหลังจากที่เราได้ดำเนินการเป็นยังไงบ้างครับ
ธิรดา ศรีทองสุข
หลังจากที่เราเริ่มพัฒนานะคะ เรามีการพัฒนาเป็น 3 รอบ โดยในปีแรกนะคะ ในเรื่องของการที่เราได้สอบถาม สัมภาษณ์กับทางโรงเรียนในเรื่องของลักษณะที่โรงเรียนต้องการสำหรับเด็กพิเศษนะคะในแต่ละประเภทแล้วหลังจากนั่นนะคะเราก็ได้มีการมาแบ่ง เลเวลของเด็กตามความสามารถ แล้วก็เราให้คำปรึกษาผู้ปกครองในเรื่องของการเข้าเรียน ซึ่งผลออกมาก็คือคนไข้สามารถเข้าโรงเรียนเนี้ยได้ร้อยละ 67 หลังจากนั้นเราก็มีการพัฒนาโปรแกรม โปรแกรมฝึกความสามารถของคนไข้ให้มีความสามารถสอดคล้องกับที่โรงเรียนต้องการ แล้วก็เกิดเป็นในรอบของการพัฒนาที่ 2 ในปี 2560 ก็คือเราปรับโปรแกรมในเรื่องของการฝึกผู้ป่วย คือเรามีการมาคุยกันว่าคนไข้ที่มีปัญหาก็คือ คนไข้ที่อยู่ในระดับ 2H กับ...
Poster
การลดระยะเวลารอคอบพบแพทย์ของผู้ป่วย ESI Level 3 ที่เข้ารับบริการที่ห้องตรวจ Urgent Care
administrator -
พิธีกร
การนำแนวคิด lean มาพัฒนาระบบการคัดกรอง เพื่อเป็นการลดระยะเวลาการรอคอยพบแพทย์ผู้ป่วย ESI Level 3 ที่เข้ารับบริการที่ห้องตรวจ Urgent Care โครงการนี้มีการพัฒนาอย่างไรและบทเรียนที่ได้รับมีอะไรบ้าง เราไปพูดคุยกับเจ้าของโครงการชิ้นนี้กันเลยครับ
พิธีกร
สวัสดีครับ โครงการลดระยะเวลาในการรอคอยพบแพทย์ถือว่าเป็นอีกหนึ่งโครงการที่เป็นของขวัญของผู้ป่วยและญาติผู้ป่วยด้วย เป้าหมายของโครงการนี้เป็นอย่างไรครับอาจารย์
พว.กมลพร สิริคุตจตุพร
เป้าหมายคือเพิ่มจำนวนผู้ป่วย ESI Level 3 ให้ได้รับการพบแพทย์ภายใน 60 นาที
พิธีกร
เพราะฉะนั่นหมายถึงโครงการนี้ก็ได้กำหนดระยะเวลาแล้วว่าผู้ป่วยต้องได้รับการรักษาหรือได้พบแพทย์ภายใน 60 นาที ก่อนหน้านี้เราพบเจอปัญหาอะไรที่เรียกได้ว่าเป็นปัญหาที่เราปล่อยไม่ได้ล่ะ เราจะต้องมีการทำโครงการนี้เพื่อมาแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วนแล้ว
พว.กมลพร สิริคุตจตุพร
คนไข้ปริมาณมากที่มารับบริการที่คลินิกนอกเวลาใช่ป่ะคะ ระยะเวลาในการรอคอยนานมาก แต่ประเภทของคนไข้ไม่เหมือนกัน คนไข้ที่เราตรวจที่ OPD ก็จะแบ่งเป็นเออเจน เซมิชเออเจน และก็นอลเออเจน มี 3 ประเภท แต่ว่าคนไข้ที่มีภาวะคงทีเนี้ยคะรอตรวจอยู่กับคนไข้เซมิชเออเจนและนอลเออเจนทำให้คนไข้ประเภทเนี้ยรอตรวจมีอาการเปลี่ยนแปลง อาการแย่ลงนะคะระหว่างที่รอตรวจ ระยะเวลาในการรอตรวจบางคนนานถึง 3 ชั่วโมงซึ่งค่าเฉลี่ยที่เราเก็บเนี้ย คือ รอตรวจนานถึง 2 ชั่วโมงกับ 2 นาที่
พิธีกร
ขั้นตอนกิจกรรมในการที่เราดำเนินการมีขั้นตอนยังไงบ้างครับ
พว.กมลพร สิริคุตจตุพร
เราก็ลงไปหาสาเหตุว่าทำไม่คนไข้ประเภทเนี้ยถึงรอตรวจนาน ซึ่งเราพบว่าเมื่อก่อนนี้แบบฟอร์มใบคัดกรองมีหลายแบบมาก และไม่มีการระบุ ESI Level เราก็เลยทำใบคัดกรองขึ้นมาใหม่มีการระบุ ESI Level อย่างชัดเจนทำให้เราทราบว่าคนไข้คนนี้คะอยู่ใน ESI Level ไหน...
พิธีกร
ยิงให้ตรงเป้า แทงเข้ากลางใจ ของ รพ.สมเด็จพระปิ่นเกล้า กรมการแพทย์ทหารเรือ รพ.นี้มีวิธีการรักษาอย่างไร เราไปรับชมผลงานชิ้นนี้กันเลยครับ
พิธีกร
สวัสดีครับ ยิงให้ตรงเป้า แทงเข้ากลางใจ เป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมที่อ่านแค่ชื่อก็น่าสนใจแล้ว ก่อนหน้านี้ที่เราจะมาดูที่มาที่ไปว่าก่อนหน้านี้เกิดอะไรขึ้น ผมอยากจะขออนุญาตสอบถามถึงเป้าหมายของนวัตกรรมชิ้นนี้ แล้วก็ตัวชี้วัดความสำเร็จของเรามีอะไรบ้างครับ
น.อ.เถลิงเกียรติ แจ่มอุลิตรัตน์
เป้าหมายของ PIN GAD ต้องบอกก่อนว่า ย่อมาจากอะไร PIN GAD ย่อมาจากปิ่นเกล้า PINklao Guiding Assited Device นะครับ สืบเนื่องมาจากเรามีโรคมะเร็งตับ ซึ่งแต่ก่อนเนี้ย โรคมะเร็งตับทำการรักษาด้วยวิธีผ่าตัด หลังจากนั่นก็มีการพัฒนามาเป็นการเผาทำลายด้วยคลื่นความร้อนซึ่งดั่งเดิมเนี้ยการเผาทำลายด้วยคลื่นความร้อนเนี้ยก็จะมีการใช้อุปกรณ์นำทางโดยการใช้เครื่องอัลตราซาวน์ ใช้เครื่อง CT scan ในการนำทาง แต่เนื่องจากการทำงานโดยใช้เครื่องมือเหล่านี้เนี้ยมันก็มีข้อจำกัดของมัน แล้วก็การทำงานโดยใช้เครื่องมือเหล่านี้ทำงานร่วมกับแพทย์เองเนี้ยมันมีข้อจำกัด ทีนี้ PIN GAD ก็คือเป็นนวัตกรรมที่มาทำการแก้ไขข้อจำกัดเหล่านั้นในการทำงานเผาทำร้ายก้อนมะเร็งตับ
พิธีกร
อุปกรณ์ตัวนี้ช่วยในเรื่องไหนบ้างครับ
น.อ.เถลิงเกียรติ แจ่มอุลิตรัตน์
1.เลยหลักๆ เนี้ยจะช่วยในเรื่องของความแม่นยำในระนาบแกน Y และแกน Z นะครับ ซึ่งโดยปกติระนาบเหล่านี้เนี้ยจะถูกกำหนดโดยมนุษย์ ซึ่งก็คือแพทย์เนี้ยล่ะ แล้วก็โดยนักรังสีเทคนิคจะช่วยกันในการทำงาน เมื่อมีตัวนี้ขึ้นมาเนี้ย มันก็จะบ่งบอกองศาของเราโดยเราประยุกต์ใช้อุปกรณ์ทางการช่าง ไม่ว่าจะเป็นทางการช่าง
อุตสาหกรรมหรือช่างโยธา หรือว่าทางเอ็นจิเนียริ่งต่างๆ เข้ามาช่วย โดยเราพัฒนามาจากรูปแบบของเมืองนอกเนี้ยเค้าไปไกลขนาดเป็นเรื่องของการนำระบบหุ่นยนต์เข้ามาใช้แล้ว แต่เราก็ไปศึกษารีวิวดูวิจัยทั้งหมดว่าข้อเด่นของหุ่นยนต์แต่ละตัวคืออะไรบ้าง แล้วเราก็เกาะระบบออกมาแล้วก็ดูว่าตัวนี้คืออันนี้ ตัวนี้คืออันนี้แล้วก็เอามากลายเป็น 4in1...
พิธีกร
ศูนย์บริหารจัดการรถพยาบาล Ambulance Operation Center 2P safety:ผู้ป่วยปลอดภัย เจ้าหน้าที่ปลอดภัย อุบัติเหตุรถพยาบาลเป็นศูนย์ ของ รพ.เชียงรายประชานุเคราะห์ จ.เชียงราย ผลงานชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์และวิธีดำเนินการอย่างไร ผลที่คาดว่าจะได้รับเป็นอย่างไรบ้าง เราไปชมผลงานชิ้นนี้กันเลยครับ
พิธีกร
สวัสดีครับ อาจารย์ครับ คุณผู้ชมครับอย่างที่เราได้รับชมในข่าวกันว่ารถช่วยเหลือหรือว่ารถกู้ภัยต่างๆ รวมถึง Ambulance ของ รพ.ไปช่วยชีพ ปรากฏว่าเกิดอุบัติเหตุซ้ำด้วย รพ.เชียงรายประชานุเคราะห์เองก็มีผลงานโครงการนี้ขึ้นมา เพื่อที่จะพัฒนาต่อยอด รวมถึงเพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้ใช้บริการ รวมถึงผู้ให้บริการด้วย เป้าหมายของผลงานชิ้นนี้เป็นอย่างไรครับอาจารย์
นพ.เกรียงศักดิ์ ปินตาธรรม
เป้าหมายก็ตามนโยบายของกระทรวงแล้วก็นโยบายของ สรพ.เองที่ต้องการให้อุบัติเหตุของรถพยาบาลเป็นศูนย์ ส่งผลทำให้เกิดเรียกว่า 2P safetyมีอะไรบ้างก็คือ ผู้ป่วยปลอดภัย เจ้าหน้าที่ปลอดภัย ทั้ง 2 ส่วนเนี้ยครับก็คือไม่ให้เกิดเลย
พิธีกร
แล้วในส่วนเนี้ยครับก่อนหน้านี้เกิดปัญหาอะไรขึ้น ถึงทำให้เราคิดว่าเราต้องการจัดการปัญหานี้โดยการสร้างผลงานชิ้นนี้ขึ้นมาครับ
นพ.เกรียงศักดิ์ ปินตาธรรม
ครับก็เหมือนกับที่ปรากฏเป็นข่าวทั่วประเทศนะครับ ว่ามีรถพยาบาลเกิดอุบัติเหตุหลายครั้ง เราก็มาวิเคราะห์หาสาเหตุว่าการที่รถพยาบาล 1 คันจะเกิดอุบัติเหตุได้เนี้ย เกิดจากอะไรบ้าง มันก็มีมาตรการหลายๆ มาตรการ หนึ่งที่เราคิดขึ้นมาได้ก็คือ ความเสี่ยงของการเกิดอุบัติเหตุของรถพยาบาลเลย ก็คือ 1.คือความเร็วที่ใช้ความเร็วเกิน เราก็มีนโยบายว่า เราควรจะต้องจำกัดความเร็วของรถพยาบาล หรือว่าต้องให้รถพยาบาลเนี้ยขับขี่อย่างปลอดภัย มีกล้องในการมองเห็นพนักงานขับรถ ระยะทาง เส้นทางว่าเป็นยังไงนะครับ อันนี้คือในส่วนของความปลอดภัยของตัวรถพยาบาล อันที่ 2. คือความปลอดภัยของผู้ป่วย...
การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำเป็นหัตถการที่ทำบ่อยมากในโรงพยาบาล และยังพบอุบัติการณ์ไม่พึงประสงค์อยู่เนืองๆ ชมรมเครือข่ายผู้ให้สารน้ำแห่งประเทศไทยจึงได้จัดทำแนวทางการพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำขึ้น เพื่อเป็นแนวทางที่ช่วยให้พยาบาลสามารถให้บริการผู้ป่วยได้อย่างมีคุณภาพ มาตรฐาน และความปลอดภัย
ภาวะแทรกซ้อนจากการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำพบได้หลายลักษณะ ตัวอย่างเช่น phlebitis, vascular access device related infection, infiltration/ extravasation, hematoma/ hemorrhage, embolism, drug incompatibility
แนวทางสำคัญที่ต้องคำนึงถึง เมื่อมีการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ คือ
เตรียมเข็มที่จะแทง อุปกรณ์ที่ต้องใช้ และเลือกตำแหน่งที่จะแทงหลอดเลือดดำ ให้เหมาะสม หลีกเลี่ยงการแทงบริเวณใกล้ข้อ เนื่องจากมีการเคลื่อนไหวบ่อย และอาจเกิดการบาดเจ็บของเส้นประสาท
ทำความสะอาดผิวหนังในขนาดความกว้างไม่น้อยกว่าที่จะติดแผ่นฟิล์มใสปลอดเชื้อ ด้วย 70% alcohol หรือ tincture of iodine หรือ 5% chlorhexidine in alcohol (chlorhexidine in alcohol ไม่ควรใช้ในเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 2 เดือน)
สื่อสารผู้ป่วย/ ญาติ/ ผู้ดูแล ให้เข้าใจเหตุผลความจำเป็นและขั้นตอนการแทงสาย เตรียมชุดให้สารน้ำ ตรวจสอบตัวยาที่จะให้ว่าไม่มีปฏิกิริยาต่อกัน ตรวจสอบลักษณะของสารน้ำว่าไม่มีลักษณะผิดปกติ เคร่งครัดในเรื่องความสะอาดและเทคนิคปลอดเชื้อ
ดูแลบริเวณตำแหน่งที่ให้สารน้ำ และประเมินผิวหนังบริเวณที่แทงเข็ม เพื่อเฝ้าระวังอาการแดง...