ในบริบทการบริการปฐมภูมิ (Primary Care) ในประเทศไทย ขณะนี้เรากำลังเข้าสู่ช่วงการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ กล่าวคือ การเปลี่ยนกระทรวงในการดูแลระบบบริการปฐมภูมิ จากกระทรวงสาธารณสุข เป็น กระทรวงมหาดไทย หรืออยู่ในความดูแลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
การเปลี่ยนแปลงนี้ทำให้เราอาจต้องทำความเข้าใจความหมายของบริการปฐมภูมิกันใหม่ มุมมองใหม่ที่ได้รับการเสนอในการอภิปรายครั้งนี้ คือระบบบริการปฐมภูมิ จะต้องไม่ใช่ระบบบริการที่สามารถดูแลโรคง่าย ๆ แต่ต้องมีการสร้างเสริมสุขภาพ และซ่อมสุขภาพให้แก่ชุมชน โดยร่วมกับชุมชนและภาคีเครือข่ายเพื่อนำไปสู่สุขภาวะที่ดีของชุมชน
ความหมายใหม่นี้ทำให้มุมมองเกี่ยวกับการดูแลปฐมภูมิเปลี่ยนไปมาก ภารกิจที่มากขึ้น การมี่ส่วนร่วมที่มากขึ้น สามารถนำไปสู่สิ่งใหม่ ๆ ที่ท้าทายได้ คำถามป้อนกลับสู่ทาง สรพ. คือ ทาง สรพ. จะมีการวัดประเมินคุณภาพอย่างไรในระบบบริการที่ไม่ได้มีเพียงแต่การดูแลรักษา แต่มีการส่งเสริม และซ่อมในกระบวนการบริการด้วย และกระบวนการวัดประเมินคุณภาพดังกล่าว จะทำให้สุขภาวะของชุมชนดีขึ้นได้อย่างไรบ้าง
นอกเหนือจากเรื่องความหมายและเป้าหมายของระบบบริการปฐมภูมิใหม่แล้ว ภายในการอภิปรายยังมีการเน้นกระบวนการที่สำคัญสำหรับระบบบริการปฐมภูมิ 2 กระบวนการได้แก่
การมีส่วนร่วมของชุมชน
การมีภาคีเครือข่ายในการดำเนินงาน
เนื่องจากทั้ง 2 กระบวนการเป็นการสร้างความมีส่วนร่วมจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียคือ ตัวชุมชนเอง และหน่วยงานที่มีภารกิจในการดำเนินงานต่าง ๆ เพื่อชุมชน ดังในตัวอย่างจากวิทยากรจาก สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) ที่เป็นองค์กรเพื่อการพัฒนาชุมชนได้มีส่วนร่วมในการดำเนินการในชุมชน เช่น...
HA National Forum 24
Healthcare Megatrends: Transforming Healthcare Today to Tomorrow
Quality Learning -
ปัจจุบันเทคโนโลยีมีความก้าวหน้า และเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์ที่มีการพัฒนาแบบทวีคูณ (exponential) หากมองในส่วนของระบบสุขภาพ เทคโนโลยีเหล่านี้จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงวิธีการรักษาพยาบาล เช่น การผ่าตัด การวินิจฉัย และการรักษา รวมถึงช่วยให้เราสามารถดูแลสุขภาพของผู้ป่วยได้ที่บ้านโดยไม่จำเป็นต้องไปโรงพยาบาล ส่งผลให้ในอนาคตผู้ป่วยจะเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลน้อยลง
หากจะมองว่าเทคโนโลยีที่กำลังมาแรงที่สุด ณ เวลานี้ ก็คงหนีไม่พ้น Generative AI ที่กำลังเป็นกระแสอยู่ในตอนนี้ เช่น ChatGPT, Bing Copilot, Claude-3 Gemini เป็นต้น Generative AI จะไม่ได้เป็นเพียงแค่กระแสชั่วคราว แต่จะเข้ามามีบทบาทสำคัญในระบบบริการสุขภาพ เราจะเห็นได้ว่า Generative AI มีความก้าวหน้าและพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งมีประเด็นที่เราควรทราบ และตระหนัก ดังนี้
ประเด็นที่ 1: Generative AI คือ AI ที่สร้างความรู้ได้ มันช่วยให้เกิด automation บางอย่าง และทำงานซ้ำๆ ได้โดยไม่เหนื่อย แทนที่มนุษย์ได้ สิ่งเหล่านี้กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ ไม่ใช่อีก 1 ปีหรือ 10 ปี การเลือก...
"Do nO harm & Protect the patient is our job
เมื่อคุณพยาบาลเป็นปราการด่านสุดท้ายที่ป้องกันผู้ป่วยจากเหตุการณ์ไม่พึ่งประสงค์"
Adverse event (AE) หรือเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ คือเหตุการณที่ก่อความเสียหายต่อผู้ป่วยจากการให้บริการ เป็นสิ่งที่ต้องแก้ไข และนำมาเรียนรู้ ให้เข้าใจสาเหตุของความคลาดเคลื่อน ใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ ร่วมกันสร้างระบบที่มีประสิทธิ์ภาพ มีวัฒนธรรมการเรียนรู้ ให้เกิด Good fail ที่สามารถเรียนรู้จากความคลาดเคลื่อน และป้องกันด้วยหลักการ 10R แต่ถ้าไม่ไหวขอให้ได้ 6R ก่อน คือ ถูกคน ถูกยา ถูกขนาด ถูกทาง ถูกเวลา บันทึกถูกต้อง
หากเกิด AE เกิดขึ้นแล้ว เราสมารถลดความเสี่ยงที่เกิดปัญหาทางกฏหมายและจริธรรมด้วย 6 ขั้นตอนคือ
สื่อสารกับผู้ป่วยและญาติ (รับฟังความคิดเห็น เข้าใจความต้องการ และให้สิทธิในการร่วมตัดสินใจ ในแผนการรักษา)
ติดตามดูแลผู้เสียหายอย่างใกล้ชิด ให้การดูแลที่มีมาตรฐาน เหมาะสม ปลอดภัย และสอดคล่องกับความต้องการของทั้งผู้ป่วยและผู้ให้บริการ
สร้างทีมจัดการความเสี่ยงที่มีส่วนร่วมของผู้บริหาร และสหสาขาวิชาชีพ รับผิดชอบการรายงานข้อมูลความเสียหายที่เกิดขึ้นกับผู้รับบริการ
ให้เฉพาะผู้ป่วย หรือญาติที่ได้รับอนุญาต เข้าออกพื้นที่ที่เกิดความเสี่ยง...
ในปี ค.ศ. 2019 สมัชชาอนามัยโลกครั้งที่ 72 ได้ให้คำมั่นสัญญาเรื่องความปลอดภัยของผู้ป่วยเป็นมาตรการระดับโลก (Global Action on Patient Safety) และได้จัดตั้งวันความปลอดภัยของผู้ป่วยโลก (World Patient Safety Day) ในวันที่ 17 กันยายนของทุกปี โดยในแต่ละปีองค์การอนามัยโลกจะมีประเด็นสำคัญในการผลักดัน เช่น ในปี 2020 คือ "Safe health workers, Safe patients"
ในมาตรการระดับโลกเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้กำหนด 7 เป้าหมายเชิงกลยุทธ์ (7 Strategic Objectives) เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงานสู่ความปลอดภัยของผู้ป่วยระดับโลก ดังนี้
นโยบายเพื่อกำจัดความเสี่ยงที่หลีกเลี่ยงได้ (Policies to Eliminate Avoidable Harm in Health Care)
ระบบที่มีความน่าเชื่อถือสูง (High-reliability Systems)
ความปลอดภัยในกระบวนการดูแลรักษา...
ทำความรู้จักกับ Telemedicine
Telemedicine มีการทำในต่างประเทศมาระยะหนึ่งแล้ว และมีการทำมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในช่วงการระบาดของ COVID-19 องค์การอนามัยโลกได้กำหนดแนวทางของการทำ telemedicine และเผยแพร่ในรูปแบบหนังสือ เช่น Consolidated telemedicine implementation guide รวมถึงเล่มอื่นๆที่เผยแพร่ในเว็บไซต์ ทั้งในเรื่อง telehealth และ telemedicine
Telehealth หมายถึงการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร (ICT) ในการส่งมอบบริการด้านสุขภาพ โดยไม่จำเป็นต้องจำกัดด้วยระยะทาง ตัวอย่างของ telehealth ได้แก่ การให้ความรู้ด้านสุขภาพผ่านเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่น การติดตามผลการรักษา การจัดการโรคเรื้อรัง ผ่านวีดีโอคอล รวมถึงการทำ telemedicine เช่น การปรึกษาแพทย์ทางไกล การวินิจฉัยโรค การสั่งใช้ยา จะเห็นได้ว่า telemedicine เป็นส่วนหนึ่งของ telehealth ที่มุ่งเน้นไปที่การรักษา
Telemedicine หรือ โทรเวชกรรม องค์การอนามัยโลกได้ให้นิยามไว้ว่า คือการให้บริการสุขภาพแก่ประชาชนโดยบุคลากรทางการแพทย์ ผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยเน้นที่ระยะทาง (สำหรับผู้ป่วยที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล เดินทางลำบาก) ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เช่น วีดีโอคอล,...
HA National Forum 24
Special Talk: How to Quality and Safety Sustainability in the Healthcare System
Quality Learning -
พวกเราชาว HA มีเป้าหมายที่ตรงกัน คือ ร่วมกันสร้่างวัฒนธรรมคุณภาพให้สถานพยาบาลมีคุณภาพและประชาชนได้รับบริการที่มีคุณภาพและความปลอดภัย กลไกของการขับเคลื่อนระบบบริการสุขภาพให้มีความยั่งยืนต้องอาศัยกลไกธรรมาภิบาลระบบ (health system governance) และกลไกพัฒนาระบบ (HA) จากวัฒนธรรมตามยุทธศาสตร์ของสรพ.ที่ให้ทุกคน ทุกฝ่ายเป็นเจ้าของในการมีส่วนร่วมพัฒนาระบบคุณภาพของสถานพยาบาลไทย กระบวนการของการขับเคลื่อน คือ ต้องทำอย่างเข้าใจธรรมชาติของเรื่องนั้นๆ ดังนั้นธรรมชาติของเรื่องคุณภาพระบบบริการสุขภาพ ได้แก่
ระบบบริการสุขภาพมีความซับซ้อน (complexity)
มีลักษณะโตไม่มีที่สิ้นสุด (Growth Mindset)
มีการเรียนรู้และพัฒนา (Learning and Development; L&D)
มีความเป็น dynamic system
ผู้กี่ยวข้องทุกภาคส่วน (stakeholders) มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงและส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลง
กระบวนทัศน์ใหม่ของการประเมิน การพัฒนาหรือสร้างการเปลี่ยนแปลงขับเคลื่อนโดยผู้เกี่ยวข้องทั้งระบบ ผู้ประเมินต้องเป็นทั้งผู้ประเมิน (evaluator) และเป็นวิทยากรกระบวนการ (facilitator) พร้อมกัน แนวคิดการประเมินเพื่อพัฒนา (Developmental Evaluation; DE) เกิดพลังสร้างการเปลี่ยนแปลงในระบบ ที่เรียกว่า“การขยายผล” (scale-up) ในรูปแบบใหม่ มุมมองใหม่ คือ มองระบบเป็นระบบที่ซับซ้อน และปรับตัว ไม่ใช่ระบบที่ Simple &...
HA National Forum 24
Evidence Based for Decision Support for Clinical Pharmacists in Current and Future Practice
Quality Learning -
ภาระกิจของเภสัชกรทุกคน คือการให้การบริบาลทางเภสัชกรรม ซึ่งหมายถึงการดูแลผู้ป่วยให้ได้รับยาที่ถูกต้อง และเหมาะสม เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิต สอดคล้องกับความต้องการของผู้ป่วยแต่ละราย ในการดูแลผู้ป่วย เรามีเป้าหมาย 4 ประการ ได้แก่
การรักษาผู้ป่วยให้หายจากโรค
ขจัดหรือลดอาการโรคของผู้ป่วย
ชะลอการดำเนินไปของโรค
ป้องกันโรค
เภสัชกรเป็นวิชาชีพที่มีบทบาทสำคัญในการให้ข้อมูลยาแก่วิชาชีพอื่น ๆ เพื่อให้การดูแลรักษาโรคด้วยยามีประสิทธิภาพและปลอดภัย ดังนั้น เภสัชกรจึงต้องสามารถใช้ข้อมูลในการตัดสินใจเลือกใช้ยาเพื่อรักษาผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย ปัจจุบันข้อมูลจากวรรณกรรมปฐมภูมิถือเป็นข้อมูลที่ทันสมัยที่สุด โดยมีแนวทางการประยุกต์ใช้หลักฐานเชิงประจักษ์จากวรรณกรรมปฐมภูมิเพื่อแก้ปัญหาของผู้ป่วย ดังนี้
ระบุปัญหาของผู้ป่วย
ค้นหางานวิจัยจากฐานข้อมูลที่น่าเชื่อถือ เช่น PubMed, Embase, Google Scholar
เลือกงานวิจัยจากวารสารที่น่าเชื่อถือ โดยพิจารณาจากการผ่านการตรวจทานโดยผู้เชี่ยวชาญ (peer review), ค่า impact factor, และ SCImago Journal Rank
ประเมินความน่าเชื่อถือของงานวิจัย
นอกจากนี้ ยังมีวรรณกรรมทุติยภูมิที่น่าเชื่อถือ เช่น UpToDate, AccessPharmacy, Micromedex, Medscape, IDSA, NCCN, uCentral, Precise PK เป็นต้น...
“...Growth mindset ของเราไม่ใช่เพียงช่วยเราเอง แต่นำเอาไปช่วยผู้อื่น
และไม่ใช่เพียงของเราคนเดียว แต่ต้องสร้างให้เกิดเป็น growth mindset หมู่…”
8 ประเด็น สำคัญจาก อ.ประสิทธิ์ ถึงผู้ฟัง และผู้อ่าน
คนที่มี Growth mindset คือ คนที่พร้อมรับแนวคิดใหม่ ๆ คิดถึงทุกความเป็นไปได้ในสิ่งที่คนอื่นเห็นว่าเป็นไปไม่ได้ และการอยากทำสิ่งใหม่ ๆ นี้ทุกคนเคยทำมาตั้งแต่เด็ก เหมือนตอนเริ่มหัดเดิน เราเห็นคนข้างหน้าเราเดินได้ เราก็อยากเดินให้ได้แบบเขา เราค่อยๆเรียนรู้ แม้จะล้มลุกคลุกคลาน สุดท้ายเราก็ไม่ย้อท้อ และเดินจนได้ในที่สุด
"…เพราะฉะนั้นการอยากทำสิ่งใหม่ๆ ที่ไม่เคยทำ เป็นเรื่องที่ทุกคนเคยทำ…"
2. การเสนอความคิดใหม่ๆ ในสิ่งที่คนทั่วไปคิดไม่ถึง มักเกิดแรงต้านจากคนที่ไม่คิดจะเปลี่ยนแปลง (Fixed mindset) บางครั้งอาจจะมาในรูปแบบการเสียดสี ดูถูก หรือกระทั่งทำให้กลายเป็นเรื่องตลก ดูเพ้อฝัน เนื่องจากคนเหล่านี้ไม่เคยพบเห็นมาก่อน จึงทำให้ไม่เปิดใจยอมรับ
3. จุดเด่นของคนที่มี Growth mindset คือ คนที่มักคิดนอกกรอบ และมองเห็นโอกาสจากงานที่ดูยาก แม้ 95% อาจเป็นแนวคิดที่มีความเป็นไปได้น้อย แต่ยังคงมองเห็นอีก 5% ที่อาจสร้างความเป็นไปได้ที่ยิ่งใหญ่ สร้างความเปลี่ยนแปลง และพัฒนาสิ่งต่าง ๆ ให้ดีขึ้น
4....
HA National Forum 24
ปาฐาถาพิเศษ “จิตวิวัฒน์ (Mind Growth) ในการให้บริการด้วยหัวใจ เพื่อเพื่อนมนุษย์ สู่เรื่องใหญ่สุดๆ”
Quality Learning -
“กายหยุดแต่จิตเติบโตต่อไปได้”
จิตมนุษย์เติบโตได้ไม่มีที่สิ้นสุด จากจิตเล็กกลายเป็นจิตใหญ่ได้ เมื่อจิตเปลี่ยนชีวิตก็เปลี่ยน จิตสามารถเปลี่ยนแปลงได้มากอย่างไม่น่าเชื่อ จนเรียกว่าปาฏิหาริย์แห่งชีวิต ชีวิตที่เปี่ยมสุข และทรงคุณค่า เป็นชีวิตที่น่าอยู่และสร้างประโยชน์แก่โลก
“จิตเล็กเพราะถูกกักขังอยู่ในอัตตา”
ปุถุชนตามปกติมีจิตเล็ก เพราะถูกขังในคุกแห่งตัวตนหรืออัตตา เป็นไปตามสัญชาตญาณแห่งการเอาชีวิตรอด การรับรู้ ความรู้สึกนึกคิด ล้วนเป็นเรื่องของจิต เมื่อจิตเปลี่ยน ชีวิตก็เปลี่ยน เราสามารถสร้างชีวิตใหม่ที่เปี่ยมสุข และทรงคุณค่าได้
“กระบวนการ HA กับการเปลี่ยนจิต”
กระบวนการ HA ที่ทำด้วยหัวใจเพื่อเพื่อนมนุษย์สามารถเปลี่ยนจิตได้ ด้วยเจตจำนงของผู้ให้บริการ และภารกิจการให้บริการที่ดี เป็นปัจจัยปล่อยจากจิตเล็กที่ติดอยู่ในคุกแห่งอัตตา ได้ถูกเปิดประตูใจ ออกมาเป็นอิสระหรือเกิดปัญญา เพราะภารกิจในการใช้บริการที่ดีจะกระตุ้นให้เกิดปัญญาโดยรอบด้าน
งาน HA ที่เน้นการให้บริการด้วยหัวใจเพื่อเพื่อนมนุษย์ เป็นการปรับเปลี่ยนวิธีคิดในสมองจากการยึดติดเอาตนเป็นศูนย์กลาง เป็นสู่การคิดถึงความดี และใช้ปัญญาเพื่อเพื่อนมนุษย์
“คุณภาพหัวใจเพื่อเพื่อนมนุษย์จิตวิวัฒน์”
คุณภาพ หรือ คุณภาวะ มีความหมายสูง และครอบคลุม เริ่มต้นด้วยการมีหัวใจเพื่อเพื่อนมนุษย์ จะทำให้เกิดปรากฏการณ์ 3H คือ
Heart การมีหัวใจเพื่อเพื่อนมนุษย์
Head การแสวงหา และใช้ความรู้ และปัญญาที่ดีที่สุด เพื่อให้บริการที่มีคุณภาพสูง
Hand การลงมือปฏิบัติอย่างดีที่สุด
“มรรควิธีเปลี่ยนจิตสร้างชีวิตใหม่”
มรรควิธีเปลี่ยนจิตสร้างชีวิตใหม่ มีดังต่อไปนี้
1.เจริญสติเป็นเนืองนิตย์
2.มีไมตรีจิตอันไพศาล
3.จิตจักรวาล
4.ทำงานทุกชนิดด้วยหัวใจเพื่อเพื่อนมนุษย์
5.รวมตัวร่วมคิดร่วมทำ สร้างมวลอำนาจทางสังคม
“ชีวิตที่เปี่ยมสุข และทรงคุณค่าเป็นชีวิตที่น่าอยู่ และทำโลกให้งดงาม มนุษย์ทุกคนมีศักยภาพที่จะเปลี่ยนจิตสร้างชีวิตใหม่ ขอให้ทุกท่านมีชีวิตที่เปี่ยมสุข และทรงคุณค่า”
กระบวนการพัฒนาคุณภาพบริการหรือ HA สามารถเติบโตไปสร้างคนไทยทั้งประเทศเป็นผู้ที่มีจิตใจที่เจริญ และเป็นสุข ซึ่งสามารถร่วมสร้างประเทศไทยที่น่าอยู่ที่สุด อันเป็นเรื่องใหญ่ และสำคัญที่สุด
ฐากูร...
การอภิบาลข้อมูล (Data governance) หมายถึงกระบวนการตัดสินใจ การวางวิสัยทัศน์ การจัดทำแผนงาน การจัดการทรัพยากรข้อมูล การประเมินความเสี่ยง และการติดตามวัดประเมินผล ตลอดวงจรชีวิตของข้อมูล (Data Life Cycle)
ประวัติศาสตร์เกี่ยวกับข้อมูล (Data) ที่น่าสนใจคือ ในปี ค.ศ. 2006 Clive Humby ได้กล่าวไว้ว่า “Data is the New Oil.” เป็นการเปรียบข้อมูลเสมือนสินทรัพย์ที่มีค่าที่ต้องเก็บไว้ไม่แบ่งใคร ต่อมาในปี ค.ศ. 2012 David McCandless ได้กล่าวโต้ว่า “Data is Not the New Oil. Data is the New Soil.” เนื่องจากข้อมูลไม่ได้เป็นทรัพยากรที่ห้ามแบ่งใคร กลับกันการเก็บข้อมูล การนำข้อมูลที่มีนำมาใช้อาจทำให้ผลิดอกออกผลได้มาก และมีประโยชน์มากกว่าในการนำข้อมูลออกมาใช้ร่วมกัน ดั่งดินที่ทำให้ต้นไม้งอกงาม
คุณลักษณะที่ควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับ ข้อมูลสารสนเทศ (Data and Information) 10 ประการ ได้แก่
เป็นทรัพย์สินที่ไม่มีตัวตน (Intangible)
ไม่ถูกบริโภคหมดไป...