เส้นทางการพัฒนาคุณภาพบริการสุขภาพในประเทศไทย (3)
Quality 3.0 Sustained Quality คลื่นลูกที่สามเกิดตามหลังคลื่นลูกที่สองไม่นานนัก จากการพยายามแก้โจทย์ว่าถึงการทำงานจะมีผลลัพธ์ที่ดีและตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ แต่ถ้ากระบวนการนั้นมีค่าใช้จ่ายที่สูงมาก ก็จะทำให้สถานะทางการเงินขององค์กรไม่มั่นคง ส่งผลให้ระบบคุณภาพนั้นไม่ยั่งยืน ประสิทธิภาพจึงต้องควบคู่มากับประสิทธิผล
ในช่วงตั้งแต่ปี พ.ศ.2550 เครื่องมือสำคัญที่เข้ามาช่วยในการปรับปรุงประสิทธิภาพของกระบวนการใน โรงพยาบาล คือ lean โดย lean ให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์กระบวนการ เพื่อเข้าใจว่าในแต่ละขั้นตอนการทำงานนั้น มีขั้นตอนใดหรือกระบวนการใดบ้างที่ไม่สร้างคุณค่าเพิ่มให้แก่ผู้มารับบริการ (Non Value-Added Time) กระบวนการหรือช่วงเวลาที่ไม่เพิ่มคุณค่าถือเป็นการสูญเสีย (Waste) ที่แฝงอยู่ในกระบวนการ และเราจะทำให้กระบวนการมีประสิทธิภาพมากขึ้น ถ้าเราออกแบบกระบวนการใหม่หรือปรับปรุงกระบวนการเดิมให้สามารถลดการสูญเสียเหล่านี้ได้
เครื่องมืออีกชุดหนึ่งที่ตามมาและนำมาใช้ควบคู่กับ lean ได้เป็นอย่างดี คือ logistics โดย logistics ในโรงพยาบาล หมายถึง กิจกรรมและกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการวางแผน ดำเนินการ และควบคุม การไหลของสินค้าและบริการ ไม่ว่าจะเป็นการขนส่งสินค้า (เช่น ยา เวชภัณฑ์ พัสดุ และอื่นๆ หรือแม้กระทั่งผู้ป่วย) การกระจายสินค้า การจัดเก็บรักษาสินค้าที่คลังและหอผู้ป่วย ตลอดจนสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การดำเนินการมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล จากจุดผลิตหรือจุดเริ่มต้นไปจนถึงจุดที่มีการใช้งาน Logistics มีองค์ประกอบใหญ่ๆ 3 องค์ประกอบ คือ
1. การบริหารจัดการพัสดุ...
การหล่อเลี้ยงจิตวิญญาณในโรงพยาบาล
“เพราะพื้นฐานของคน คือ อิสรภาพ ถ้าองค์กรไหนเปิดโอกาสให้พนักงานบอกเล่าหรือแสดงความรู้สึกว่าเขา กำลังทุกข์ร้อนได้โดยง่าย เขาจะเป็น some body ไม่ใช่ no body แต่ถ้าองค์กรไหนไม่เปิดโอกาสให้พูดหรือแสดงความเห็น เขาก็จะไม่อยากพูด จะเป็น no body, no meaning, no value เพราะองค์กรทำให้เขาคิดว่า เขาโง่เง่า เต่าตุ่น ไร้ซึ่งความสำคัญ (ดวงสมร บุญผดุง)
ความสนใจนำแนวคิดจิตวิญญาณในการทำงานมาใช้ควบคู่ไปกับการพัฒนาคุณภาพตามมาตรฐาน HA เกิดจากความพยายามที่จะเรียนรู้และเข้าใจถึงผลลัพธ์และผลกระทบที่เกิดขึ้นกับโรงพยาบาล ซึ่งต้องจัดบริการเพื่อตอบสนองความต้องการและความคาดหวังของผู้รับบริการ ท่ามกลางข้อจำกัดและวิกฤตการณ์ต่างๆ ทั้งในด้านการขาดแคลนอัตรากำลัง การขาดแคลนอุปกรณ์ทางการแพทย์ และภาระงานที่บุคลากรต้องแบกรับ ความกดดันต่างๆ เหล่านี้ส่งผลให้บุคลากรผู้ปฏิบัติงานไม่มีความสุข เกิดความเครียด และมีภาวะหมดไฟ ไม่สามารถดึงศักยภาพที่มีออกมาใช้ได้ และอาจส่งต่อความรู้สึกด้านลบไปสู่บริการที่ส่งมอบให้แก่ผู้รับบริการได้โดยไม่รู้ตัว จนอาจถูกฟ้องร้องได้ สถานการณ์ดังกล่าวทำให้บุคลากรผู้ปฏิบัติงานสูญเสียศักดิ์ศรีและความมีคุณค่าในความเป็นมนุษย์ ซึ่งเคยมีบทเรียนเกิดขึ้นมาก่อนใน America ช่วงศตวรรษที่ 20 จนบุคลากรในองค์กรต่างๆ ออกมาเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องถึงคุณค่าความเป็นมนุษย์ แนวคิดเรื่องจิตวิญญาณในการทำงานจึงถูกพัฒนาและนำมาใช้ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยมีผลการวิจัยที่สะท้อนว่า จิตวิญญาณของบุคลากรสามารถยกระดับในการพัฒนางานและสร้างคุณค่าให้เกิดต่อองค์กรได้ สรพ.ได้นำแนวคิดนี้มาใช้ตั้งแต่ปี 2547 แม้ว่ามิติด้านจิตวิญญาณค่อนข้างเป็นนามธรรม แต่ยังมีโรงพยาบาลที่นำแนวคิดเรื่องจิตวิญญาณลงไปปฏิบัติร่วมกับการพัฒนาคุณภาพตามมาตรฐานอื่นจนเกิดผลลัพธ์ที่ดีและได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติ SHA Award ในปี 2562 เป็นต้นแบบที่น่าเรียนรู้ในแนวทางของการหล่อเลี้ยงจิตวิญญาณในโรงพยาบาล
ดวงสมร...
คุณภาพที่สังคมสัมผัสได้
“ถ้าโรงพยาบาลผมจะเจ้ง เพราะผมต้องดูแลคนไข้ในมาตรฐานอันควร ผมไม่ลังเล” ...
หนึ่งเป้าหมาย หลายเส้นทางสู่จิตวิญญาณในการทำงาน
กระทรวงสาธารณสุขมีบุคลากรกว่าสี่แสนคนทั่วประเทศ แต่ที่เราไม่ทราบคือ คนจำนวนกว่าสี่แสนคนนี้ยัง active หรือ engage กับงานมากแค่ไหน ยังเหลือพลังอยู่เท่าไร หากเราทำให้คนทั้งหมดนี้มีกำลังใจ ในการสร้างสรรผลงาน ไม่ท้อถอย มีจิตใจที่ทุ่มเทก็จะสามารถทำอะไรได้อีกมาก
การอภิปรายวิทยากรสองท่านซึ่งเป็นผู้นำเรื่องของ SHA และงานบันดาลใจในการทำงานของประเทศไทยของบุคลากรในระบบสาธารณสุขทุกคน โดยมุ่งหวังว่าจะสามารถ 1. ตอบโจทย์การสร้างประสบการณ์ของบุคลากร (employee experience) ที่มีอยู่หลากหลายรูปแบบ เพื่อนำไปสู่การมีสุขภาวะทางจิตวิญญาณในที่ทำงาน รูปแบบที่ หลากหลายเหล่านี้เปรียบเสมือนเส้นทางขึ้นสู่ยอดเขาที่มีมากมายหลายเส้นทาง แต่ละเส้นทางอาจแตกต่างกัน แต่หากเราเดินทางอย่างมุ่งมั่นแล้ว ทุกเส้นทางต่างก็พาเราไปพบ กันที่ยอดเขาสูงสุดอันเดียวกัน แม้เราจะเดินทางมาคนละเส้นทางก็ตาม 2. ให้แนวคิดและการจัดการองค์กรที่จะสามารถหล่อเลี้ยงจิตวิญญาณในการทำงานของพนักงาน 3. อธิบายองค์ประกอบที่สำคัญของการจัดการองค์กรเพื่อหล่อเลี้ยงจิตวิญญาณในการทำงานของบุคลากร
คำว่า SHA เดิมมีชื่อที่ยาวมาก (Sustainable Health Care & health Promoting by appreciation & Accreditation) แต่มีการมาปรับเปลี่ยนให้สั้นลง เป็น Spiritual Healthcare Appreciation แปลว่าการใช้จิตวิญญาณ และมุมมองเชิงบวก ในการทำงานระบบสุขภาพ ซึ่งเป็นระบบที่คู่ขนานกับงาน HA(Hospital Accreditation) จนอาจกล่าวได้ว่า HA สอนให้ทำงานอย่างมีหลัก...
SHA&HA ขับเคลื่อนพร้อมกันอย่างมีพลัง
“ความยั่งยืนที่อาจจะไม่ต้องลงทุนด้วยเทคโนโลยีราคาแพงทันสมัย แต่ใช้ความเรียบง่าย ลดทอนสิ่งที่ไม่จำเป็นลง หันมาเข้าใจในคุณค่าของทรัพยากรที่มีอยู่ ใกล้ชิดธรรมชาติ วิถีชีวิต มีความรัก ความเอื้ออาทรเป็นพื้นฐานที่สำคัญ” ดวงสมร บุญผดุง
แนวคิดของการใช้ มาตรฐาน กฎระเบียบ มาบูรณาการกับแนวคิดจิตวิญญาณในการทำงานจะส่งผลต่อการส่งเสริมให้บุคลากรทางการแพทย์ มีพลังร่วมในการเปลี่ยนผ่าน และมีนวัตกรรมการทำงานไปสู่สิ่งที่เหนือกว่าการทำงานตามปกติ มีพลังใจ มีความอิ่มเอมใจ มีความสุข งานมีความสมบูรณ์ และมีความสนุกในการทำงาน ที่สำคัญ คือ สามารถขับเคลื่อนองค์กรไปสู่ความสำเร็จได้อย่างปิติสุข
การเรียนรู้ความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนาคุณภาพ การพัฒนาจิตวิญญาณในการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ เชื่อมโยงในการเยี่ยมสำรวจตามมาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ HA และการรับรู้ SHA ในการปฏิบัติของโรงพยาบาล ในปี พ.ศ. 2561 SHA ได้รับการพัฒนาสู่การวิจัยอย่างเต็มรูปแบบ มีการปรับเนื้อหาให้ครอบคลุม (coverage) น่าเชื่อถือ (reliability) เที่ยงตรง (validity)
ภก.สุนทร ปภานิธินันท์ SHA เป็นอะไรที่จับต้องได้ยาก ปี 2561 จึงมีการจัดทำมาตรฐานภายใต้งานวิจัย มีความประทับใจโรงพยาบาลเสาไห้ นำสู่การสร้างแบบสอบถามอย่างเป็นรูปธรรม มีผู้นำที่ชัดเจน กำหนดวิสัยทัศน์อย่างมีคุณค่า ผู้บริหารสามารถเข้าถึงจิตใจพยายามค้นหาความทุกข์ยากของคนทำงาน มองเห็นว่าคนทำงานทุกคนมีหัวใจ มีหน้าที่เป็นผู้ให้ สร้างความสุข ให้ผู้รับบริการได้รับความปลอดภัย หายจากโรค ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้รับบริการต้องการ ผู้ทำงานทุกคนจึงเป็นผู้มีบุญ...
A New Model of Health Promotion for Health Personnel Safety
“น้องๆ พยาบาลที่ต้องขึ้นเวร เช้า บ่าย ดึก ไม่สบายต้องมาขึ้นเวร ต้องมาดูแลคนอื่น On IV มาขึ้นเวร ตัวเองไม่สบายใครจะดูแล” (ดร.พรศิริ ใจสม)
สุขภาพของคนทำงานมีความสำคัญต่อผลลัพธ์และความก้าวหน้าขององค์กร การคงความมีสุขภาพดีของบุคลากรทั้งร่ายกายและจิตใจตลอดจนการมีคุณภาพชีวิตที่ดีในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงมีความซับซ้อนและเกี่ยวข้องกันหลายมิติ A new model of health promotion for healthcare personnel safety เป็นกรอบแนวคิดในการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพบุคลากรทางการพยาบาลในลักษณะผสมผสานและอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การดำเนินงานครอบคลุม สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในปัจุบัน
ดร.พรศิริ ใจสม การสร้างเสริมสุขภาพเป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างยิ่งสำหรับบุคลากรทางการพยาบาลเพื่อให้บรรลุผลลัพธ์ที่ต้องการในการดูแลรักษาผู้ป่วย บุคลากรพยาบาลมีบทบาททั้งการให้คำแนะนำ ส่งเสริมสุขภาพ ป้องกัน ดูแลให้การพยาบาลและฟื้นฟูเป้าหมายเพื่อให้ผู้รับบริการได้รับการดูแลรักษาที่ดี แต่สุขภาพของบุคลากรที่ดูแลผู้ป่วยได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างไร ในการทำงานบุคลากรพยาบาลต้องเผชิญความเสี่ยงหลายเรื่องทั้งการสัมผัสเชื้อโรค รังสี ความร้อน ปัญหาด้านโครงร่างกล้ามเนื้อและในปัจจุบันยังต้องพบกับข้อร้องเรียนต่างๆ ที่เกิดขึ้น ในขณะที่มีความคาดหวังว่าบุคลากรพยาบาลต้องทำงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายสูงสุด คือ High Quality Nursing Service มีผลการวิจัยที่ศึกษาในกลุ่มของพยาบาลพบว่าบุคลากรพยาบาลมีปัญหาสุขภาพหลายอย่างทั้งการรับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการน้อย ดัชนีมวลกายเกินเกณฑ์ นอนพักผ่อนไม่เพียงพอ มีความเครียด เราจะทำอย่างไรให้พยาบาลยังคงมีสุขภาพที่ดี ทำงานในสถานที่ปลอดภัย สามารถดูแลผู้ป่วยได้อย่างเต็มศักยภาพและยังสามารถกลับไปดูแลครอบครัวตนเองได้
พว.วารุณี...
Nursing Process Innovation for Improve Nursing Care
“ปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จคือ Collaboration เริ่มจากการที่เรามี Inspiration ก่อน” ...
วิเคราะห์เจาะลึกมาตรฐานองค์กรพยาบาล เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
เมื่อมาตรฐานการพยาบาลเป็นสิ่งสำคัญ จะมีเทคนิคหรือวิธีการอย่างไรที่จะให้พยาบาลทุกคนได้นำมาตรฐานองค์กรพยาบาลมาประยุกต์ใช้ เพื่อการพัฒนาคุณพยาบาลอย่างยั่งยืน
มาตรฐานองค์กรพยาบาล เป็นมาตรฐานที่พยาบาลทุกคนควรปฏิบัติในหน้าที่ความรับผิดชอบของตนเอง มาตรฐานตอนที่ II-2.1 การกำกับดูแลวิชาชีพด้านการพยาบาล 2 ข้อ คือ ก.การบริหารการพยาบาล ข.ปฏิบัติการพยาบาล (Nursing Practice) และที่เป็นเป้าหมาย/ผลลัพธ์ของการปฏิบัติการพยาบาล ซึ่งสอดคล้องกับมาตรฐานวิชาชีพของสภาการพยาบาล ผู้นำองค์กรพยาบาลควรศึกษา มาตรฐานต่างๆ ให้เข้าใจ คำหลัก (Key word) คำอธิบายมาตรฐาน และประเมินตนเองจากผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นหา GAP เพื่อนำไปพัฒนา จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการวิเคราะห์มาตรฐานให้ถ่องแท้ เข้าใจ และใช้มาตรฐานให้ครอบคลุม ต่อยอดในเรื่องที่ทำดีแล้วและปรับปรุง/เปลี่ยนแปลง/แก้ไขในเรื่องที่ยังไม่ได้ตามเป้าหมาย โดยพิจารณาการปฏิบัติหน้างาน และให้ผู้ปฏิบัติเข้ามามีส่วนร่วมในการคิด วิเคราะห์ ปรับแนวทางใหม่ๆ ในหลากหลายรูปแบบ โดยผู้นำมีหน้าที่สนับสนุนปัจจัยต่างๆ ให้เพียงพอ และเหมาะสมในการปรับเปลี่ยน/การปฏิบัติตามแนวทางนั้น อย่างมีประสิทธิภาพ
พ.อ.หญิงรุ่งทิวา พิมพ์สักกะ ...
Coach for Success
สุขกับทุกข์เป็นของคู่กัน สุขและทุกข์ต่างไม่เที่ยงแท้ยั่งยืน เราสามารถ “เลือก” ที่จะสุขหรือทุกข์ได้ สุขทำให้เรา “กล้า” ทุกข์ทำให้เรา“กลัว” ระดับความสุขขึ้นอยู่กับ “การยอมรับ” มองทุกข์อย่างไรให้เป็นสุข
Coach (โค้ช) เป็นหลักการสำคัญที่หน่วยงาน องค์กรต่างๆ เริ่มนำมาใช้กันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากสามารถส่งผลให้เกิดประสิทธิภาพของงาน และเพิ่มศักยภาพของบุคลากร ซึ่งอาจส่งผลต่อ productivity ขององค์กร ผู้ใช้กระบวนการโค้ชสะท้อนให้ผู้ถูกโค้ชเห็นตัวเองเพื่อหาทางออกที่เหมาะสมส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืน ดังนั้นถ้าเรามีความเข้าใจในหลักการโค้ชที่เน้นเรื่องกระบวนการแล้ว เราสามารถโค้ชใครก็ได้ เรื่องอะไรก็ได้ ทั้งในชีวิตประจำวัน การทำงาน รวมทั้งการเป็นผู้นำองค์กรด้วย
ดร.เทอดทูน ไทศรีวิชัย กระบวนการ “โค้ช” สามารถใช้ได้กับทุกสถานการณ์ รวมถึงหน้าที่การงาน หัวหน้าใช้กับผู้ใต้บังคับบัญชา ใช้กับทุกสาขาอาชีพ เช่น การเพิ่มยอดขาย ส่วนแบ่งตลาด การทำให้ลูกค้ามีความพึงพอใจ หรือแม้กระทั่งชีวิตส่วนตัว ชีวิตครอบครัว อาทิเช่น การเลิกบุหรี่ การไม่สมหวังในความรัก พบว่ากระบวนการโค้ชแทรกซึมอยู่ในวิถีการดำเนินชีวิตประจำวันขึ้นอยู่กับว่าเรานำกระบวนการนี้มาใช้เพื่อประโยชน์ได้อย่างเหมาะสมหรือไม่
โค้ช สามารถทำเป็นงานประจำ และเป็นมืออาชีพได้ เช่น แพทย์ที่ใช้กระบวนการโค้ช คือการทำให้ผู้ป่วยกลับไปดูแลตนเองได้อย่างมีศักยภาพ มิใช่เพียงให้คำแนะนำบ่อยๆ เท่านั้น การนำไปใช้กับครอบครัวโดยไม่ใช้วิธีสั่งให้ทำ หรือพบว่าการดำเนินชีวิตในของเด็กในยุคปัจจุบันพบว่า เด็กที่อายุ 13-15 ปีสามารถรับรู้ถึงการเปลี่ยนแปลง ส่งผลต่อการปรับตัวได้ดีกว่ากลุ่มอายุมากขึ้นที่มักจะยึดติด...
Innovation for Management
เราทุกคนล้วนเป็นนักออกแบบ สามารถตัดสินใจได้ว่า จะจัดการปัญหาในชีวิตประจำวันได้อย่างไร ความสำนึกรับผิดชอบ คือ สิ่งที่เหนือกว่าหน้าที่
การจัดการนวัตกรรมนั้นเป็นหลักการที่จำเป็นสำหรับโลกปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นการพัฒนาการใช้ความคิดควบคู่ไปกับทักษะต่างๆ ที่ตอบสนองเป้าหมายขององค์กร Learning pyramid เมื่อเราได้สอนผู้อื่นจะดีขึ้น
70/20/10 model for Learning and development เพื่อ Impact โนโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา มี aging society เครื่องมือที่ทันสมัย VUCA world คือ สิ่งที่ต้องเตรียมรับมือในยุคต่อไป
V- Volatility คือ ความผันผวนสูง การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว ไม่สามารถคาดเดาหรือทำนายได้ ฉับพลัน แบบ ตั้งตัวไม่ทัน
U- Uncertainty คือ สภาวะที่มีความไม่แน่นอนสูง คาดการณ์ได้ยาก ขาดความชัดเจน ไม่สามารถหาข้อมูลที่ชัดเจน ทำให้ยากต่อการตัดสินใจ
C- Complexity คือ ความซับซ้อนที่มากขึ้นเรื่อยๆ เชิงระบบ มีปัจจัยมากมายและซับซ้อนต่อการตัดสินใจ (Multiple key decision factors)
A- Ambiguity คือ ความคลุมเครือ ไม่ชัดเจนไม่สามารถคาดเดาผลที่จะเกิดขึ้นได้ชัดเจน (Lack of clarity about meaning of an event)...