วันศุกร์, พฤษภาคม 16, 2025
ใครรู้บ้างมั้ย ? "บุคลากรสาธารณสุขยุคใหม่ หัวใจคุณภาพ” เป็นอย่างไร ? Who knows?         ด้วยคำพูดของพี่คนหนึ่ง ในฝ่ายพัฒนาคุณภาพของโรงพยาบาลแห่งนี้ "ให้คุณภาพอยู่ในงานประจำ ทำงานประจำให้มีคุณภาพ"  ย้อนไปเมื่อ 3 ปีที่แล้ว กับการเริ่มทำงานในระบบงานด้านสาธารณสุขกับที่นี้เมื่อได้ยินประโยคนี้มีคำถามขึ้น มากมายในหัว “หมายถึงอะไร ต้องทำอย่างไร ที่เราทำทุกวันนี้มี" คุณภาพไหม เราจะช่วยพาเพื่อนๆ ในแผนกต่างๆ ให้ทำงานได้คุณภาพอย่างไร บลา บลา บลา…….”        สิ่งหนึ่งที่มาหยุดความคิด คือ พี่คนเดิมพูดต่อ  “คือความตระหนักถึง หน้าที่ความรับผิดชอบ ต้องส่งมอบงานให้สมบูรณ์ ได้คุณภาพมาตรฐานการพยาบาล และคุณธรรมที่ผู้รับบริการควรได้รับ เพื่อให้คุณภาพชีวิตของผู้รับบริการดีขึ้น มีความสุขกายและสบายใจ ทุกคนในองค์กรทำได้ ตั้งแต่ผู้อำนวยการ แพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ หรือแม้กระทั้ง หน่วยเล็กๆ เพียงแค่ปรับวิธีกระบวนการทำงานให้ปลอดภัย สะดวก รวดเร็วทั้ง ผู้ให้บริการและผู้รับบริการ โดยคำนึงผู้รับบริการเป็นหลัก”  ตั้งแต่นั้น มีความเปลี่ยนแปลงหลายอย่างในที่แห่งนี้ ...         สถานการณ์หนึ่งที่ยังติดตาและประทับใจพวกเราเสมอ...วันนั้น...
การบริการในยุคโควิด (19) สร้างทีมเวิร์ค!       โควิด -19 ให้อะไรกับเรา ? เอาจริงๆ ถ้ามีใครถามคำถามนี้กับเรา เราอาจจะเอียงคอ ทำหน้าครุ่นคิดไปพักใหญ่กันเลยทีเดียว ก็เราไม่เห็นว่าเราจะได้ประโยชน์อะไรกับโรคนี้เลย แต่ถ้ามองลึกๆ ลงไป เราจะมองเห็นความเป็น “ทีม” ก็ได้ เกือบ 3 ปี ที่โควิด-19  (โรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)) เข้ามา วิถีชีวิตของเราก็เปลี่ยนไป ประชาชนทุกคนต้องปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตใหม่ หรือที่เรียกกันว่า ชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) ทุกคนต้องปรับพฤติกรรมใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการสวมใส่หน้ากากอนามัย การล้างมือบ่อยๆ การเว้นระยะห่างทางสังคม รวมไปถึงการให้บริการทางการแพทย์ที่มีข้อปฏิบัติมากมาย covid 19         ศูนย์บริการสาธารณสุข 61 สังวาล ทัสนารมย์ ของเรา เป็นหน่วยบริการทางการแพทย์ ซึ่งให้บริการประชาชนในพื้นที่เขตสายไหม กรุงเทพมหานคร และพื้นที่ใกล้เคียง ตั้งแต่มีโรคโควิด-19 เข้ามา เนื่องจากเป็นโรคอุบัติใหม่ บุคลากรของหน่วยงานเราซึ่งเป็นด่านหน้าต้องทางานหนักกันมากขึ้น ซึ่งเป็นงานที่ท้าทายมากๆ เมื่อมีผู้ป่วยในพื้นที่ ทีมได้มีการสอบสวนโรค ค้นหากลุ่มเสี่ยง ตรวจคัดกรองทั้งในชุมชน...
ความประทับใจ จากการออกเยี่ยมบ้านผู้ป่วยติดเตียง  ต.พระหลวง อ.สูงเม่น จ.แพร่ คุณค่าจากงานชุมชน bedridden patient           เมื่อปี 2563 2564 ที่ผ่านมา ดิฉันเป็นหนึ่งในทีมดูแลสุขภาพช่องปากผู้ป่วยติดเตียงในต.พระหลวง อ.สูงเม่น จ.แพร่ ได้ออกตรวจสุขภาพช่องปากผู้ป่วยติดเตียงในเขตรับผิดชอบ ซึ่งในทีมประกอบไปด้วย ทันตแพทย์           จาก รพ.สูงเม่น, พยาบาลวิชาชีพ ที่เป็น Care Manager, ทันตาภิบาล และผู้ช่วยเหลือคนไข้ เพื่อตรวจสุขภาพช่องปากและนำมา วางแผนการดูแลและรักษา ให้คำแนะนำที่ถูกต้อง เหมาะสมแก่ผู้ดูแล เพื่อป้องกันการเกิดปอดติดเชื้อจากการสำลัก โดยมีการเตรียมข้อมูลผู้ป่วย และนัดหมายกับผู้ดูแล เป็นที่เรียบร้อยก่อนการเข้าเยี่ยม        ทุกวันอังคารบ่ายของแต่ละสัปดาห์ในไตรมาสแรกและไตรมาสที่ 2 ของปีงบประมาณ เราใช้มอเตอร์ไซค์ เป็นยานพาหนะ เพื่อความสะดวกในการสัญจร ภายในหมู่บ้าน โดยการเยี่ยมผู้ป่วยแต่ละคนใช้เวลาประมาณ 30 นาที     จึงเยี่ยมได้ครั้งละ 3 4 คน .      ...
พลังแห่งความห่วงใยเสริมสร้างพลังใจ      วันหนึ่งเวลาประมาณ 20.00 น. พยาบาลได้รับสายโทรศัพท์จากผู้ชายสูงวัย อายุ 76 ปี ซึ่งไม่เคยใช้โทรศัพท์มาก่อน โทรมาด้วยน้ำเสียงที่ดีใจ ว่า “หมอ กินข้าวรึยัง ผมจะบอกว่าผมเลิกบุหรี่ได้ 1 ปี แล้วนะ   หมอก็ดูแลตัวเองด้วยนะ” เสียงนี้เป็นเสียงที่ให้กำลังใจพยาบาลคนหนึ่ง ที่ตั้งใจดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวมด้วยหัวใจ ซึ่งไม่ต้องใช้ยาแพงตัวไหนเลย empowering      ก่อนหน้านี้ ย้อนไปเมื่อ 1 ปี ก่อน ผู้ป่วยชายสูงวัย สูบบุหรี่เป็นประจำ มีภาวะซึมเศร้า และบ่นว่าเบื่อหน่าย ท้อแท้กับการดูแลตัวเองที่ป่วยเป็นโรคถุงลมโป่งพอง ไม่มีใครสนใจ ลูกชายไปทำงานต่างจังหวัด ไม่ค่อยได้พูดคุย ภรรยาเลิกรากันแล้ว เหมือนอยู่ตัวคนเดียว รู้สึกว่าการสูบบุหรี่ ช่วยบรรเทาความเครียดได้ แต่ผู้ป่วยก็ยังคงมารับบริการอย่างต่อเนื่อง     ถ้าผู้ป่วยได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเขาจะเดินเท้าออกจากบ้าน 3 กิโลเมตร เพื่อนั่งรถโดยสาร แต่ในบางครั้งที่ไม่มีเงินผู้ป่วยจะขี่จักรยาน มาโรงพยาบาลเอง เป็นประจำ เมื่อมาถึงโรงพยาบาล ก็มักจะได้นอนรักษาตัวที่โรงพยาบาลเสมอ ซึ่งประวัติที่ผ่านมาได้มีการปรับยาหลายครั้งแต่อาการของผู้ป่วยก็ไม่ดีขึ้น      วันหนึ่งผู้ป่วยได้มาตามนัดเพื่อรับยาแต่กว่าที่จะมาถึงโรงพยาบาลก็เลยเวลาที่คลินิกเปิดให้บริการ เมื่อมาถึง พยาบาลก็ได้สอบถามและประเมินอาการ จากการสอบถามพูดคุย ผู้ป่วยจึงเล่าว่า...
เรื่องเล่าโรงพยาบาลหนองพอก “เรียนรู้จากความผิดพลาด” เมื่อเกิดความผิดพลาด หรือเกิดอุบัติการณ์ความเสี่ยงขึ้น สิ่งที่เรานึกถึงคือเรื่องอะไร ?????? แน่นอนว่า สิ่งที่คนเราชอบนึกถึงเสมอ คือ “ใครเป็นคนทำ ???.....” แล้วคำพูดที่ชอบตามมาก็คือ “คนนี้อีกแล้วเหรอ ????.....” learn-from-mistakes         การพัฒนางานคุณภาพ ในการดูแลรักษาผู้ป่วยสิ่งสำคัญคือ ความผิดพลาดคลาดเคลื่อนที่ไม่ควรเกิดขึ้น โดยเฉพาะที่เป็นอุบัติการณ์ระดับ E Up ขึ้นไป เราควรเฝ้าระวังความเสี่ยง ป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติการณ์ แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้ว การทบทวนร่วมกัน เพื่อหาแนวทางปรับปรุงแก้ไขเชิงระบบเป็นสิ่งสำคัญ       การพัฒนาคุณภาพบริการของโรงพยาบาลหนองพอก ได้รับการเรียนรู้ทบทวนผ่านอุบัติการณ์ความเสี่ยงมาหลายปี พบว่า การแก้ไขปรับปรุงเพื่อป้องกันการเกิดความเสี่ยงซ้ำ ควรแก้ไขที่ระบบ มองหาจุดบกพร่องของระบบ  หาแนวทางป้องกันในระบบ และป้องกันไม่ให้ Human Error โดยอาศัยเทคนิควิธีการที่หลากหลายมาช่วย      เมื่อวันหนึ่งฝ่ายเภสัชกรรม ได้รับประสานจากโรงพยาบาลร้อยเอ็ด ว่าผู้ป่วยได้รับ ยาวาร์ฟารีน เกินขนาด คนไข้ถูกส่งต่อด้วย Gut Obstruction INR=12.79  จึงได้ตามรอยเคสนี้ พบว่ามีปรับยา Warfarin โดยมีการสั่งใช้  Warfarin 3 ขนาน ทำให้ 17 วันต่อมาผู้ป่วยมีอาการปวดท้อง ได้ส่งต่อโรงพยาบาลร้อยเอ็ด...
เรื่องเล่าแรงบันดาลใจ ของบุคลากรสาธารณสุข ที่เราประทับใจในการให้บริการต่อผู้ป่วย “บุคลากรสาธารณสุขยุคใหม่ หัวใจคุณภาพ” ....กำลังใจ.... motivation ไลน์... คุณหมอเจ้า.. ไลน์... ป้ารบกวนให้คุณหมอมาดูแฟนป้า..หน่อย        เช้าของวันหนึ่ง ขณะที่กำลังแต่งตัวและตระเตรียมอุปกรณ์เพื่อจะไปทำงาน มีข้อความไลน์เด้งเข้ามาในโทรศัพท์มือถือ “คุณหมอเจ้า”... “ป้ารบกวนให้คุณหมอมาดูแฟนป้า...หน่อย” เป็นข้อความจากญาติคนไข้ที่ทักมาแต่เช้า ซึ่งผมเองก็ไม่รู้ว่าคนไข้ของญาติรายนี้มีปัญหาอะไรหรือป่าว ทิ้งข้อความให้ชวนสงสัย       คงต้องบอกก่อนว่า ผมนั้นเป็นเจ้าหน้าที่ ที่พึ่งย้ายมาประจำอยู่ ณ สถานบริการแห่งนี้ ยังไม่ค่อยรู้จักและเข้าใจบริบทของพื้นที่ ชุมชนแห่งนี้ดี เท่าไหร่      การทำงานในสถานบริการแห่งใหม่นั้น ก็คงต้องปรับตัวอีกเยอะ ซึ่งหลักๆ ก็จะเป็นการให้บริการแบบองค์รวม ทั้งสี่ด้านไปพร้อมๆกัน ไม่ว่าจะเป็น การรักษา การส่งเสริม การป้องกัน และการฟื้นฟู การดูแลสุขภาพของชาวบ้านและชุมชน  ที่นี่ดำเนินการไปอย่างเรียบง่ายคงไม่แตกต่างจากพื้นที่อื่นๆ       ผมหยิบโทรศัพท์มือถือขึ้นมาดูอีกครั้ง พร้อมทิ้งข้อความ “ป้าครับ เดียวสัก 10 โมง ผมลงไปเยี่ยมที่บ้านนะครับ” เป็นการแจ้งให้ป้าทราบว่า ผมได้นัดหมายเวลาป้า เพื่อลงไปดูและเยี่ยมญาติของป้า โดยไม่ได้ละเลย... เมื่อถึงเวลา 10.00 น. ผมพร้อมด้วยอุปกรณ์ที่จำเป็นในการออกเยี่ยมบ้านและนัดแนะกับ อสม. อีก 1 ท่าน...
“ยายเหนื่อย ไม่รู้จะทำพรือแล้วหมอ” take-care-of-mental-health-clinic                  “ยายเหนื่อย ไม่รู้จะทำพรือแล้วหมอ” เป็นคำพูดของนางบุญศรี (นามสมมติ) อายุ 67 ปี พูดกับเจ้าหน้าที่ขณะลงพื้นที่ ซึ่งนางบุญศรี เป็นคนในพื้นที่อำเภอลำทับแต่กำเนิด นางบุญศรี มีบุตรสาว 1 คน ชื่อนางอุไร ต่อมานางอุไร ได้แต่งงานมีบุตร 2 คน หลังจากคลอดบุตร คนที่ 2 ได้ไม่นานนางอุไร ประสบอุบัติเหตุส่งผลให้นางอุไร เกิดความพิการทั้งทางกายและทางจิต อันเป็นผลมาจากอุบัติเหตุ ทำให้สามีของนางอุไร ขอหย่าเพื่อไปมีครอบครัวใหม่ หนำซ้ำบุตรสาวคนเล็กของนางอุไร เป็นผู้พิการแต่กำเนิด ส่งผลให้นางบุญศรี ผู้เป็นแม่ กลายเป็นผู้ดูแลผู้พิการ ทั้งสองคนในบ้าน       คลินิกสุขภาพ ได้รับการประสานจากอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ทางเจ้าหน้าที่คลินิกสุขภาพจิตได้เร่งดำเนินการลงพื้นที่พร้อมกับเจ้าหน้าที่รับผิดชอบงาน IMC และ HHC เมื่อลงพื้นได้พบกับนางบุญศรี ได้ดำเนินการสอบถาม พบว่านางบุญศรี ประสบปัญหาการนำส่ง นางอุไรและบุตรเข้ารับการรักษา รวมทั้งภาระค่าใช้จ่ายของการรักษาพยาบาลของนางอุไรและบุตร รวมถึงค่าศึกษาเล่าเรียนของบุตรคนโตของนางอุไร ซึ่งเจ้าหน้าที่หลังได้รับฟังประเด็นปัญหาของนางบุญศรี จึงเร่งดำเนินการประสานงานกับภาคีเครือข่ายทั้ง...
"บุคลากรสาธารณสุขยุคใหม่ นอกจากจะมีความรู้ทางวิชาการแล้ว ควรมีความรอบรู้ที่สามารถนำไปใช้ใน ทุกสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสม และมีประสิทธิภาพ ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง องค์กร และผู้รับบริการ"   "เอ็มมี่" เป็นชื่อเล่นของ น้องนักกายภาพบำบัด ที่ทำงานอยู่ในโรงพยาบาลของเรา เอ็มมี่เป็นน้องที่น่ารัก นิสัยดี ยิ้มเก่ง ร่าเริง มีความสามารถหลากหลายด้าน ในทุกๆ เช้า เอ็มมี่จะไปสอนการยืดเหยียดร่างกาย ให้กลุ่มผู้สูงอายุ และผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ที่มานั่งรอรับบริการตามนัด บริเวณหน้าคลินิกพิเศษ (คลินิก ICD) ทุกเช้าที่เดินผ่านจะได้ยิน เสียงหัวเราะสนุกสนานของผู้สูงอายุ ทำให้อดไม่ใด้ ที่จะยิ้มตามไปด้วย      ปัจจุบัน เอ็มมี่ รับผิดชอบงานดูแลผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง ( Long Tem Care) ในชุมชนร่วมกับทีมโรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ทั้ง 7 แห่ง ในอำเภอปราณบุรี และดูแลผู้ป่วยระยะกลาง (Intermediate care) ที่มีปัญหาเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว ซึ่งดูแลรักษา ส่งเสริมฟื้นฟู ด้วยวิธีการทางด้านกายภาพบำบัด      เคล็ดลับในการทำงาน เอ็มมี่ ยึดหลัก "3 S" ซึ่ง S ตัวแรก หมายถึง Start...
The future and challenge of facilities management in hospital
The future and challenge of facilities management in hospital ปัญหาที่โรงพยาบาลส่วนใหญ่พบในเรื่องของการจัดการสิ่งอำนวยความสะดวกในโรงพยาบาล คือ ผังโครงสร้างโรงพยาบาลไม่ได้ถูกออกแบบให้ครอบคลุมการใช้งานตรงตามวัตถุประสงค์ตั้งแต่แรก ทำให้การปรับเปลี่ยน function การทำงานต่างๆ เป็นไปได้ค่อนข้างยาก การจัดการในสถานการณ์อันยากลำบากนี้ ต้องอาศัยองค์ประกอบที่สำคัญในการบริหารจัดการที่สอดคล้องกับบริบทของแต่ละโรงพยาบาล คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล ภายใต้การกำกับของมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ประสบปัญหาในการจัดการสิ่งอำนวยความสะดวกในโรงพยาบาล จากข้อจำกัดหลายประการ คือ ตั้งอยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร อยู่ติดกับวังศุโขทัย มีข้อกฎหมายตีกรอบค่อนข้างมาก เป็นโรงพยาบาลเก่าแก่ที่มีสถาปัตยกรรมแบบเก่า ตัวอาคารไม่ได้รับการวางผังเรื่อง facilities มาตั้งแต่แรก วาระของผู้บริหารระดับสูงมีแค่ 4 ปี ทำให้โครงการระยะยาวขาดความต่อเนื่อง ทางคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล จึงได้เริ่มทำการปรับปรุง สิ่งอำนวยความสะดวกในโรงพยาบาล ให้รองรับความต้องการรับบริการของประชาชนในเขตเมืองมากที่สุด ดังนี้ จัดทำ Master plan ระยะยาว 8-10 ปี วางแผน zoning โดยแยกตามประเภทของงาน แบ่งออกเป็น ส่วนพื้นที่การศึกษา แยกออกไปอยู่นอกพื้นที่โรงพยาบาล เพื่อลดความแออัด ส่วนพื้นที่ระบบงานสนับสนุน เช่น งานเวชภัณฑ์กลาง แยกออกเป็นสัดส่วน อาคารสถานีย่อยไฟฟ้าสร้างเป็นอาคารเฉพาะ 4 ชั้น เพื่อจ่ายกระแสไฟให้หน่วยบริการอย่างเพียงพอ อาคารหอพักมีทั้ง ปรับปรุงหอพักที่อยู่ภายในพื้นที่โรงพยาบาลและสร้างหอพักพื้นที่นอกโรงพยาบาล ...
การจัดการเครื่องมือแพทย์ในภาวะวิกฤติและความท้าทายในอนาคต
การจัดการเครื่องมือแพทย์ในภาวะวิกฤติและความท้าทายในอนาคต ความท้าทายของการบริหารจัดการเครื่องมือแพทย์ในภาวะวิกฤติ ประกอบด้วยงานสำคัญ 3 ส่วน คือ การมีเครื่องมือเพียงพอ พร้อมใช้ และได้มาตรฐาน สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ เป็นหน่วยงานของรัฐที่มีระบบบริหารงานเป็นอิสระ (Public Agency) อยู่ภายใต้การกำกับของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และให้เป็นองค์กรหลักในการพัฒนาระบบมาตรวิทยาของชาติให้สอดคล้องกับระบบมาตรวิทยาสากล โดยมีพันธกิจสำคัญคือการพัฒนามาตรฐานการวัดแห่งชาติให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล และถ่ายทอดความถูกต้องของการวัดต่างๆ ในประเทศ รวมทั้งเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจด้านมาตรวิทยาแก่สังคมไทย เพื่อให้ตระหนักถึงความสำคัญของมาตรวิทยา อีกทั้งเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทางการค้าระหว่างประเทศ การคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศ และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม บทบาทสำคัญทางด้าน Healthcare คือ การสร้างความมั่นใจในการวัด ด้วยเครื่องมือที่ได้มาตรฐาน เพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาพยาบาล กระบวนการสร้างความมั่นใจในเครื่องมือวัด มี 3 หลักการสำคัญ คือ ควบคุม สอบเทียบ/ทวนสอบ บำรุงรักษา นอกจากนี้ สถาบันมาตรวิทยายังมีบทบาทในการสนับสนุนการพัฒนาเครื่องมือแพทย์ ผ่านงานสำคัญ 2 ด้าน ได้แก่ 1. การสร้างความร่วมมือกับสถาบันมาตรวิทยาของต่างประเทศ เพื่อดำเนินการสนับสนุน ให้การช่วยเหลือหน่วยงานทางการแพทย์ให้มีเครื่องมือแพทย์ที่เพียงพอ พร้อมใช้ ได้มาตรฐาน 2. จัดตั้งหน่วยบ่มเพาะและรับรองความสามารถทางวิชาการด้านมาตรวิทยาทางการแพทย์ ให้ความรู้กับหน่วยงานที่ต้องการขอการรับรองด้านมาตรฐานเครื่องมือแพทย์ ปัจจัยความสำเร็จของการบริหารจัดการเครื่องมือแพทย์ คือ การที่ผู้บริหารมองเห็นความสำคัญในการจัดการเครื่องมือแพทย์ ให้การสนับสนุนในการทวนสอบเครื่องมือให้เป็นไปตามมาตรฐาน รวมทั้งการส่งเสริมให้บุคลากรมีความรู้ที่ถูกต้อง บริษัท อาร์เอฟเอส จำกัด ภายใต้การกำกับดูแลของคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี เป็นหน่วยงานที่ประสบปัญหาด้านการบริหารจัดการเครื่องมือแพทย์ในช่วงของการระบาดของโรค Covid-19...
- Advertisement -

MOST POPULAR

HOT NEWS