วันอาทิตย์, พฤษภาคม 18, 2025
Highlight ENV & Back Office “ปัจจุบันบริการทางการแพทย์ High Technology มากขึ้นแต่พบว่าการดูแลเครื่องมือกลับขาดประสิทธิภาพ ขาดการดูแล หรือมีการดูแลแต่ไม่ครบถ้วน และส่วนใหญ่มักพบในเครื่องมือที่มีความเสี่ยงสูง” โกเมธ นาควรรณกิจ ปัญหาที่พบจากการเยี่ยมสำรวจเพื่อขอรับรองคุณภาพตามมาตรฐาน HA ในปี 2561 พบว่าหลายโรงพยาบาล ไม่ผ่านเกณฑ์ในการรับรองตามมาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ ฉบับที่ 4 โดยเฉพาะในระบบดังต่อไปนี้ การจัดการระบบแก๊สทางการแพทย์ (ระบบสำรอง)/การจัดระบบเครื่องมือแพทย์/ระบบการป้องกันและระงับอัคคีภัย/ ระบบบำบัดน้ำเสีย/ระบบไฟฟ้าสำรอง/ระบบประปา (ระบบน้ำสำรอง)/ระบบลิฟต์ และอาคาร สถานที่ไม่มีความปลอดภัย ระบบระบายอากาศไม่ดี โดยพบว่าบางโรงพยาบาลเกิดปัญหาในทุกระบบ ทำให้มีความเสี่ยงสูงมาก      ผลกระทบที่เกิดขึ้นพบได้ตั้งแต่มีความรุนแรงน้อย ถึงมาก ซึ่งมีผลต่อการได้รับการรับรอง ในขณะเดียวกันก็มีอีกหลายโรงพยาบาลซึ่งสามารถเป็นแบบอย่างที่ดี การพัฒนาต้องได้รับความร่วมมือจาก                                               ...
Process Management & Rapid Assessment “การใช้ Rapid assessment หรือการประเมินแบบฉับไวนั้นเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า เนื่องจากใช้เวลาสั้น เห็นโอกาสในการนำมาพัฒนาปรับปรุงและเกิดประโยชน์มากมาย” “เครื่องมือนี้เปรียบเสมือนระเบิดที่เข้าไปสร้าง Sense of Urgency ให้กับผู้คนในองค์กร เมื่อทุกคนในองค์กรรับรู้ ก็จะช่วยผลักดันให้เกิดพลังการเปลี่ยนแปลง”                                                                                         ...
From Global to National Movement on Quality and Safety in Healthcare “การรับรองคุณภาพ ไม่สามารถทำได้จากการบังคับ ต้องมีใจร่วมเคลื่อนไหวในการพัฒนาคุณภาพ ไม่ต้องมีใครสั่ง 2P จะต้อง เป็น personnel’s commitment for patient safety” นพ.สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ   “งานคุณภาพเป็นงานที่ทำแล้วมีความสุข ก้าวพัฒนาไปด้วยความสุข ทำสิ่งที่ดีให้ผู้ป่วยและตัวเราเอง” รศ.ดร.นพ.จิรุตม์ ศรีรัตนบัลล์ “ขอให้ถือประโยชน์ส่วนตนเป็นที่สอง ประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่หนึ่ง รักษาธรรมะแห่งวิชาชีพให้บริสุทธิ์ ลาภยศสรรเสริญจะมาสู่ท่านเอง ในการทำงานด้านสาธารณสุข ให้มีใจเป็นตัวตั้ง เมื่อใจรักผู้ป่วยและประชาชน มีฉันทะในการทำงาน เป็นหลักรากที่สำคัญ HA ก็ดี Value based healthcare ก็ดี กลไกทางการเงินต่างๆ เป็นเพียงเครื่องมือส่งเสริมสนับสนุน แต่พื้นฐานนั้นคือจิตวิญญาณของบุคลากร ที่ยึดมั่นต่อประโยชน์สาธารณะ นั่นคือพื้นฐานสำคัญที่สุด ส่วนที่เหลือนั้นเป็นส่วนต่อยอด พึงระมัดระวังอย่าเอาส่วนยอดมาเป็นฐาน ให้ยึดมั่นในฐานให้แน่น มิฉะนั้นส่วนยอดจะโคลงเคลง ไม่มั่นคง” นพ.สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ Patient Safety: From Global to National     ...
Value Based Healthcare & Review in Daily Activities “การพัฒนาอย่างยั่งยืนในทุกกระบวนการทำงาน ต้องมีการเปลี่ยนให้ถึง Mental Models ซึ่งเป็นรากฐานส่วนใหญ่ของปัญหา” (รศ.พญ.ยุวเรศมคฐ์ สิทธิชาญบัญชา) “การทบทวนเหมือนกระจกส่องดูการทำงานของทีม เพื่อรับรู้ และเรียนรู้เหตุการณ์ที่เป็นปัญหา ค้นหาโอกาสพัฒนา” (กนกรัตน์ แสงอำไพ) การพัฒนาคุณภาพระบบบริการสุขภาพโดยเฉพาะการดูแลผู้ป่วย เครื่องมือสำคัญอย่างหนึ่ง คือ การทบทวนในงานประจำ (Review in Daily Activities) เพื่อหาโอกาสพัฒนาปรับเปลี่ยนกระบวนการดูแลผู้ป่วยอย่างเป็นระบบที่รวดเร็ว และต่อเนื่อง จัดเป็น Quality Transformation ระดับที่ 1 แต่ปัจจุบันพบว่าทีมสุขภาพยังทำการทบทวนน้อย ล่าช้า ไม่ต่อเนื่อง และไม่สามารถนำผลการทบทวนไปขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพัฒนาเชิงระบบได้ Session นี้ จึงเป็นการบรรยายร่วมกับการ ทำ workshops เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับแนวคิด และคุณค่าของการทบทวนร่วมกันภายในทีมสุขภาพ โดยการประยุกต์ใช้ Trigger tool & concurrent review ที่อยู่ในการทำงานประจำวัน พร้อมนำผลการทบทวนไปใช้ประโยชน์สู่การเปลี่ยนแปลง (Change) และสร้างความร่วมมือ (Collaboration) ของหน่วยงาน/ทีมที่เกี่ยวข้อง เพื่อการพัฒนากระบวนการดูแลผู้ป่วยอย่างเป็นระบบ รวดเร็ว และเป็นรูปธรรม รวมทั้งร่วมกันวางระบบติดตามการเปลี่ยนแปลง/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นนำมาเรียนรู้สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainability) ...
นวัตกรรมเพื่อคุณภาพชีวิต “มนุษย์เราดำรงได้ 2 สถานภาพ คือ เราจะนำการเปลี่ยนแปลง หรือจะให้การเปลี่ยนแปลงนำเราไปจนเราต้องยอมจำนนกับการเปลี่ยนแปลงนั้น” นพ.สมจิตต์ ชี้เจริญ “นวัตกรรมไม่ใช่สิ่งที่เข้าถึงยาก จริงๆ แล้วเป็นการนำสิ่งง่ายๆ และใกล้ตัวมาใช้ในการแก้ปัญหา และปัญหาต่างๆ จะแก้ได้ด้วยนวัตกรรมและการร่วมใจกัน” พ.อ.นพ.ชูศักดิ์ ลิ้นทอง  “เราต้องกล้าที่จะเปลี่ยนแปลง ไม่มีอะไรที่ทำไม่ได้ สิ่งสำคัญ คือ การดูแลคนที่ทำงานกับเราให้มีความสุข” เบ็ญจา สบายใจ “นวัตกรรมเกิดจากวิธีคิด มี 50 อย่างที่บอกว่าเราไม่ควรจะเปลี่ยน แต่มีความคิดเพียง 4-5 อย่างที่บอกว่าเราควรจะเปลี่ยน ซึ่งความคิด 4-5 อย่างนี้จะนำพาพวกเราไปไกลแสนไกล” นพ.สมจิตต์ ชี้เจริญ เมื่อกล่าวถึงคำว่า “นวัตกรรม” เรามักจะนึกถึงเรื่องของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) ต่างๆ หรือต้องเป็นสิ่งใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อน แต่ในความเป็นจริง นวัตกรรม ไม่ได้หมายถึงสิ่งใหม่ที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อนเท่านั้น อาจไม่ใช่สิ่งที่แปลกพิศดาร บางเรื่องอาจต้องใช้เทคโนโลยีระดับสูงแต่บางเรื่องไม่จำเป็น บางครั้งเป็นสิ่งที่ต้องอาศัยความกล้าที่จะทำ ดังนั้น ในทางปฏิบัติ นวัตกรรมจึงหมายถึงกระบวนการที่จะแปลความคิดจากการทำงานปกติให้กลายเป็นแนวทางหรือบริการที่สร้างคุณค่าให้แก่ผู้รับบริการในมุมมองของผู้รับบริการ ในเชิงทฤษฎี มีการแบ่งประเภทของนวัตกรรมแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ ต่อไปนี้ เป็นตัวอย่างขององค์กรที่มีการใช้นวัตกรรมประเภท Product innovation คือ สิ่งที่ผลิตขึ้น อาจจะปรับปรุงให้ดีขึ้นจากเดิมหรือคิดค้นใหม่ ก่อให้เกิดประโยชน์และและสร้างคุณค่าใหม่แก่ผู้รับบริการ และ Process innovation คือ...
เปลี่ยนแปลงแสงสว่างแห่งวิชาชีพ “เมื่อเราได้รับมอบหมายความเป็นวิชาชีพ ความรับผิดชอบเรามา เรารู้สึกภาคภูมิใจ แล้วเราก็ทำหน้าที่เพื่อให้ได้มาซึ่งความรับผิดชอบ แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่เราได้รับมอบหมาย แต่เราไม่ทำหน้าที่ เราจะมีคุณค่าหรือเปล่า เป็นคำถามที่เกิดขึ้น เมื่อเราได้รับมอบหมายให้เป็นหัวหน้างาน หัวหน้าพยาบาลหรือหัวหน้าหน่วย เราได้รับมอบหมายแล้วเราต้องทำหน้าที่จะสอดคล้องกับสถานการณ์หรือเปล่า แล้วจะเหลืออะไรไว้ให้รุ่นน้องถ้ารุ่นเราออกไป ไม่ว่าเราจะขึ้นอยู่ในตำแหน่ง 1 ปี 2 ปี 3 ปี 4 ปี เราต้องงอกอะไรไว้ให้รุ่นน้องบ้าง” (พว.นลกฤช ศรีเมือง) ทำไมต้องมีการเปลี่ยนแปลง มักเป็นคำถามในทุกองค์กรและทุกวิชาชีพ คำว่า “ทำดีอยู่แล้ว” เป็นกับดัก วิธีคิดของการพัฒนาองค์กร สำหรับระบบสุขภาพของประเทศไทยนั้นมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากในช่วง 10 ปี เนื่องจาก การพลิกโฉมของเทคโนโลยี การก้าวเข้าสู่ ยุค Thailand 4.0 ซึ่งมีผลกระทบกับทุกองค์กรและทุกวิชาชีพต้องปรับตัวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แล้วพยาบาลจะเปลี่ยนอะไร เปลี่ยนแปลงอย่างไร เพื่อให้วิชาชีพพยาบาลพัฒนาควบคู่ไปกับการเปลี่ยนแปลง เป็นวิชาชีพมีความเข้าใจ ความตั้งใจและมีแรงบันดาลใจ ที่จะคงไว้ซึ่งเกียรติ ศักดิ์ศรี มีอัตลักษณ์ มีบทบาทเป็นที่ยอมรับของทีมการดูแลรักษาและสังคม จะเป็นแสงสว่างสำหรับวิชาชีพ “พยาบาล” พญ.นลกฤช ศรีเมือง ประเด็นการเปลียนแปลงที่มีผลกระทบต่อระบบสุขภาพ และระบบสาธารณสุขประเทศไทยส่งผลต่อวิชาชีพ ผู้บริหารทางการพยาบาลจะมียุทธศาสตร์การปรับตัวและประสานความร่วมมือในการดำเนินงานเพื่อความอยู่รอด ความยั่งยืนของวิชาชีพพยาบาล ที่ดำเนินงานในหน้าที่ของตนเองอย่างงดงาม จากอดีตกลุ่มผู้บริโภคทางสุขภาพจะเป็นเพียงผู้ที่ยอมรับการรักษาหรือรับการให้ดูแล ปัจจุบันพยายามส่งเสริมการสร้างเสริมสุขภาพ เสริมพลังให้เข้ามาร่วมในการรักษา แต่อนาคตอิทธิพลของเทคโนโลยี...
ธนาคารเวลากับภาคีอาสาการดูแลผู้มีอายุยืน ธนาคารเวลา “วาระแห่งชาติ” เพื่อผู้สูงอายุ ไม่ “แก่อย่างเดียวดาย” การแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวคิด การดูแลผู้สูงอายุ ด้วยการใช้เครื่องมือแบบใหม่ โดยผู้เชี่ยวชาญจากภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับสังคมผู้สูงอายุ ที่กำลังจะมาถึงในไม่ช้า ธนาคารเวลา คือ การสะสมเวลาในรูปแบบของบัญชีส่วนบุคคล โดยสามารถเบิกถอนเวลามาใช้เมื่อต้องการความช่วยเหลือ” ซึ่งใช้หลักคิด “Give and take” หลังจากฝากเวลา ด้วยการบริการ ช่วยเหลือ ในด้านสังคม เศรษฐกิจ หรือสุขภาพ ธนาคารเวลา จะมีผู้รับรองและแปลงเวลาให้เป็นเครดิต ซึ่งอาจดำเนินงานผ่าน website หรือ มีสมุดฝาก เมื่อต้องการ ถอน จะมีทางเลือกในการรับผลตอบแทนได้ในหลายรูปแบบ เช่น การรับบริการแบบที่เคยฝากไป การรับเกียรติบัตร รางวัล หรือการส่งต่อผลตอบแทนให้ผู้อื่น จะมีการบริหารจัดการโดย มีการประเมินความต้องการ จับคู่ (Matching) การจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับที่ต้องการ ธนาคารเวลาเป็นเครื่องมือ ที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชนและองค์กร นั่นคือ ช่วยลดความเหงาซึมเศร้าของผู้สูงอายุ สร้างสัมพันธภาพของเพื่อนบ้าน เสริมสร้างปฏิสัมพันธ์และสร้างเครือข่ายในชุมชน แลกเปลี่ยนทักษะประสบการณ์ ช่วยเหลือเกื้อกูล ตระหนักถึงคุณค่าและศักดิ์ศรีของตนเอง กล้าขอความช่วยเหลือเพราะไม่ได้รับอยู่ฝ่ายเดียว (Give and Take) สุขภาพกายและสุขภาพจิตดีขึ้น เห็นคุณค่าของผู้อื่น ทุกคนเท่าเทียม ตัวอย่างของธนาคารเวลาที่ดำเนินการในประเทศไทย ได้แก่    ...
TMI พัฒนาระบบเทคโนโลยีโรงพยาบาลเพื่อการเปลี่ยนแปลง การพัฒนาคุณภาพโดยมุ่งเน้นการปรับปรุงระบบ จะทำให้ระบบนั้นมีการพัฒนาอย่างยั่งยืน ไม่ขึ้นอยู่กับตัวบุคคล  เทคโนโลยีได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่ง ซึ่งมีบทบาทในการขับเคลื่อนองค์กรมากขึ้นเพื่อสร้างความสะดวกสบาย ความปลอดภัย เพิ่มการเข้าถึงข้อมูลเพื่อให้ในการวิเคราะห์แนวโน้ม ไม่เว้นแม้แต่ในระบบบริการสุขภาพ ซึ่งการเตรียมความพร้อมรับความเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านยุทธศาสตร์ บุคลากร โครงสร้างระบบข้อมูลสารสนเทศ และเทคโนโลยี สมาคมเวชสารสนเทศไทย (Thailand Medical Informatics Association - TMI) ได้พัฒนามาตรฐาน Hospital IT Quality Improvement Framework (HITQF - HA IT) เพื่อช่วยให้สถานพยาบาลได้มีพื้นฐานและความพร้อมในการปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ปัจจุบันโรงพยาบาลในประเทศไทยได้นำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้เป็นจำนวนมากขึ้น ซึ่งสามารถแบ่งระดับของการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ได้เป็น 3 ระดับคือ ระดับที่ 1 นำมาใช้สนับสนุนการดำเนินงานประจำวันของโรงพยาบาล เช่น การบันทึกข้อมูลในระบบเวชระเบียน ระบบการเงิน และต่อยอดการเติบโตทางธุรกิจ                                         ...
บทเรียนจาก 13 หมูป่ากับถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน “เหตุการณ์ครั้งนี้เราพบ Hidden Heroes เยอะมาก น้องที่มารับซักผ้า คนที่มาทำอาหาร ป้าเจ้าของปิ่นมณีรีสอร์ท เด็กหนุ่มอายุประมาณ 16-17 ปี ตัวเล็กๆ ผอมๆ 2 คน ที่โทรบอกว่าไม่มีตังค์ ไม่มีอุปกรณ์ แต่มีรถหกล้อที่จะช่วยขนของบริจาคที่กรุงเทพฯ มาให้ทีม และ Hero อีกหลายคนมากที่ซ่อนอยู่ในงานนี้ ทำให้เราเห็นถึงน้ำใจ พลังใจของคนทั่วโลก จนเราต้องบอกกับตัวเองว่า เราจะไม่ปล่อยให้น้ำใจและพลังใจของทุกคนสูญเปล่า เราไม่มีสิทธิ์ที่จะท้อเลยซักวัน....” (นรินทร ณ บางช้าง) “มันเกิดการเปลี่ยนแปลงในวิธีคิดของผม ที่ได้มากไปกว่านั้น คือ การเปลี่ยนแปลงในวิธีคิดขององค์กรด้วย....การที่   เราทำเรื่องนี้ให้สำเร็จลงได้ ก็เพราะเราทุกคนมีเป้าหมายที่เหมือนกันคือต้องเอาเด็กออกมาให้ได้ และเด็กทุกคนต้องรอด เมื่อเป้าหมายสูงสุดตรงกันจึงเกิดการทำงานโดยไม่ต้องคิดอะไรมาก ทำอะไรก็ได้เพื่อให้ตอบเป้าประสงค์ และเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความยั่งยืน...” (นพ.สมศักดิ์ อุทัยพิบูลย์) “เหตุการณ์ที่ถ้ำขุนน้ำนางนอนเป็นจุดศูนย์รวมที่ฉายให้เห็นถึงพลังความรัก พลังของแสงสว่างที่มีอยู่ในมนุษย์ทุกคนที่มารวมกัน ณ เวลานั้น... เรื่องนี้เป็นประวัติศาสตร์ของโลกที่มีคุณค่ามาก เราน่าจะนำสิ่งที่เกิดขึ้นมาถอดบทเรียนข้ามหน่วยงานเพื่อช่วยกันค้นหาคุณค่าว่าอะไรคือคุณค่าของไทยอย่างแท้จริง แล้วเก็บรักษาคุณค่านั้นไว้ ไม่ปล่อยให้มันสูญหายไปกับภารกิจ 18 วันที่จบลงไป....” (ณาตยา แวววีรคุปต์) เหตุการณ์ 13 หมูป่าติดถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน แม้จะเป็นช่วงระยะเวลาอันสั้น แต่ก็เป็นปรากฏการณ์ความร่วมมือของมวลมนุษยชาติครั้งสำคัญที่เกิดขึ้นจากการบริหารจัดการ ซึ่งทั่วโลกให้คำชื่นชมว่ามีความเฉียบคมและเป็นไปอย่างรวดเร็ว โดยสังคมรับรู้ถึงความช่วยเหลือของผู้เกี่ยวข้องผ่านการนำเสนอตามสื่อสาธารณะต่างๆ...
NSO ; New X wave of disruption “เราจะ Disruption ตัวเองหรือเราจะรอรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง” (ดร.หรรษา เทียนทอง) เรากำลังก้าวเข้าสู่ยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงต่างๆซึ่งเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว พลิกหน้ามือเป็นหลังมือ หรือมีสิ่งใหม่ๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา สิ่งเหล่านี้ย่อมกระทบต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่และภาวะสุขภาพอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ในฐานะที่องค์กรพยาบาลเป็นกลไกที่สำคัญในการขับเคลื่อนระบบสุขภาพที่มีคุณภาพ จึงต้องปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรอบด้านและพัฒนาองค์กรไปข้างหน้าให้เหมาะสมและทันต่อสถานการณ์ ดร.หรรษา เทียนทอง และพว.วีรชาติ ชูฤทธิ์                                                                           แลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้วยการสนทนาในรูปแบบการพูดคุยอภิปรายถึงการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมซึ่งในปัจจุบันนั้นตามบทบาทของพยาบาลต้องรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น...
- Advertisement -

MOST POPULAR

HOT NEWS