วันพฤหัส, พฤษภาคม 15, 2025
ผนึกกำลังองค์กรระบบสุขภาพไทยเพื่อประชาชนไทยทุกคน
"ร่วมผนึกกำลังองค์กรระบบสุขภาพไทย เพื่อพัฒนาคุณภาพ ความปลอดภัย และสร้างสุขภาวะแก่ประชาชนไทยทุกคน บนความท้าทายในโลกยุคใหม่ VUCA World" Synergy of All for All เป็นการนำเสนอจุดเน้นเชิงนโยบาย หลักคิด ประเด็นขับเคลื่อนระบบบริการสุขภาพ ผ่านมุมมองของผู้บริหารองค์กรด้านสาธารณสุขระดับสูง 8 องค์กร “ร่วมผนึกกำลังองค์กรระบบสุขภาพไทย เพื่อพัฒนาคุณภาพ ความปลอดภัย และสร้างสุขภาวะแก่ประชาชนไทยทุกคน บนความท้าทายในโลกยุคใหม่ VUCA World” โลกที่ผันผวน (volatility) เปราะบาง (uncertainty) สลับซับซ้อน (complexity) คลุมเครือ (ambiguity) จากภาวะสงคราม ภาวะเศรษฐกิจ ภาวะโลกร้อน สิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป ปัญหามลพิษทางอากาศ การขาดแคลนทรัพยากร ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี สังคมสูงวัย เด็กเกิดน้อย และมีเด็กที่เกิดจากแรงงานต่างด้าวเป็น Multi National ปัญหา Generation Gap วิถีชีวิตเปลี่ยนไปสู่ความเป็นเมือง ปัญหาสาธารณสุขทั้งโรคอุบัติใหม่ โรคไม่ติดต่อเรื้อรังและปัญหาสุขภาพจิต การกระจายอำนาจไปองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ความแออัดและภาระงานในโรงพยาบาล ปัญหาความขาดแคลนและความคงอยู่ของบุคลากร สิ่งเหล่านี้มีผลกระทบต่อระบบสุขภาพ ทำให้เกิดทั้งโอกาส ความท้าทาย และภัยคุกคามต่อระบบสุขภาพ รวมทั้งทำให้ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพสูงขึ้น ทิศทางกระทรวงสาธารณสุขกับการขับเคลื่อนคุณภาพในระบบสุขภาพเพื่อประชาชนไทยทุกคน    นพ.ณรงค์...
ปัญญาจักรวาล ผนึกการเรียนรู้ด้านใน สู่สังคมที่ปลอดภัยและสุขภาวะ
“ดอกไม้แห่งปัญญา จะงอกงามโดยธรรมชาติ ในพื้นที่ที่มี Growth Mindset” ปัญญา คือ สิ่งที่มีความงอกงามโดยธรรมชาติ เมื่ออยู่อย่างถูกต้องเหมาะสม ดอกไม้แห่งปัญญา อาจจะมีกลีบที่มากมายขึ้นอยู่กับการงอกงาม ผู้ที่เป็นเจ้าของ ผู้ที่เกี่ยวข้อง และปฏิสัมพันธ์ ว่าสุดท้ายแล้วดอกไม้แห่งปัญญานี้จะมีกี่กลีบ จำนวน 6 กลีบ เป็นแค่ข้อ สมมุติที่ยกขึ้นมาคุยเพื่อให้เอาไปใช้ประโยชน์ เท่านั้น ซึ่งจริงๆ แล้วมีมากกว่านั้น ขึ้นอยู่กับ Mindset ที่ถูกต้องโดยปัญญาจะงอกงามในพื้นที่ ที่มี growth mindset โดยสถาบันรับรองคุณภาพโรงพยาบาล(องค์การมหาชน) ดำเนินการมาตามแนวทาง growth mindset โดยแนวคิดที่ว่า คุณภาพสถานพยาบาลมีการพัฒนาตลอดเวลา พัฒนาได้เสมอ 1.ปัญญาภายในตน มนุษย์ทุกคนมีปัญญา ทำอย่างไรจะดึงเอาปัญญาออกมาใช้ให้เต็มศักยภาพ ต้องอาศัยการมีไฟ หรือ  passion ให้เห็นคุณค่าในสิ่งนั้น หากเป็นในหน้าที่การงานก็จะเปล่งประกายความรับผิดชอบในตัวเองเหมือนการประกาศตัว ที่ผู้ใหญ่เค้าจะสังเกตเห็นและรับรู้ได้ และหาทางสนับสนุน จะยิ่งเปล่งประกาย เมื่อมีแรงบันดาลใจ ความรับผิดชอบ ในมิติในการที่มองเพื่อผู้อื่นเป็นหลัก เราต้องมีการฝึกทักษะในอนาคต หรือ future skill หรือ สมรรถนะแห่งอนาคต ที่ประกอบไปด้วย 3 กลุ่ม คือ การพัฒนาตนเอง การพัฒนาระบบที่มนุษย์พัฒนาขึ้น...
Quality is a Journey, Not a Destination : Lesson Learn for QMR QMR คือ ผู้สร้างการพัฒนาคุณภาพให้เกิดขึ้น ในโรงพยาบาล นพ.ทศพล ปุสวิโร QMR คือ ผู้สร้างการพัฒนาคุณภาพให้เกิดขึ้นในโรงพยาบาล และคือ Key person ในการพัฒนาคุณภาพ เมื่อพูดถึง 7 องค์ประกอบใน Framework for Improving Quality in Our Health Service พบว่ามีองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับ QMR 3 องค์ประกอบ ซึ่งจะช่วยให้ประสบความสำเร็จในการพัฒนาคุณภาพ ยิ่งขึ้น ได้แก่ Leadership for Quality : เริ่มที่ผู้นำต้องมี commitment แล้วแสวงหาแนวร่วมในระดับหัวหน้างาน ผลักดันเรื่อง Safety และ Effectiveness ลงสู่วิสัยทัศน์/เข็มมุ่ง/ยุทธศาสตร์ขององค์กร แล้วแปลงสู่การปฏิบัติให้เห็นภาพที่จับต้องได้ โดยการมีส่วนร่วมของผู้ป่วยและญาติ ทั้งนี้ผู้นำต้องสนับสนุนทรัพยากรในการพัฒนาคุณภาพ Staff engagement : คือการการแสวงหาความร่วมมือจากทุกคนในโรงพยาบาลด้วยกัลยาณมิตร องค์กรต้องเอื้ออำนวยให้คนมาทำ...
Value base Healthcare Re design. For Advanced HA IT with TMI Process Re Design Software ช่วยประหยัดเวลา ช่วยให้เกิด map ในการทำงาน เกิดจากความเป็นจริง ไม่ได้เกิดจากจินตนาการ (บางครั้งไม่คาดคิด) รศ.ดร.นพ.วรรษา เปาอินทร์ ยุค Health 4.0 องค์กรต่างๆ จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนเข้าสู่ระบบดิจิทัล (Digital Transformation) รวมทั้งโรงพยาบาลด้วย ปัจจุบันโรงพยาบาลทุกแห่งในประเทศไทยได้ใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อบันทึกและจัดเก็บข้อมูลการรักษาพยาบาลผู้ป่วย การจัดการทรัพยากร และการบริหารงานด้านต่างๆ Value base Healthcare (การดูแลสุขภาพที่มุ่งเน้นการเพิ่มคุณค่า) Value Based Healthcare Outcomes Measures 1.Clinical ผลการรักษา (บางชนิดต้องใช้เวลาในการประเมิน) แหล่งการประเมินการรักษาของแต่ละโรคInternational Consortium For Health Outcome Measures (ICHOM) 2.Financial ลดค่าใช้จ่าย(เพิ่มกำไร) 3.Process กระบวนการที่ดีขึ้น 4.Staff Satisfaction ผู้ปฏิบัติการพึงพอใจ 5.Patient Satisfaction ผู้ป่วยและญาติพึงพอใจ 6.Leaning &...
Ready for Our Next Chapter of Healthcare Safety and Well - being เตรียมตัวให้พร้อมสำหรับความท้าทายการพัฒนาคุณภาพบริการสุขภาพในยุคใหม่ เปลี่ยนสุขภาวะด้วย Lifestyle Medicine นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ สถานการณ์โควิด 19 เป็นทั้งวิกฤตและโอกาสทำให้การพัฒนาระบบการป้องกันและควบคุมโรคเป็นไปอย่างรวดเร็วทั้งเครื่องมือ ยาและเวชภัณฑ์ โดยเฉพาะการหันมาให้ความสำคัญกับการควบคุมและการป้องกันการติดเชื้อ: Infection Prevention and Control(IPC), แพทย์สาขาโรคติดเชื้อ(แพทย์ ID) และพยาบาลควบคุมและป้องกันการติดเชื้อเพิ่มขึ้นด้วย สำหรับคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติที่ประกอบด้วยรัฐมนตรี กระทรวงสาธารณสุข กรมควบคุมโรค คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด คณะกรรมการโรคติดต่อ กทม. คณะกรรมการด้านวิชาการ และที่สำคัญคือ คณะอนุกรรมการด้านการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อในโรงพยาบาล โดยมีคณะทำงาน อีก 4 คณะทำงาน คือ 1.คณะทำงานเพื่อพัฒนาระบบการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อในโรงพยาบาล 2.คณะทำงานการพัฒนาองค์ความรู้และบุคลากรด้านการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อในโรงพยาบาล การพัฒนาคู่มือด้านการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ,ด้านการวิจัย 3.คณะทำงานพัฒนาความร่วมมือภาครัฐ เอกชนและประชาชน 4.คณะทำงานพัฒนาการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ด้านการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อในโรงพยาบาล ซึ่งคณะทำงานทั้ง 4 คณะนี้ จะมีคณะทำงานด้านการประสานผล ติดตามโดยเฉพาะด้วย ขณะที่สถานการณ์การติดเชื้อในสถานพยาบาลมีอยู่อย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการสูญเสียงบประมาณ และทรัพยากรบุคคล จึงเป็นโอกาสที่จะต้องหันมาให้ความสำคัญกับ IPC โดยเฉพาะด้านการพัฒนาบุคลากร อีกประเด็นที่สำคัญ คือ เรื่องการสื่อสารซึ่งในสถานการณ์โควิด...
Update Nursing Pressure Injury Indicator for Benchmarking “กระบวนการ  Benchmarking เป็นกระบวนการที่ยอมรับกันทั่วโลกว่า เป็นกระบวนการที่ยกระดับองค์กร อย่างก้าวกระโดด” พว.ดร.ยุวดี  เกตสัมพันธ์ การเทียบเคียงคุณภาพ (Benchmarking) เป็นกระบวนการพัฒนาสู่ความเป็นเลิศอย่างก้าวกระโดด ด้วยการเปรียบเทียบความสามารถ เรียนรู้แนวปฏิบัติที่ดีกับหน่วยงานที่มีความโดดเด่น หรือ Best in Class แล้วนำผลเทียบเคียงมาใช้ในการปรับปรุงพัฒนางาน หน่วยงานของตนเองทั้งนี้สิ่งสำคัญ ไม่ใช่แค่การวิเคราะห์คู่แข่ง การเยี่ยมชมดูงาน การลอกเลียนแบบ แต่เป็นกระบวนการเรียนรู้ Practice ขององค์กรอื่นอย่างเปิดเผย เป็นระบบ โดยแต่ละหน่วยบริการ หรือโรงพยาบาลต้องเลือกตัวชี้วัดที่สำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรมาเปรียบเทียบ (Benchmark) จะเห็นว่า การ Benchmarking ประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก คือ การเปรียบเทียบวัด (Benchmark) ซึ่งต้องมีการกำหนดตัวชี้วัด (KPI) ในเรื่องที่จะเปรียบเทียบ แล้วจึงเข้าสู่กระบวนการเรียนรู้วิธีการที่เป็นเลิศ (Best Practice) นำวิธีการดังกล่าวมากำหนดแผนพัฒนาเพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ บริการ หรือวิธีปฏิบัติในองค์กรตนเอง แผลกดทับ (Pressure Injury) เป็นปัญหาทางสุขภาพที่พบบ่อย และเป็นปัญหาในระดับชาติ ทั่วโลกพากันตื่นตัวอย่างมากกับปัญหาของแผลกดทับที่เกิดขึ้น มีการจัดตั้งองค์กรความร่วมมือในระดับนานาชาติ เพื่อศึกษาองค์ความรู้ และสร้างแนวปฏิบัติในการจัดการปัญหาแผลกดทับ เนื่องจากผลกระทบที่เกิดขึ้นล้วนรุนแรงทั้งสิ้น ทั้งการสูญเสียทรัพยากรจำนวนมาก...
ถอดรหัสสูตร (ไม่) ลับการบริหารความเสี่ยง Safety ไม่ใช่สิ่งที่ควรทำหรือไม่ทำ แต่เป็นหน้าที่ความรับผิดชอบที่ต้องทำ ถ้าเราไม่สามารถบริหารและจัดการความเสี่ยงได้ ต่อให้มีความพึงพอใจแค่ไหน แต่ถ้ามีความเสี่ยง คุณค่าจะถูกลดทอน ความปลอดภัยไม่ได้เป็นภาระ แต่เป็นหน้าที่ เป็นสิทธิพื้นฐานที่ทุกคนควรจะได้ นพ.สุรพร ก้อนทอง Safety ไม่ใช่สิ่งที่ควรทำหรือไม่ทำ แต่เป็นหน้าที่ความรับผิดชอบที่ต้องทำ ถ้าเราบริหารและจัดการความเสี่ยงได้ มีเวลาทำให้เกิดการพัฒนาคุณภาพ ถ้าเราไม่สามารถบริหารและจัดการความเสี่ยงได้ ต่อให้มีความพึงพอใจแค่ไหน แต่ถ้ามีความเสี่ยง คุณค่าจะถูกลดทอน แนวคิด Safety I Safety II และ Synergy ผนึกกำลังเพื่อการขับเคลื่อนด้านความปลอดภัย ข้อแตกต่างระหว่าง  -Safety I และ Safety II Safety I เรียนรู้จาก อุบัติการณ์ข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น - Safety II เรียนรู้จากการประสบความสำเร็จใน การสร้างความปลอดภัย ไม่ว่าเกิดสถานการณ์หรือข้อจำกัดใดๆเหมาะจะทำในอุบัติการณ์ที่ Near 0 (อุบัติการณ์ที่นานนานเกิดครั้ง) เน้นพร้อมรับทุกสถานการณ์ เน้น Process ตัวแปรอะไรบ้างที่ทำให้ต้องปรับการทำงาน(FRAM) มีโอกาสผิดพลาดมากและรุนแรงโดยที่เราไม่อาจทราบได้อย่างไร(FMEA) สามารถคาดการณ์ตัวแปรแต่ละตัว และมีแนวทางในการรับมือ เน้น Best Practice เราจะก้าวสู่ Safety II โดยการใช้ 1) Resilience Design คือการออกแบบให้งานของเราสามารถปรับตัวพร้อมรับสถานการณ์ต่างๆ...
การบริหารกำลังคนในยุค Digital HR 5.0 การทำ Digital Transformation ที่ได้ผลดี ไม่ใช่การลงทุนไปกับการซื้อเทคโนโลยีที่ทันสมัยหรือราคาแพง องค์กรสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีหรือเครื่องมือที่มีอยู่เพื่อบริหารจัดการข้อมูลได้ เช่น การใช้ Microsoft Excel เพื่อให้เกิดการบันทึกข้อมูล ใช้ประโยชน์จากข้อมูลในการตัดสินใจหรือวางแผนการดำเนินการระดับองค์กรอย่างเหมาะสม เพื่อให้การบริหารจัดการบุคลากรเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนไปสู่การบรรลุเป้ามายขององค์กรได้ การบริหารงานทรัพยากรบุคคล (Human Resource: HR) เป็นระบบที่มีการดำเนินงานที่ค่อนข้างชัดเจน ตั้งแต่การสรรหา/คัดเลือก (Recruitment & Selection) การบริหารจัดการประสิทธิภาพของบุคลากร (Performance Management) การเรียนรู้และพัฒนา (Learning & Development) การบริหารการใช้ประโยชน์จากบุคลากร (Management & Utilization) และการรักษาบุคลากรให้อยู่กับองค์กร (Retention) ดังนั้นการบริหารทรัพยากรบุคคลเพื่อเข้าสู่ยุค HR 5.0 นั้นจะต้องทบทวนว่าจะนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาสนับสนุนการทำงานในแต่ละกระบวนการรวมถึงการใช้ข้อมูลสารสนเทศที่มีประโยชน์และสามารถนำไปใช้ในการดำเนินงานต่างๆ ได้ HR 5.0 คืออะไร? คำว่า Digital คือการรวมกันของคำว่า Data, Technology, Systems Thinking เพื่อให้เกิดการเลือกข้อมูลที่สำคัญที่ใช้ในการบริหารและการตัดสินใจ ซึ่งก่อนที่จะจัดหาเทคโนโลยีเข้ามาใช้ จำเป็นจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับระบบงานที่ทำก่อน ปัจจุบัน HR ได้แบ่งยุคออกเป็น 5 ยุค คือ ใน...
“จากรากฐาน สานต่อ ก่อกาลไกล...สู่ก้าวไปด้วยกัน” “ยาก แต่ทำได้” แล้ว... “การทำเรื่องใหม่ ๆ ที่มีผลกระทบ (Impact) ต่อคนจำนวนมาก” ยิ่งยากกว่า...  ต้องพิจารณาให้รอบด้าน มุ่งมั่นอย่างจริงจัง ไม่สามารถดำเนินการเพียงลำพัง จำเป็นต้องขับเคลื่อนเป็นองคาพยพ พญ.ปิยวรรณ ลิ้มปัญญาเลิศ “จากรากฐาน” งานคุณภาพที่ผ่านมาของสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล เกิดขึ้นได้นั้น เปรียบเสมือนต้นไม้คุณภาพ ที่มาจากการวางฐานรากที่เข้มแข็ง ของ นพ.อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้ง และเป็นผู้อำนวยการสถาบัน ฯ คนแรก ต่อมามีการดำเนินการ “สานต่อ” เจตนารมณ์ด้านการพัฒนาคุณภาพ โดย นพ.กิตตินันท์ อนรรฆมณี เข้ามาดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการสถาบัน ฯ คนที่สอง จนกระทั่งระบบคุณภาพได้ถูกบูรณาการภายใต้ระบบสุขภาพที่เข้มแข็งไร้รอยต่อจวบจนปัจจุบันสู่อนาคต “ก่อกาลไกล” โดย พญ.ปิยวรรณ ลิ้มปัญญาเลิศ ผู้อำนวยการสถาบัน แนวคิด “ก่อกาลไกล” มี 3 ประเด็น คือ 1. Hospital / Healthcare System /Health System: ที่ผ่านมาการดำเนินงานด้านการพัฒนาคุณภาพโดยใช้เครื่องมือ Hospital Accreditation ในทุกโรงพยาบาลนั้นอาจไม่เพียงพอ แต่ควรขยายผลไปสู่  Healthcare System...
ปาฐกถาพิเศษ “Synergy for Safety and Well-being” โดย ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเวศ วะสี   ชีวิตคนประดุจฟ้า ความปลอดภัยและสุขภาวะคือสิ่งสูงสุด / ชาว HA เพื่อสิ่งสูงสุด กระบวนการเรียนรู้ร่วมกันในการปฏิบัติ หรือ PILA (Participatory Interactive  Learning through Action) การร่วมสร้างคุณภาพทำให้ทุกคนมีความสำคัญ ทำให้เกิดความเสมอภาค ภราดรภาพ และสามัคคีธรรม เกิดปัญญาร่วม (Collective wisdom) ทั้งหมดเป็นพลังมหาศาลนำไปสู่ความสำเร็จและความสุข ความปลอดภัยและสุขภาวะที่สมบูรณ์ของคนทั้งแผ่นดิน เป็นเป้าหมายสูงสุดของประเทศไทย เรื่องสุขภาพไม่ใช่เพียงเรื่องของโรงพยาบาลเท่านั้น แต่สุขภาพคือทั้งหมด เป็นเป้าหมายสูงสุดของการพัฒนา (Health is totally integral in all human and social development) สุขภาพที่สมบูรณ์ของคนทั้งแผ่นดิน / สุขภาพที่สมบูรณ์ของคนทั้งแผ่นดิน เป็นเป้าหมายสูงสุดของการพัฒนาประเทศ สู่การเป็นประเทศที่มีบูรณภาพและดุลยภาพ ปัจจุบันมหาวิทยาลัยต่าง ๆ มักมีแนวคิดเชิงเทคนิค แต่ยังขาดแนวคิดเชิงระบบการคิดแบบองค์รวม สุขภาวะของคนทั้งปวง ประกอบด้วย 1.พฤติกรรมสุขภาพ 2.สิ่งแวดล้อมดี 3.ชุมชนเข้มแข็ง 4.ระบบบริการสุขภาพดี 5.นโยบายสาธารณะดี ระบบบริการสุขภาพดี ประกอบด้วย...
- Advertisement -

MOST POPULAR

HOT NEWS