Then , now ,and the future: หุ่นยนต์จ่ายยาอัตโนมัติแบบครบวงจร

0
3702
Then , now ,and the future : หุ่นยนต์จ่ายยาอัตโนมัติแบบครบวงจร
Then , now ,and the future : หุ่นยนต์จ่ายยาอัตโนมัติแบบครบวงจร

เทคโนโลยีใหม่ๆ จะทำให้ผู้ปฏิบัติงานเพิ่มพูนทักษะ  ทำให้คนทำงานรู้สึกมีคุณค่า มีความภาคภูมิใจและมั่นใจ ในตนเองมากขึ้น” ภญ.นริสา ตัณฑัยย์

การบริการจัดแจกยาผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในของแต่ละโรงพยาบาล มีแนวโน้มที่จะต้องให้บริการสูงขึ้นทุกๆ ปี ในขณะที่ผู้ปฏิบัติงานมีจำนวนจำกัด ส่งผลอัตราความคลาดเคลื่อนทางยาและความล่าช้าในการให้บริการที่มีเปอร์เซ็นต์สูงในแต่ละปี เพื่อถ่ายทอดประสบการณ์ของโรงพยาบาล 2 แห่ง ในการนำเครื่องจัดยาอัตโนมัติมาใช้ในการให้บริการยา ได้แก่ โรงพยาบาลศิริราชใช้เครื่องจัดยาอัตโนมัติในการบริการผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ใช้เครื่องจัดยาอัตโนมัติในการบริการผู้ป่วยใน เพื่อเพิ่มความถูกต้อง ความปลอดภัย และความรวดเร็วในการให้บริการโดยมีการศึกษา วิเคราะห์ระบบการทำงานที่เหมาะสมกับบริบทของโรงพยาบาล มีการออกแบบระบบการจัดยาอัตโนมัติแบบครบวงจรอย่างรัดกุม ลดความผิดพลาด ลดจำนวนผู้ปฏิบัติงานที่ไม่จำเป็น นอกจากนี้ยังมีการศึกษาต้นทุนเพื่อดูความคุ้มค่าและงบประมาณที่เปลี่ยนแปลง ของการให้บริการโดยใช้เครื่องจัดยาอัตโนมัติเปรียบเทียบกับการทำงานในปัจจุบัน

ภญ.นริสา ตัณฑัยย์ โรงพยาบาลศิริราช  เนื่องจากภาระงานที่ห้องยาผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลศิริราชต้องจัดจ่ายยาจากใบสั่งยาปีละหนึ่งล้านกว่าใบ  ถือเป็นภาระงานที่หนักต่อเจ้าหน้าที่ จึงใช้แนวคิดแบบลีน (Lean concept – การบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ ปราศจากความสูญเปล่า) ซึ่งทำให้สถิติความคลาดเคลื่อนทางยาลดลง ลดระยะเวลารอคอยลงได้บ้าง แต่พบว่าในกระบวนการจัดยาในหน่วยงานเภสัชกรรม (Pre – dispensing error) ยังมีความคลาดเคลื่อนมาก และเพื่อลด Pre – dispensing error จึงเริ่มนำนวัตกรรมหุ่นยนต์จ่ายยาอัตโนมัติมาใช้ ตั้งแต่วันที่ 9 มีนาคม 2562 ที่อาคารนวมินทร์ฯ โรงพยาบาลศิริราช เพื่อรองรับผู้ป่วยอายุรศาสตร์ 2 ล้านรายต่อปี ในกลุ่มยาที่จ่ายบ่อย โดยให้เภสัชกรทำหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องของใบสั่งยา สแกนใบสั่งยา และตรวจสอบยาก่อนจ่ายให้ผู้ป่วย

หลักการในการใช้หุ่นยนต์จ่ายยาอัตโนมัติ แผนกเภสัชกรรมผู้ป่วยนอกอาคารนวมินทร์ฯ โรงพยาบาลศิริราช

  1. มี Dashboard (การนำข้อมูลใน report ทั้งหมดมาสรุปให้เห็นภาพของงานโดยรวมในภาพเดียว) เพื่อให้รู้ว่าพื้นที่ไหนมีปริมาณงานมาก จะได้มีการบริหารจัดการบุคลากรไปช่วยตรงพื้นที่นั้น
  2. มีห้องสำหรับบรรจุยาใหม่ (repackage) เตรียมยาก่อนที่จะจ่ายออก เป็นกระบวนการสำคัญ QC ทั้งกระบวนการ

เภสัชกรเป็นผู้ตรวจสอบ ไม่ให้มีการสลับยา ป้องกันความคลาดเคลื่อนทางยา

  1. คนไข้สามารถตรวจสอบคิวใบยาด้วยตนเอง ที่หน้าจอจากเครื่องที่ติดตั้งไว้หน้าห้องยา
  2. เกณฑ์การคัดเลือกยาเข้า Box dispenser ทุก package จะต้องมี Barcode หรือ QR code

ผลลัพธ์การดำเนินการ

  1. แนวโน้ม Pre dispensing error ลดลง ให้บริการจำนวนใบยาในแต่ละวันเพิ่มขึ้น
  2. ใช้จำนวนบุคลากรน้อยลง (เภสัชกร และ ผู้ช่วยเภสัช) แบ่งสัดส่วนจำนวนคนตามช่วงเวลา
  3. ลดระยะเวลารอคอยคลินิกผู้ป่วยนอกเหลือ 34 นาที ผู้ป่วยคลินิกพิเศษมีระยะเวลารอคอยเหลือเพียง 19 นาที (เป้าหมายน้อยกว่า 35 นาที) บรรลุเป้าหมายคลินิกผู้ป่วยนอกคิดเป็นร้อยละ 64, คลินิกพิเศษคิดเป็นร้อยละ 95
  4. เพิ่มความพึงพอใจของผู้รับบริการ

ปัญหาที่พบ กรณีเมื่อเกิดเครื่องเสีย อะไหล่เสีย ใช้เวลาในการรอซ่อมนานเป็นเดือน เนื่องจากบริษัทอยู่ที่ประเทศจีน

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

  1. การใช้ Barcode ลด Med error ลงได้
  2. มีการเรียนรู้ ออกแบบ ปรับปรุง พัฒนาตลอดเวลา
  3. มีการทำงานเป็นทีมจนประสบความสำเร็จเกิดความภาคภูมิใจ

     ภก. เอกนันท์ กีรติศรัณย์ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์  เริ่มใช้ระบบหุ่นยนต์จัดยาในการจ่ายยาผู้ป่วยในของโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์มาตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2551 ซึ่งในขณะนั้นการสั่งยาของแพทย์ยังใช้ใบสั่งยา มีการบริหารยาโดยพยาบาล พบว่าสถิติความคลาดเคลื่อนทางยายังสูงอยู่ (20:100,000) เปรียบเทียบกับปัจจุบันที่มีการพัฒนาศักยภาพของหุ่นยนต์จัดยาให้เป็นระบบที่ค่อนข้างเสถียร มีหน่วยผสมยาปราศจากเชื้อเพื่อให้หน่วยงานพร้อมใช้ยา  เภสัชกรดูหน้าจอคอมพิวเตอร์สามารถปรึกษาแพทย์โดยตรง มีเภสัชกรเฉพาะทางเพื่อให้คำปรึกษาแก่ผู้ป่วยเฉพาะรายที่เป็นชาวต่างชาติ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ได้รับการรับรองการพัฒนาคุณภาพระบบ JCI ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2012 พบว่าสถิติความคลาดเคลื่อนทางยาลดลงเหลือ 0.3:100,000 คิดเป็นร้อยละ 70

หลักการในการใช้หุ่นยนต์จ่ายยาอัตโนมัติ แผนกเภสัชกรรมผู้ป่วยใน โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์

  1. มีระบบจัดยา PillPick system มีลักษณะการจัดยาเฉพาะมื้อ เพื่อจ่ายยาให้หน่วยงานพร้อมใช้ ซึ่งมีความสำคัญในกระบวนการนี้มาก ตรวจสอบโดยเภสัชกรอย่างเข้มข้น การเก็บยาจะเก็บเป็นซอง  อยู่ในอุณหูมิห้อง
  2. ใช้ Medication ring ซึ่งเป็นลักษณะการร้อยซองยาไว้ด้วยกันสำหรับผู้ป่วย 1 ราย
  3. มีท่อลม (pneumatic tube) ส่งกระบอกยาตรงไปที่หน่วยงานใช้ยาได้โดยตรง ลดระยะเวลารอคอย (waiting time)
  4. Barcode medication administration ยาทุกรายการจะต้องมี Barcode หรือ QR code

ผลลัพธ์การดำเนินการ

  1. ลดความคลาดเคลื่อนทางยา Administration error (extra dose ,wrong drug , wrong dose) ลงได้มาก
  2. ผู้ป่วยปลอดภัย คนทำงานมีความสุขมากขึ้น

ปัญหาที่พบ

  1. กรณีเมื่อเกิดเครื่องเสีย อะไหล่เสีย ใช้เวลาในการรออะไหล่ซ่อมเป็นเดือน เนื่องจากบริษัทอยู่ที่ต่างประเทศ (สิงคโปร์)
  2. การลดกำลังคนมากไป เมื่อเกิดปัญหาหุ่นยนต์จัดยาเสีย คนไม่พอทำงาน
  3. การเก็บสต็อคยาไว้ในเครื่องมากเกินไป ทำให้เกิดปัญหาในการใช้งาน ควรเก็บสต็อคยาเฉพาะในกลุ่มยาที่มีความเสี่ยงสูง (High Alert Drug – HAD) ซึ่งไม่ต้องใช้พื้นที่มากเกินไป

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

  • เกิดการพัฒนาบุคลากร เภสัชกรเพื่มทักษะการทำงานด้านคลินิก เป็นเภสัชกรเฉพาะทางใน Board ต่างๆ (Staff and pharmacy services development)

ถอดบทเรียนโดย กาญจนา เสนะเปรม หัวหน้างานพัฒนาระบบบริการพยาบาล                                                                โรงพยาบาลราษฎร์บูรณะ

ภาพถ่ายโดย Tara Winstead จาก Pexels

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here